สธ. วางแผนการฉีดวัคซีนโควิด-19 แบ่งเป็น 3 ระยะ ระยะแรก ก.พ.-เม.ย. 64 นี้ นายแพทย์โอภาส การย์กวินพงศ์ อธิบดีกรมควบคุมโรค กล่าวถึงการดำเนินการวัคซีนโควิด 19 ของประเทศไทย คณะกรรมการวิชาการเห็นชอบให้ดำเนินการเป็น 3 ระยะ ดังนี้ ระยะที่ 1 จัดหาวัคซีนไว้ 2 ล้านโดส แบ่งเป็นเดือนกุมภาพันธ์ 2 แสนโดส มีนาคม 800,000 โดส และเมษายน 1,000,000 โดสโดยฉีดคนละ 2 เข็ม ห่างกันประมาณ 4 สัปดาห์ เป้าหมายคือการลดการป่วยที่มีอาการรุนแรงและผู้เสียชีวิตจากโรคโควิด -19 ในพื้นที่ที่มีการระบาดมากที่สุดก่อน คือ พื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวด 5 จังหวัด ได้แก่ สมุทรสาคร ระยอง ชลบุรี จันทบุรี […]

ขอเชิญประชาชนจังหวัดสงขลานำสุนัขและเเมวรับการฉีดวัคซีน ฟรี     เพื่อควบคุมและป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าในเขตเทศบาล รวมทั้ง เพื่อให้ประชาชนในพื้นที่ลดความเสี่ยงต่อการได้รับเชื้อโรคพิษสุนัขบ้าให้ครอบคลุมทุกพื้นที่ในเขตเทศบาล ขณะเดียวกันเพื่อลดจำนวนสัตว์ที่เป็นพาหะของโรคพิษสุนัขบ้า และเพื่อให้ประชาชนผู้เลี้ยงสุนัขและแมวมีความรู้ความเข้าใจในการเลี้ยงสัตว์อย่างถูกวิธี โดยวันนี้ก็มีประชาชนที่ได้ขึ้นทะเบียนไว้นำสัตว์เลี้ยงของตนมารับบริการฉีดวัคซีนพิษสุนัขบ้าในวันที่ 21-30 กันยายน 63 สำหรับพื้นที่ 7 จังหวัดภาคใต้ตอนล่าง สถานพยาบาลสัตว์ที่ร่วมโครงการ มีดังนี้ สงขลา มี 5 แห่ง คือ – โรงพยาบาลเมตตา สาขานิพัทธ์อุทิศ 3 อ.หาดใหญ่ – โรงพยาบาลเมตตา สาขาศุภสารรังสรรค์ อ.หาดใหญ่ – โรงพยาบาลแมวเมตตา อ.หาดใหญ่ – โรงพยาบาลเมตตา สาขาสงขลา อ.เมือง – คลินิกหมอจำสัตวแพทย์ อ.นาทวี พัทลุง มี 4 แห่ง คือ – คลินิกคลังยาสัตวแพทย์ อ.เมือง – […]

ภาคครม.อนุมัติแล้วกว่าพันล้านบาท พัฒนาวัคซีนโควิด-19 พร้อมแนวทางความเป็นไปได้ในปลายปีนี้ คณะรัฐมนตรี (ครม.) อนุมัติการจัดสรรงบประมาณรายจ่าย ประจำปี 2563 งบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น วงเงิน 1,000 ล้านบาท ในลักษณะเงินอุดหนุนให้สถาบันวัคซีนแห่งชาติ เพื่อสนับสนุนหน่วยงานเครือข่าย การพัฒนางานด้านวัคซีนของประเทศในการเพิ่มศักยภาพการผลิตวัคซีนให้พร้อมรับการถ่ายทอดเทคโนโลยี การผลิตวัคซีนโควิด-19 และการสร้างขีดความสามารถของประเทศโดยการพัฒนาวัคซีนตั้งแต่ต้นน้ำ ตามที่กระทรวงสาธารณสุขเสนอ ทางด้านหมอตี๋ สาธิต ปิตุเตชะ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข กล่าวกรณีที่กระทรวงสาธารณสุขขอจัดสรรงบประมาณ 600 ล้านบาท เพื่อให้ไทยได้ลงทุนกับนานาชาติในการผลิตวัคซีนโควิด-19 ร่วมกับมหาวิทยาลัยอ๊อกซ์ฟอร์ดและบริษัทในประเทศอังกฤษ ว่า ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี อนุมัติงบประมาณเงินกู้สนับสนุน 1,000 ล้านบาท โดยแบ่งเป็น 3 ส่วนคือ ส่วนที่เราสามารถดำเนินการเองได้โดย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ที่กำลังดำเนินการผลิต อีกช่องทางหนึ่งคือ ร่วมกับมหาวิทยาลัยอ๊อกฟอร์ด โดยการทำข้อตกลงเพื่อให้ดำเนินการจัดสรรโควต้า เมื่อได้วัคซีนต้นแบบแล้ว อาจจะมีเงื่อนไขว่าให้จำหน่ายให้ไทยในราคาต้นทุน และอีกส่วนหนึ่งคือไทยผลิตเองโดยใช้งบประมาณไม่มาก โดยมี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเป็นผู้ส่งเสริม ซึ่งทั้ง 3 ส่วนสามารถดำเนินการได้ […]

