ธนาคารทุกแห่งพร้อมให้บริการเปิดบัญชี และบริการผูกพร้อมเพย์ที่สาขา

ธนาคารทุกแห่งพร้อมให้บริการเปิดบัญชี และบริการผูกพร้อมเพย์ที่สาขา

วันที่ 7 เม.ย. ธนาคารพาณิชย์-ธนาคารเฉพาะกิจของรัฐ กลับสู่การเปิดบริการปกติ พร้อมบริการเปิดบัญชี ผูกพร้อมเพย์ที่สาขา โดยจำกัดจำนวนลูกค้าที่จะเปิดในแต่ละวัน เพื่อไม่ให้เกิดการกระจุกตัว ช่วยป้องกันการแพร่ระบาดของโรคโควิด 19

ธนาคารแห่งประเทศไทย สมาคมธนาคารไทย สมาคมธนาคารนานาชาติ และสมาคมสถาบันการเงินของรัฐ ขอแจ้งว่า ตั้งแต่วันที่ 7 เมษายน 2563 ธนาคารทุกแห่งพร้อมให้บริการเปิดบัญชี และบริการผูกพร้อมเพย์ที่สาขา โดยขอจำกัดจำนวนลูกค้าที่จะเข้ามาเปิดบัญชีหรือผูกพร้อมเพย์ในแต่ละวัน และบริหารจัดการในการรองรับที่สาขา อาทิ การแจกบัตรคิว การติดต่อนัดหมายล่วงหน้า เพื่อให้จำนวนลูกค้าที่จะเข้ามาติดต่อในพื้นที่สาขาสามารถเว้นระยะห่างกันได้ ด้วยความห่วงใยในความปลอดภัยและสวัสดิภาพของลูกค้าและพนักงาน และลดความเสี่ยงตามแนวทางการป้องกันการแพร่ระบาดในวงกว้างของโรคโควิด 19 ของกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข

ธนาคารยินดีให้คำแนะนำลูกค้าทางโทรศัพท์และทางเว็บไซด์ของธนาคารในเรื่องวิธีการเปิดบัญชี ผูกพร้อมเพย์ และทำธุรกรรมทางการเงินผ่านช่องทางอิเล็กทรอนิกส์และออนไลน์ของธนาคารต่าง ๆ ทั้งที่เป็น เครื่องบริการถอนเงิน-ฝากเงินอัตโนมัติ (ATM/CDM) โมบายแบงก์กิ้ง (Mobile Banking) และอินเทอร์เน็ตแบงก์กิ้ง (Internet Banking) ที่พร้อมให้บริการตลอด 24 ชั่วโมง โดยการผูกพร้อมเพย์สามารถทำได้ด้วยตนเองที่เครื่อง ATM และทาง Online โดยไม่ต้องเข้ามาที่สาขาเช่นกัน

สำหรับลูกค้าที่ต้องการลงทะเบียนเพื่อขอรับสิทธิ์ตาม ‘มาตรการเยียวยา 5,000 บาท (3 เดือน) ของทางรัฐบาลนั้น ลูกค้าไม่ต้องเดินทางมาติดต่อที่ธนาคาร สามารถลงทะเบียนผ่านเว็บไซต์ www.เราไม่ทิ้งกัน. com ได้ในเวลา 06.00 – 23.59 น. ของทุกวัน โดยใช้บัญชีเงินฝากของธนาคารใดก็ได้ที่มีอยู่แล้ว เพียงชื่อ-นามสกุลเจ้าของบัญชี ตรงกับผู้ที่ลงทะเบียน หรือเลือกให้โอนเงินเข้าบัญชีที่ผูกพร้อมเพย์กับหมายเลขประจำตัวประชาชนได้เช่นกัน

ด้วยความร่วมมือร่วมใจของลูกค้าและคนไทยทั้งประเทศ ธนาคารแห่งประเทศไทย สมาคมธนาคารไทย สมาคมธนาคารนานาชาติ และสมาคมสถาบันการเงินของรัฐ เชื่อมั่นว่าเราจะสามารถก้าวข้ามสถานการณ์แห่งความยากลำบากในครั้งนี้ด้วยกันได้ในที่สุด หากลูกค้าต้องการสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม สามารถสอบถามได้ที่ Call Center และเว็บไซด์ของสถาบันการเงินทุกแห่ง

ธนาคาร

 

HATYAITODAYNEWS

อ้างอิงข้อมูลจาก : ศูนย์ข้อมูลโควิด-19

Next Post

Rapid Test ตรวจโควิด-19 ได้จริงหรือไม่

Tue Apr 7 , 2020
Rapid Test ตรวจโควิด-19 ได้จริงหรือไม่ นพ.โอภาส การย์กวินพงศ์ อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข กล่าวในแถลงข่าวศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด-19 เมื่อวันที่ 7 เมษายน 2563 เรื่อง การเก็บตัวอย่าง / ชุดตรวจ Rapid Test / การพัฒนาศักยภาพขยายแล็บภูมิภาค นพ.โอภาส อธิบายว่าขั้นตอนการตรวจในห้องปฏิบัติการ เริ่มจากเจ้าหน้าที่ซักประวัติ ตรวจร่างกายเบื้องต้น และตรวจทางห้องปฏิบัติการซึ่งมีวิธีการเก็บตัวอย่างเชื้อที่แตกต่างกันไป ซึ่งก่อนทำการตรวจทางห้องปฏิบัติการ สิ่งแรกที่ต้องรู้ก่อนคือธรรมชาติของการเกิดโรคก่อน “โดยต้องรู้ว่ากระบวนการเกิดโรคนั้นเกิดจากอะไร กรณีโรคโควิด-19 ต้องไล่ย้อนเริ่มจากวันที่รับเชื้อไปจนถึงวันที่เริ่มมีอาการ โดยในช่วงเวลานี้เรียกว่าระยะฟักตัวของโรค เป็นช่วงที่ไม่มีอาการแต่เชื้อกำลังแบ่งตัวในร่างกาย จนถึงขณะหนึ่งที่ร่างกายสู้ไม่ไหวจึงแสดงอาการออกมา เมื่อเริ่มมีอาการผู้ป่วยส่วนหนึ่งจะหายเองได้ แต่บางรายอาจโชคร้ายถึงขั้นเสียชีวิตโดยเฉพาะในกลุ่มผู้สูงอายุ กระบวนการเหล่านี้เป็นธรรมชาติของการเกิดโรคโควิด-19” สำหรับวิธีการตรวจในห้องปฏิบัติการนั้น หลักๆ มีอยู่ 2 อย่าง คือ 1. ตรวจหาเชื้อไวรัสโดยตรง ซึ่งขณะนี้วิธีการตรวจที่ไวที่สุดคือ “การตรวจสารพันธุกรรม” (RT PCR) เป็นวิธีการหลักในการวินิจฉัยในปัจจุบัน […]
ปกข่าวสำหรับเว็บ ต้นฉบับ 01