จังหวัดสงขลา เร่งตรวจเชิงรุกตามชุมชน หลังพบยอดผู้ป่วยโควิดพุ่งติดอันดับ 1 ใน 10 ของประเทศ

จังหวัดสงขลา เร่งตรวจเชิงรุกตามชุมชน หลังพบยอดผู้ป่วยโควิดพุ่งติดอันดับ 1 ใน 10 ของประเทศ

วันที่ 27 ต.ค. 64 สถานการณ์โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ในพื้นที่จังหวัดสงขลา พบผู้ป่วยเพิ่มขึ้นในอำเภอเมืองมากที่สุด  รองลงมา คือ อำเภอจะนะ และอำเภอหาดใหญ่ ซึ่งส่วนใหญ่พบเป็นการติดเชื้อสายพันธุ์เดลต้ากว่าร้อยละ 50 โดยพบว่าข้อมูลความเสี่ยงในห้วงวันที่ 17-25 ตุลาคม 2564 เป็นการติดเชื้อในชุมชน ครัวเรือน สำนักงาน ร้านน้ำชา วงน้ำกระท่อม ปาร์ตี้วันเกิด วงเหล้า รวมทั้งการติดเชื้อในตลาด และการติดเชื้อในมัสยิด 

248350652 939054076712604 5828655333465365261 N

และยังมีการพบผู้ป่วยเพิ่มขึ้นในพื้นที่ 4 อำเภอ เชื่อมต่อ 3 จังหวัด ชายแดนภาคใต้ ซึ่งทางสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสงขลา ยืนยันว่าขณะนี้ได้รับการจัดสรรวัคซีนจากกระทรวงสาธารณสุขอย่างเพียงพอ ขอให้ประชาชนที่ยังไม่ได้รับวัคซีนติดต่อเข้ารับวัคซีนป้องกันโควิด-19 ตามช่องทางต่างๆ และจะมีการเน้นสุ่มตรวจ ATK ในคลัสเตอร์ใหญ่ ๆ อาทิ ตลาด และโรงงาน เป็นต้น พร้อมขอความร่วมมือกลุ่มคนทำงาน และส่วนราชการต่างๆ งดรับประทานอาหารร่วมกัน ให้มีการทำความสะอาดพื้นผิวสัมผัส ทำความสะอาดสำนักงานบ่อยๆ การรับวัคซีน การสุ่มตรวจ ATK สำหรับเจ้าหน้าที่ๆ ที่ต้องลงพื้นที่พบปะประชาชนบ่อยครั้ง 

248751218 939054090045936 7562516604841998578 N

 ทั้งนี้ จังหวัดสงขลาได้มีการตั้งเป้าหมาย จำนวนผู้ป่วยลดลง ร้อยละ 20 หรือมีผู้ป่วยรายใหม่ 300 คนต่อวัน และจะเร่งการฉีดวัคซีนให้ได้ ร้อยละ 70 ภายในเดือนตุลาคม 2564 ตามแนวทางการดำเนินการ “Songkhla Fast Songkhla Safe” เพื่อลดติด ลดป่วยหนัก ลดตาย กระจายวัคซีน” ซึ่งข้อมูลจนถึงวันที่ 25 ตุลาคม 2564 เวลา 23.59 น. จังหวัดสงขลา ดำเนินการฉีดวัคซีนป้องกันโควิด-19 แล้ว ร้อยละ 57.8 

248683179 939054160045929 1673317691768811277 N

อ้างอิง : สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสงขลา

Next Post

สคร. 12 สงขลา เตือนระวังโรคไข้ฉี่หนู แนะเลี่ยงลุยน้ำ พื้นที่ชื้นแฉะด้วยเท้าเปล่า

Wed Oct 27 , 2021
สคร. 12 สงขลา เตือนระวังโรคไข้ฉี่หนู แนะเลี่ยงลุยน้ำ พื้นที่ชื้นแฉะด้วยเท้าเปล่า วันที่ 27 ต.ค. 64 นายแพทย์เฉลิมพล โอสถพรมมา ผู้อำนวยการสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 12 จังหวัดสงขลา กล่าวว่า ด้วยขณะนี้มีฝนตกในหลายพื้นที่ ขอให้ประชาชนระมัดระวังอาจป่วยด้วยโรคเลปโตสไปโรสิส (โรคไข้ฉี่หนู) โดยอาการของโรคไข้ฉี่หนู พบว่า จะมีไข้สูงทันทีทันใด หลังลุยน้ำ 1-2 สัปดาห์ ปวดศีรษะอย่างรุนแรง ปวดเจ็บกล้ามเนื้อที่โคนขาและน่องอย่างมาก คลื่นไส้ อาเจียน ท้องเดิน ตาแดง ที่สำคัญขอให้แจ้งประวัติการเดินลุยน้ำให้แพทย์ทราบด้วย เพื่อที่แพทย์จะได้ตรวจวินิจฉัยและทำการรักษาทันที ทั้งนี้ ผู้ป่วยที่เสียชีวิตส่วนใหญ่เกิดจากพบแพทย์ช้าเกินไป โรคเลปโตสไปโรสิส  หรือโรคไข้ฉี่หนู เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรียชื่อว่า เชื้อเลปโตสไปร่า เข้าสู่ร่างกายทางบาดแผล รอยขีดข่วน รอยถลอกตามผิวหนัง เยื่อบุตา จมูก ปาก หรือโดยการไชเข้าทางผิวหนังที่แช่น้ำเป็นเวลานาน ซึ่งมักจะระบาดหน้าฝนและโดยเฉพาะหลังน้ำลด พบผู้เสี่ยงต่อการติดเชื้อในเกษตรกร ที่ต้องเดินลุยน้ำ มีน้ำขัง หรือพื้นดินชื้นแฉะที่มีโอกาสปนเปื้อนปัสสาวะสัตว์ ได้แก่ โค กระบือ สุกร สุนัข แพะ หนู รวมทั้งผู้ที่ทำงานในฟาร์มเลี้ยงสัตว์/โรงฆ่าสัตว์/ผู้ที่ชำแหละสัตว์ที่มีเชื้อโรคฉี่หนู ทำให้เสี่ยงต่อการติดเชื้อโรคนี้   โรคเลปโตสไปโรสิสพบมากที่สุดในกลุ่มอายุ 45-54 ปี รองลงมาคืออายุ 35-44 ปี และอายุ 55-64 ปี ตามลำดับ ส่วนใหญ่มีอาชีพเกษตร ร้อยละ 42.9 รับจ้าง ร้อยละ 21.5 และนักเรียน ร้อยละ 13.8 อ้างอิง : สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 12 จังหวัดสงขลา  Facebook iconFacebookTwitter iconTwitterLINE iconLine
ปกข่าว 01