ข่าวดีคาดปี 64 จะมีวัคซีนป้องกันโควิด-19 พร้อมใช้ราคาประมาณ 620 บาท    ศาสตราจารย์ นายแพทย์สิริฤกษ์ ทรงศิวิไล เลขาธิการคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ ทำหน้าที่ผู้อำนวยการสำนักงานการวิจัยของชาติ (วช.) กล่าวถึงการพัฒนาวัคซีนโรคโควิด-19 ทั่วโลก ว่าผลการทดสอบวัคซีนในมนุษย์ ระยะที่ 1 และระยะที่ 2 เป็นที่น่าพอใจ สามารถกระตุ้นภูมิคุ้มกันได้ดีในอาสาสมัคร และไม่พบผลข้างเคียงรุนแรง ทำให้นักวิทยาศาสตร์ มั่นใจมากขึ้นว่าจะสามารถพัฒนาและผลิตวัคซีนที่ใช้งานได้ วัคซีนที่กำลังทดสอบในมนุษย์มีถึง 30 แบบ เข้าสู่การทดสอบระยะที่ 3 ในประชากรจำนวนมาก เพื่อดูผลในการป้องกันการติดเชื้อ ซึ่งเป็นขั้นตอนสุดท้ายก่อนที่จะได้รับการรับรองเพื่อใช้งานทั่วไป คาดว่าช่วงต้นปี 64 จะเริ่มมีวัคซีนจำนวนหนึ่งที่พร้อมใช้ในคน แต่ยังมีจำนวนจำกัด หลังจากนั้นจะสามารถเพิ่มกำลังการผลิตได้เพิ่มขึ้นเพื่อให้มีวัคซีนจำนวนมากเพียงพอ  ราคาวัคซีน รัฐบาลสหรัฐอเมริกา ได้ตกลงสั่งซื้อวัคซีนที่พัฒนาโดยบริษัท ไบออนเทค ประเทศเยอรมนี ร่วมกับบริษัทไฟเซอร์ ประเทศสหรัฐอเมริกา เป็นการจองซื้อวัคซีนล่วงหน้าหากวัคซีนประสบความสำเร็จโดยสั่งซื้อวัคซีนจำนวน 100 ล้านเข็ม(สำหรับฉีดในคน 50 ล้านคน) […]

