ครม.เห็นชอบมาตรการเยียวยากลุ่มเปราะบาง รายละ 1,000 บาท 3 เดือน และอนุมัติสินเชื่อผู้ประกอบการประมง

ครม.เห็นชอบมาตรการเยียวยากลุ่มเปราะบาง รายละ 1,000 บาท 3 เดือน และอนุมัติสินเชื่อผู้ประกอบการประมง

ครม.เห็นชอบมาตรการเยียวยากลุ่มเปราะบาง รายละ 1,000 บาท 3 เดือน และอนุมัติสินเชื่อผู้ประกอบการประมง

    ผลการพิจารณาของคณะกรรมการกลั่นกรองการใช้จ่ายเงินกู้ตาม พ.ร.ก.1 ล้านล้านบาท ตามข้อเสนอของกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ เกี่ยวกับมาตรการช่วยเหลือเยียวยาประชาชนกลุ่มเปราะบาง 3 กลุ่ม ประกอบด้วย

1.กลุ่มเด็กแรกเกิดจนถึง 6 ปี จากครัวเรือนที่มีฐานะยากจน จำนวนกว่า 1 ล้าน 4 แสน คน

2.กลุ่มผู้สูงอายุ จำนวนกว่า 9 ล้าน 6 แสนคน

3.กลุ่มผู้พิการ จำนวน 2 ล้านคน รวม 13 ล้านคน

โดยจะจ่ายเงินเดือนละ 1,000 บาท เป็นระยะเวลา 3 เดือน ตั้งแต่เดือนพฤษภาคม-กรกฏาคม 2563 เพื่อบรรเทาผลกระทบจากโรคโควิด-19 ทั้งนี้การจ่ายเงินดังกล่าวเป็นการเพิ่มเติมจากเงินอุดหนุนที่แต่ละกลุ่มได้รับอยู่แล้ว โดยใช้กรอบวงเงิน 39,000 ล้านบาท จาก พ.ร.ก.กู้เงิน และจะเริ่มจ่ายทันทีในเดือนมิถุนายน 2,000 บาท และในเดือนกรกฏาคม 1,000 บาท

   พร้อมทั้งคณะรัฐมนตรี อนุมัติสินเชื่อเพื่อเสริมสภาพคล่องผู้ประกอบการประมง วงเงิน 10,300 ล้านบาท โดยช่วยเหลือทั้งประมงพาณิชย์และประมงพื้นบ้านทั่วประเทศกว่า 2,800 ราย เพื่อเสริมสภาพคล่องในธุรกิจภาคประมงและบรรเทาผลกระทบของผู้ประกอบการ ที่ต้องปรับปรุงเรือและจ้างแรงงานตามที่กฏหมายกำหนด โดยวงเงินกู้ดังกล่าวจะคิดดอกเบี้ยร้อยละ 7 ต่อปี โดยผู้กู้(ชาวประมง)จ่ายดอกเบี้ยร้อยละ 4 ต่อปี และรัฐบาลชดเชยส่วนที่เหลือให้ร้อยละ 3 ต่อปี โดยต้องจ่ายให้แล้วเสร็จภายในระยะเวลา 7 ปี นับแต่วันที่กู้ โดยในส่วนของการชดเชยดอกเบี้ยจากรัฐบาลนั้น แบ่งเป็น ค่าชดเชยดอกเบี้ยให้แก่ธนาคารออมสิน ปีละ 150 ล้านบาท รวม 1,050 ล้านบาท และชดเชยให้ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร ปีละ 159 ล้านบาท รวม 1,113 ล้านบาท ส่วนอีก 1.1 ล้านบาท เป็นค่าดำเนินโครงการ สำหรับธนาคารออมสินปล่อยกู้ให้ผู้ประกอบการที่มีเรือประมงขนาดตั้งแต่ 60 ตันกรอสขึ้นไปสูงสุดไม่เกินรายละ 10 ล้านบาท ขณะที่ธนาคาร ธ.ก.ส.ปล่อยกู้ให้ผู้ประกอบการที่มีเรือประมงขนาดต่ำกว่า 60 ตันกรอส สูงสุดไม่เกินรายละ 5 ล้านบาท

