สัมภาษณ์ อาจารย์ม.อ.หาดใหญ่ ผ่านมุมมองแนวคิดเศรษฐศาสตร์ สู่เศรษฐกิจหาดใหญ่-สงขลา

สัมภาษณ์ อาจารย์ม.อ.หาดใหญ่ ผ่านมุมมองแนวคิดเศรษฐศาสตร์ สู่เศรษฐกิจหาดใหญ่-สงขลา

นับตั้งแต่ช่วงปลายเดือนมีนาคมล่วงมาจนถึงปัจจุบัน หาดใหญ่-สงขลา ได้กลายสภาพเป็นเมืองที่อยู่ในสภาวะโคม่าทางเศรษฐกิจอย่างหนัก อย่างที่ทราบกันดีว่าหาดใหญ่-สงขลาบ้านเรานั้นอาศัยเม็ดเงินจากประเทศเพื่อนบ้านที่เป็นเมืองน้ำหล่อเลี้ยงจนเคยทำให้หาดใหญ่-สงขลาเป็นพื้นที่ที่มีมูลค่าทางเศรษฐกิจสูงเป็นอันดับต้นๆของประเทศ วันเวลาล่วงเลยผ่านไปหลายๆอย่างไม่เหมือนเดิม เพียงช่วงเวลาเพียง 4 เดือนเศษ ผลกระทบดังกล่าวทำให้หาดใหญ่กลายเป็นเมืองที่ผู้ประกอบการต่างพูดไปทางเดียวกันว่า “ย่ำแย่เหลือเกิน”

ในช่วงกลางสัปดาห์ที่ผ่านมาทางสำนักข่าว Hatyai Today News ได้ลงพื้นที่เพื่อไปพูดคุยกับ ดร. สินาด ตรีวรรณไชย คณบดีคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยเขตหาดใหญ่ ในเรื่องการนำหลักคิดทางเศรษฐศาสตร์มาอธิบายเศรษฐกิจพื้นที่ หาดใหญ่-สงขลา ผ่าน 6 คำถามที่จะไขข้อสงสัยเรื่องราวเศรษฐกิจ หาดใหญ่-สงขลา

1.สภาวะเศรษฐกิจในพื้นที่หาดใหญ่ปัจจุบันตอนนี้เป็นอย่างไรบ้าง

ปัจจุบันจังหวัดสงขลานะครับเป็นจังหวัดที่มีรายได้รวมสูงสุดในภาคใต้ มีรายได้กว่า 240,000 ล้านบาทครับแต่ว่าถ้าเป็นรายได้ต่อหัวในภูเก็ตจะสูงกว่าครับ โดยโครงสร้างส่วนใหญ่ของสงขลา จะมีรายได้ผูกพันกับเรื่องของอุตสาหกรรมยางพาราแปรรูป แล้วก็อุตสาหกรรมอาหารทะเลกระป๋องและแช่เย็น เมื่อคิดเป็นตัวเลขซึ่งก็จะประมาณ 20 กว่าเปอร์เซ็นต์ในภาคของการเกษตรจะอยู่ที่ 14 เปอร์เซ็นต์ และการค้าขายคิดเป็นประมาณ 13 เปอร์เซ็นต์นะครับ อย่างอื่นก็จะมีรวมๆกันไป จะพบว่าสิ่งที่สำคัญที่จังหวัดสงขลาต้องพึ่งพิงคือทรัพยากรทางธรรมชาติและทรัพยากรในเชิงของการเกษตร รวมถึงความเป็นเมืองเฉพาะของหาดใหญ่ที่มีความเป็นเมืองของการค้าขายอยู่แล้วครับ

หลังจากนี้ เรายังต้องเฝ้าระวังสถานการณ์โควิด-19 ว่าเมืองหาดใหญ่จะประสบกับการระบาดระลอกที่2หรือไม่ ทั้งยังต้องรอในส่วนของวัคซีนได้มีออกมาทันท่วงทีหรือไม่ จากข้อมูลที่ทราบกันคาดว่าวัคซีนจะมาในปีหน้าที่จะถึงนี้ กลับกันถ้าการมาของวัคซีนช้ากว่าที่คาดการณ์ไว้ อาจสร้างผลกระทบต่อเศรษฐกิจอย่างหนักแน่นอน