สำเร็จแล้วการฉีดวัคซีนทดสอบโควิด-19 เข็มที่ 2 ในลิง เดือนตุลานี้เริ่มทดสอบในมนุษย์       ศ.นพ.สิริฤกษ์ ทรงศิวิไล กล่าวว่า การดำเนินการพัฒนาวัคซีนครั้งนี้เป็นไปตามนโยบายของ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ที่ต้องการให้คนไทยมีวัคซีนอย่างรวดเร็วเป็นลำดับแรกๆ และเพียงพอต่อความต้องการของประชาชน    ศ.นพ.สิริฤกษ์ ทรงศิวิไล เลขาธิการคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ ทำหน้าที่ผู้อำนวยการสำนักงานวิจัยแห่งชาติ (วช.) กล่าวถึงความคืบหน้าการทดลองทดสอบวัคซีนโควิด-19 โดยใช้สารพันธุกรรมของเชื้อ “ชนิด mRNA” ฉีดในลิง เข็มที่ 2 เมื่อวันที่ 22 มิถุนายนที่ผ่านมา ที่ศูนย์วิจัยไพรเมทแห่งชาติ อำเภอแก่งคอย จังหวัดสระบุรี ซึ่งเป็นวัคซีนที่พัฒนาโดยทีมนักวิจัยไทยของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยการสนับสนุนของสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) และสถาบันวัคซีนแห่งชาติ พบว่า ผลเป็นที่น่าพอใจ ลิงทุกตัวมีสุขภาพแข็งแรง ไม่มีผลข้างเคียงจากวัคซีน ส่วนการทดสอบฉีดเข็มที่ 3 คาดจะดำเนินการประมาณวันที่ 22 กรกฏาคมนี้ ซึ่งการวิจัยและพัฒนาเป็นไปตามแผนงานการทดลอง เมื่อวิเคราะห์ประเมินผลการทดสอบในลิงทั้งในด้านผลการกระตุ้นภูมิคุ้มกันและ ด้านความปลอดภัยเสร็จแล้วก็จะเข้าสู่การทดสอบในมนุษย์ต่อไป คาดจะทำการทดสอบได้ประมาณเดือนตุลาคมตามแผน ส่วนการรับอาสาสมัครนั้นต้องได้รับการอนุมัติและพิจารณาในรายละเอียดขั้นตอนต่างๆ ก่อน HATYAITODAYNEWS อ้างอิงข้อมูลเพิ่มเติม : กรมข่าวประชาสัมพันธ์

รมต.สาธารณะสุขเผย ไทยเริ่มทดลองวัคซีนโควิด-19 ในมนุษย์ปี64      “รัฐบาลได้เตรียมความพร้อมในทุกด้านทั้งการเร่งวิจัยผลิตวัคซีนเพื่อป้องกันการระบาด การเตรียมพร้อมของระบบรักษาพยาบาล ทั้งจำนวนเตียง ยาและเวชภัณฑ์ รวมทั้งการดูแลความเป็นอยู่ของประชาชน ซึ่งรัฐบาลได้ผ่อนปรนมาตรการในระยะที่ 3 เพื่อเอื้อต่อการประกอบกิจการและใช้ชีวิต แต่ยังต้องขอความร่วมมือของประชาชนทุกคน ให้ร่วมมือกันอย่างเต็มที่ในการสวมหน้ากาก ล้างมือด้วยสบู่ หรือแอลกอฮอล์เจล เว้นระยะห่าง อย่ารวมกลุ่ม ถ้าเราร่วมกันการ์ดอย่าตก มั่นใจว่าเราจะผ่านสถานการณ์นี้ได้อย่างปลอดภัยและไม่เกิดการระบาดเพิ่มขึ้นอย่างน่าห่วงอีกครั้ง” นายอนุทิน เปิดเผยหลังการเยี่ยมชมว่า เป็นเรื่องน่ายินดีที่นักวิทยาศาสตร์ไทยอีกกลุ่มหนึ่งซึ่ง มีความก้าวหน้าในการศึกษาวิจัยและผลิตวัคซีนชนิด DNA เพื่อป้องกันโรคโควิด 19 ตอนนี้ผลการทดลองในหนูมีความคืบหน้าในทางที่ดี อยู่ระหว่างการรับรองผลจากกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ในสัปดาห์หน้า หากผ่านการรับรองจะเริ่มการทดลองในลิง ซึ่งหากสำเร็จตามเป้าหมายจะถือว่าเป็นข่าวดีของประเทศไทย และจะเริ่มผลิตวัคซีนออกมาเพื่อใช้ในการทดลองในคนในระยะที่ 1 ได้ในช่วงครึ่งหลังของปี 2563 ซึ่งหากทุกอย่างเป็นไปตามเป้าหมาย คาดว่าใช้เวลาประมาณ 12 เดือน จะทราบผลการทดลองในมนุษย์ระยะที่ 3 ในปลายปี 2564 หากเป็นตามนั้นประเทศไทยจะสามารถผลิตวัคซีนป้องกันโรคโควิด 19 ขึ้นมาได้เอง และถือว่าประชาชนชาวไทยจะมีโอกาสได้รับวัคซีนเป็นประเทศลำดับต้นๆ ของโลกอีกด้วย โดยบริษัท สยามไบโอไซเอนซ์ […]