สินเชื่อมี 2 ประเภท คือ เงินกู้ระยะสั้น เพื่อเป็นทุนหมุนเวียนในการประกอบอาชีพและ เงินกู้ระยะยาว เป็นเงินทุนในการปรับปรุงเรือ ปรับเปลี่ยนเครื่องมือและอุปกรณ์ทำประมง ส่วนคุณสมบัติของผู้กู้ ต้องเป็นบุคคลธรรมดาอายุไม่ต่ำกว่า 20 ปีบริบูรณ์ สัญชาติไทย หรือเป็นนิติบุคคลที่จดทะเบียนตามกฎหมายไทย /เป็นผู้มีกรรมสิทธิ์ หรือสิทธิครอบครองในเรือประมงที่มีทะเบียนเรือไทยและเป็นผู้มีประสบการณ์ทำอาชีพประมงมาแล้วไม่น้อยกว่า 1 ปี

ด้านหลักประกันการกู้สินเชื่อ ใช้อย่างใดอย่างหนึ่ง หรือใช้หลายอย่างรวมกัน ตามเงื่อนไขของธนาคาร คือ ที่ดิน ที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้าง หรืออาคารชุด ที่มีเอกสารสิทธิสามารถจดทะเบียนจำนองได้ /เรือประมง/บรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม (บสย.)ค้ำประกัน /บุคคลค้ำประกันและหลักประกันอื่นๆ ตามที่ธนาคารกำหนด

 

HATYAITODAYNEWS

อ้างอิงข้อมูลจาก : กรมประชาสัมพันธ์

 

Next Post

จังหวัดยะลา ยังคงตั้งด่านตรวจคัดกรองเข้ม เพื่อป้องกันโควิด-19 หลังต่อ พ.ร.ก.ฉุกเฉิน อีก 1 เดือน

Wed May 27 , 2020
จังหวัดยะลา ยังคงตั้งด่านตรวจคัดกรองเข้ม เพื่อป้องกันโควิด-19 หลังต่อ พ.ร.ก.ฉุกเฉิน อีก 1 เดือน วันที่ 27 พ.ค. 63 ด่านคัดกรองจุดตรวจท่าสาป จังหวัดยะลา  ยังคงเข้มข้นต่อเนื่อง ตรวจคัดกรอง วัดอุณหภูมิร่างกายประชาชนทุกคน ด้วยเครื่องเทอร์โมสแกน ที่เดินทางสัญจรด้วยรถยนต์ รถจักรยานยนต์ ผ่านเข้าสู่เขตเมืองยะลา ตามมาตรการป้องกันการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 โดยภายหลังรัฐบาลได้มีการขยายระยะเวลาของการประกาศบังคับใช้พระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ.2548 ออกไปอีก 1 เดือน ตั้งแต่วันที่ 1 ถึงวันที่ 30 มิถุนายน 2563 เพื่อยับยั้งการแพร่ระบาดของเชื้อโควิด-19 ซึ่งขณะนี้สถานการณ์โควิด-19 ในจังหวัดยะลา ล่าสุด ไม่พบผู้ป่วยต่อเนื่องมาตลอดครึ่งเดือน ยอดผู้ป่วยสะสมคงที่ 133 ราย ยังคงเหลือพื้นที่อำเภอบันนังสตา ที่ยังคงเป็นพื้นที่สีแดง เนื่องจากมีผู้ติดตามอาการอยู่ 12 ราย ส่วนอำเภอเมืองยะลา อำเภอยะหา และอำเภอที่พบผู้ป่วย ขณะนี้ เป็นพื้นที่โซนสีเขียวทั้งหมดแล้ว ทั้งนี้จังหวัดยะลา ยังคงต้องเฝ้าระวังการแพร่ระบาดในระลอกที่ 2 ภายหลังมาตรการผ่อนคลาย […]
โควิด-19