สำหรับพี่น้องชาวหาดใหญ่และสงขลา จำเป็นต้องระมัดระวังในเรื่องของการใช้จ่ายพอสมในช่วงนี้ ถ้ามีเงินออมก็พยายามที่จะใช้อย่างประหยัดไม่ซื้อสุรุ่ยสุร่ายจนเกินไป หรือถ้าจะเอาไปลงทุนกับก็ควรจะมองการลงทุนที่เป็นลักษณะระยะยาว ไม่ลงทุนในลักษณะหวือหวาเพราะถ้าหากว่าเกิดความเสี่ยงขึ้นในอนาคตนี่เราจะจัดการกับปัญหานั้นได้ยากครับ

สงขลา FC ชุดที่2 5 of 5 HATYAITODAY
ภายในตลาดพลาซ่าที่ในวันนี้เต็มไปด้วยผ้า แต่กลับไร้ซึ่งผู้คนมาซื้อสินค้า

2.เศรษฐกิจในช่วงปี 2562 ถึง 2563 มีการเปลี่ยนแปลงอย่างไรบ้าง

จากการคาดการณ์ขององค์กรเศรษฐกิจหลายองค์กร อย่างธนาคารแห่งประเทศไทย ได้เปิดเผยว่ารายได้รวมของประเทศหรือจีดีพีจะลดลงไปราว 8-9 เปอร์เซ็นต์ นับว่าเยอะเลยทีเดียวครับ แน่นอนว่าการติดลบในครั้งนี้ หมายถึงว่ารายได้รวมของประเทศก็จะลดลงไปนะครับประมาณ 8-9 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งในกรณีแบบนี้ถือว่าเยอะเลยทีเดียวเมื่อเทียบกับวิกฤตเศรษฐกิจแฮมเบอร์เกอร์ แล้วก็วิกฤตต้มยํากุ้ง

ถ้าเทียบกับจังหวัดสงขลาจะพบว่ารายได้รวมของสงขลารายได้ลดลงไปราว 2 หมื่นกว่าล้าน การที่รายได้หายไปหมื่นกว่าล้านบาทย่อมส่งผลต่อการว่างงานจำนวนมาก ยิ่งภาพรวมในประเทศเนี่ยก็คาดการณ์กันว่าการว่างงาน 4 ล้านตำแหน่ง นี่ยังไม่นับรวมถึงแรงงานนะครับซึ่งไม่สามารถทำงานในต่างประเทศ ซึ่งในภาคใต้จะมีแรงงานไทยที่ไปทำงานในมาเลเซียอยู่ส่วนหนึ่ง และในช่วงที่เกิดโควิด-19 แรงงานเหล่านั้นต้องกลับมาที่บ้าน ก็จะทำให้มีแรงงานว่างงานเพิ่มเติมจากเดิมโดยที่ไม่ได้อยู่ในระบบของตลาดแรงงานไทย

โดยสรุปก็คือ 2563 ในปีนี้ถือว่าแย่ลงมากแล้ว ถึงอย่างนั้นเราก็มีความหวังที่สำคัญมากหลักๆอยู่ 2 ส่วนด้วยกัน อย่างแรกคือเรื่องของทางการแพทย์ที่เราจะต้องมีวัคซีนให้ได้เร็วที่สุด เป็นวัคซีนระดับที่แต่ละประเทศสามารถจะประยุกต์เอามาผลิตแล้วก็เอามาใช้ในประเทศ อีกด้านหนึ่งก็คือบทบาทของภาครัฐเพราะว่าตอนนี้เอกชนไม่สามารถจะดำเนินธุรกิจ ภาครัฐจำเป็นที่จะต้องมีประสิทธิภาพอย่างมากในเรื่องของการใช้จ่าย

ทั้งนี้จะมีประสิทธิภาพได้ยังไงจะต้องพึ่งพากันช่วยกันคิด ภาคส่วนในแต่ละท้องถิ่นต้องเข้าไปมีส่วนร่วมในการกำหนดด้วย ไม่ใช่เรากำหนดเฉพาะนโยบายจากส่วนกลางอย่างเดียว ซึ่งเราก็จะพบว่าโอกาสที่จะมีโครงการที่ตอบโจทย์กับคนทุกกลุ่มคนจนอาจจะต้องการแบบนึง คนชั้นกลางกลุ่มพ่อค้าแม่ค้าจะต้องการอีกแบบนึง เพราะฉะนั้นมาตรการต่างๆ ต้องมีความหลากหลายพอสมควรครับ

สงขลา FC ชุดที่2 3 of 5 HATYAITODAY
แม่ค้าบริเวณพื้นที่ถนนมนตรี1 ได้บอกว่าผู้ประกอบได้รับผลกระบทอย่างหนักจากโควิด-19

3.แนวโน้มเศรษฐกิจในอนาคตจะเป็นไปในทิศทางไหน

สำหรับเศรษฐกิจในอนาคตครับเหมือนที่หลายคนพยายามจะพูดถึงว่าช่วงโควิด-19 นี้ ทำให้เราเกิดความรู้ใหม่ให้ครับในเชิงของการผลิตสินค้าและ บริการรวมถึงการดำเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจว่า ในอนาคตเราจะต้องคำนึงถึงเหตุการณ์แบบนี้มากขึ้นครับแล้วก็เกิดเป็น New Normal หรือพฤติกรรมที่เป็นปกติแบบใหม่ๆเช่นการที่เราอาจจะใช้ออนไลน์มากขึ้นครับการที่เราใช้ข้อมูลต่างๆ ที่สำคัญแทนการใช้คนหรือการปฏิสัมพันธ์ของคน

นอกจากนี้ในอนาคตจะเป็นโอกาสอันดีครับที่ภาคส่วนต่างๆ จะได้กลับมาทบทวนนโยบายการพัฒนานะครับที่จริงๆ แล้วตอบโจทย์ในเชิงของพื้นที่มากขึ้นครับ

อย่างที่เราทราบก็คือว่าประเทศไทยค่อนข้างพึ่งพิงการส่งออกมากพอสมควรนะครับแล้วก็เมื่อยามที่เกิดโควิด-19 ทำให้นักท่องเที่ยวต่างชาติหรือการส่งออกเป็นไปได้ยาก รายได้หายไปมาก จนมีผลกระทบต่อวิถีชีวิตคนในจังหวัดค่อนข้างเยอะนะครับ เพราะฉะนั้นในอนาคตเนี่ยเราจะต้องมองในการเชื่อมโยงตลาดทั้งตลาดภายในนะครับแล้วก็ตลาดภายนอกมากยิ่งขึ้น รวมถึงทำให้ตัวเราเองพึ่งพาตัวเองได้

ดังนั้นการพัฒนาองค์ความรู้ทางวิทยาศาสตร์ ความรู้ทางการแพทย์รวมถึงการวิจัย ให้เกิดองค์ความรู้ที่สามารถประยุกต์ใช้ในประเทศได้มากขึ้น เพื่อที่เวลาเกิดภาวะวิกฤตเราจะสามารถพึ่งตนเองได้ เพี่อเห็นภาพชัดเราคงต้องนึกถึงเรื่องวัคซีน เพราะถ้าเราไม่มีความสามารถในการผลิตวัคซีนได้ ประเทศเราต้องรอคิวเพื่อนำเข้า และหากไม่มีวัคซีนขึ้นมา กว่าเศรษฐกิจจะฟื้นตัวเพื่อมีกำลังซื้อวัคซีน เราอาจต้องรอเป็นคิวหลัง แต่ถ้าเรามีความสามารถในการวิเคราะห์วิจัยหรือ มีความเชื่อมโยงกับผู้ที่วิจัยที่เก่งเราก็จะมีโอกาสที่จะสามารถที่จะแก้ปัญหาได้เร็วขึ้น และส่งผลไปยังเศรษฐกิจที่จะฟื้นได้เร็วขึ้นด้วยครับ

Annotation 2020 08 13 174703 HATYAITODAY
หลายๆร้านที่มีบริการแลกเปลี่ยนเงินตรายังต้องรอนักท่องเที่ยว

4.ในแง่ของเศรษฐศาสตร์เชิงวิชาการจะมีการเรียนการสอนเป็นในรูปแบบไหนอย่างไร

สำหรับความรู้เกี่ยวกับเศรษฐกิจ จริงๆแล้วเป็นความรู้และทักษะที่สำคัญครับ หลายท่านมีความสามารถตรงนี้ทั้งที่ไม่ได้เรียนเศรษฐศาสตร์ก็มีนะครับ เช่น เขาเป็นนักธุรกิจจำเป็นต้องวิเคราะห์ว่าตลาดของสินค้าที่เขากำลังขายอยู่ ราคาจะเป็นยังไงบ้างดีขึ้นหรือแย่ลง จะได้เอามาตัดสินใจในเชิงของการผลิตนะครับว่าควรจะผลิตมากหรือน้อยควรจะจ้างแรงงานเพิ่มขึ้นหรือลดลง หรือควรจะปรับปัจจัยการผลิตที่มีไปทำกิจกรรมใดบ้าง ซึ่งสิ่งเหล่านี้หลายๆคนเรียนด้วยวิธีการประสบการณ์ทางตรง แต่เมื่อเข้ามาเรียนที่มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ เราก็จะได้เรียนหลักการที่ลึกซึ้งมากขึ้น เช่น ถ้าเข้ามาที่คณะเศรษฐศาสตร์หรือว่ามาเรียนที่คณะวิทยาการจัดการครับ เราก็จะมีความรู้ทางธุรกิจการเงินบัญชีรวมถึงถ้าเป็นเศรษฐศาสตร์ ซึ่งเราจะได้เรียนรู้การวิเคราะห์เศรษฐกิจในภาพรวมและ ลงไปในระดับจุลภาคเข้าใจกลไกการกำหนดรายได้ของประเทศรวมถึงเงินเฟ้อและการว่างงาน

นอกจากนี้เราสามารถที่จะเข้าใจในเชิงของการเปลี่ยนแปลงของราคาสินค้าและบริการกับปัจจัยที่มีผลกระทบ ซึ่งสิ่งเหล่านี้จะทำให้เราตัดสินใจทางเศรษฐกิจที่สําคัญได้ดี เช่น ถ้าเรามีเงินออมหรือสินทรัพย์ เราสามารถวิเคราะห์ได้ว่าอัตราดอกเบี้ยจะเพิ่มขึ้นหรือ ลดลงในอนาคตนะครับแล้วก็จะสามารถที่จะนำเงินออมหลังนั้นนะครับไปลงทุนในกิจกรรมที่ให้ผลตอบแทนได้ดีขึ้น ซึ่งสิ่งเหล่านี้สำหรับคนทั่วไปนะครับต้องมีประสบการณ์ระดับหนึ่งครับถึงจะวิเคราะห์ได้ แต่ถ้าเข้ามาเรียนโดยตรง การวิเคราะห์เรื่องเหล่านี้จะเป็นทางลัดเลยทีเดียวที่สามารถวิเคราะห์ได้โดยตรงและทันท่วงที สำหรับท่านที่สนใจในเรื่องของเศรษฐกิจนะครับในเรื่องของความรู้ทั่วไป ทางมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ก็มีคลิปวีดิโออธิบายสื่อสารกับประชาชนนะครับ ให้ได้รับความรู้หรือว่าให้ได้รับข้อมูลที่สำคัญทางเศรษฐกิจอยู่เรื่อยๆ ขอให้ติดตามนะครับทั้งสื่อท้องถิ่นสื่อออนไลน์รวมถึงสื่อของมหาวิทยาลัยเอง

 

5.อาชีพเกิดใหม่หลังจากชาวงโควิด-19 จะมีแนวโน้มไปในสายอาชีพใด

เราจะสังเกตว่าถ้าช่วงที่เกิดโควิด-19 ปฏิสัมพันธ์ของคนลดลงมาก ฉะนั้นอาชีพที่เกี่ยวข้องกับดิจิตอลจึงจะเป็นสิ่งที่สำคัญ รวมถึงคนที่สามารถจะใช้ประโยชน์จากข้อมูลดิจิตอลมาวิเคราะห์ทางเศรษฐกิจได้ ก็จะมีความสามารถในการเอาตัวรอดได้ดีขึ้น ผมคิดว่าอันนี้ก็จะเป็นทักษะอีกอย่างที่มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์พยายามจะติดอาวุธ ความรู้ทางด้านดิจิตอลให้กับนักศึกษาด้วยครับสำหรับอาชีพอื่นๆ ผมคิดว่าอันนึงที่ทำให้พวกเราน่าจะต้องหันกลับมาพิจารณาดูก็คือ ว่าประสิทธิภาพการผลิตของภาคการผลิตต่างๆของภาคใต้เอง ทั้งเรื่องเกษตรนะครับการแปรรูปจากสินค้าเกษตรนะครับ เนื่องจากว่ามูลค่าของสินค้าเนี่ยยังไม่ได้ก้าวกระโดดจากในอดีตเท่าที่ควรเพราะ ว่าเราไม่สามารถต่อยอดไปผลิตสินค้าที่มีราคาสูงได้ ในปี 2565 ผมทราบข้อมูลว่าแผนนี้ครับ ม.อ.ได้เสนอโครงการต่างๆ เพื่อพัฒนาทางงานวิทยาศาสตร์นะครับทางด้านสาธารณสุขรวมถึงทางด้านมนุษยศาสตร์สังคมศาสตร์ร่วมกันในกว่า 2 พันกว่าล้านบาท ซึ่งคิดว่าค่าแรงประมาณตรงนี้ก็จะช่วยให้สังคมภาคใต้ได้มีเทคโนโลยีราคาถูกครับแล้ว ก็พัฒนาการผลิตให้คนได้มีรายได้อย่างยั่งยืนได้มากยิ่งขึ้นครับ

 

6.คิดเห็นอย่างไรกับวลีที่ว่า เศรษฐกิจที่แย่จะมาพร้อมกับการตกงานที่เพียบ

อันนี้เป็นสิ่งที่มาคู่ด้วยกันโดยธรรมชาติอยู่แล้วเศรษฐกิจแย่แปลว่าเราขายสินค้าและบริการได้น้อย การผลิตสินค้าและบริการก็จำเป็นจะต้องจ้างแรงงานที่น้อยลง หรือว่าใช้ปัจจัยการผลิตเพราะฉะนั้น ถ้าเราผลิตน้อยลงโดยสัดส่วนก็แน่นอนว่าเราก็ต้องใช้ปัจจัยการผลิตลดลงกับการจ้างงาน ซึ่งเป็นหนึ่งในปัจจัยการผลิต เราก็จะใช้น้อยลงด้วยลอง สังเกตดูว่าผู้ประกอบการบางรายจากเดิมเนี่ยใช้ลูกน้องทำหมดเลย แต่ว่าในช่วงวิกฤตก็ให้เหลือแรงงานน้อยลง และเจ้าของจะลงไปเป็นแรงงานเองด้วย อันนี้เป็นการปรับตัวที่เราเห็นได้ชัดเจนว่าเมื่อการผลิตขายสินค้าได้น้อยลง การจ้างแรงงานก็จะน้อยลงด้วย

Annotation 2020 08 13 174701 HATYAITODAY
อาชีพขนส่งสาธารณะที่ยังต้องรอการกลับมาของผู้คนอีกครั้ง

 

HATYAITODAYNEWS

อ้างอิงข้อมูลเพิ่มเติม : ดร. สินาด ตรีวรรณไชย คณบดีคณะเศรษฐศาสตร์

Next Post

แม่ทัพภาคที่ 4 สั่งไล่ล่าคนร้าย หลังลอบวางระเบิดชุดคุ้มครองครูในพื้นที่ปัตตานี และนราธิวาส

Fri Aug 14 , 2020
แม่ทัพภาคที่ 4 สั่งไล่ล่าคนร้าย หลังลอบวางระเบิดชุดคุ้มครองครูในพื้นที่ปัตตานี และนราธิวาส    จากกรณี เมื่อช่วงเช้าเมื่อวานนี้ (13/8/2563) เวลา 08.10 น. เกิดเหตุคนร้ายได้ลอบวางระเบิดเจ้าหน้าที่ชุดคุ้มครองครู ขณะทำการลาดตระเวนเส้นทางรักษาความปลอดภัยแก่ครูบริเวณถนนสายชนบท บ้านปะกาลือสง หมู่ที่ 6 ตำบลตุยง อำเภอหนองจิก จังหวัดปัตตานี แรงระเบิดทำให้เจ้าหน้าที่ชุดปฏิบัติการจรยุทธ์ กองร้อยทหารพรานที่ 4305 หน่วยเฉพาะกิจกรมทหารพรานที่ 43 ได้รับบาดเจ็บนำส่งโรงพยาบาลหหนองจิก จังหวัดปัตตานีและเสียชีวิตในเวลาต่อมา ทราบชื่อภายหลัง คือ อาสาสมัครทหารพราน เอมลุคมาน หะยีแส อายุ 23 ปี   และในเวลาไล่เลี่ยกันในพื้นที่จังหวัดนราธิวาส บริเวณหัวสะพานบ้านกาลิซา หมู่ที่ 2 ตำบลกาลิซา อำเภอระแงะ จังหวัดนราธิวาส คนร้ายได้ลอบวางระเบิด ชุดคุ้มครองครู แรงระเบิดทำให้เจ้าหน้าที่กองร้อยทหารพรานที่ 4508 หน่วยเฉพาะกิจกรมทหารพรานที่ 45 เสียชีวิต […]
แม่ทัพภาคที่ 4 สั่งไล่ล่าคนร้าย หลังลอบวางระเบิดชุดคุ้มครองครูในพื้นที่ปัตตานี และนราธิวาส