เคอร์ฟิวคืออะไร ทำไมไทยต้องเคอร์ฟิว!!
หากเราจะพูดมาตราการจากภาครัฐที่เรียกได้ว่าเป็นกระแสอยู่ในตอนนี้ นั้นคือมาตราการเคอร์ฟิว จากภาวะการระบาดของ COVID-19 ในประเทศไทยที่ตัวเลขผู้ติดเชื้อเพิ่มขึ้น จำนวนผู้ติดเชื้อ 1,875 ราย และเสียชีวิตรวม 15 ราย (ข้อมูล ณ วันที่ 2 เมษายน 2563) ประชาชนส่วนใหญ่จึงเกิดการวิตกกังวล รวมถึงมีข่าวลือถึงการยกระดับมาตรการป้องกันโรคระบาดจนถึงขั้นประกาศใช้ “พรก.ฉุกเฉิน” หรือที่เราเรียกกันว่า “เคอร์ฟิว”
การประกาศ “พรก.ฉุกเฉิน” หรือ “เคอร์ฟิว” คือ การประกาศห้ามประชาชนออกจากเคหสถานในบริเวณพื้นที่ที่กำหนด ตามระยะเวลาที่ระบุไว้อย่างชัดเจน และ จะเกิดขึ้นได้ในพื้นที่ภายใต้บังคับของกฎหมายพิเศษด้านความมั่นคงอื่นๆ ในเวลาที่บ้านเมืองอยู่ในภาวะไม่ปกติ เช่นอยู่ในภาวะสงครามหรือมีเหตุกระทบกระเทือนต่อความมั่นคงของรัฐอย่างรุนแรง
ทั้งนี้ ประเทศไทยมีกฎหมายพิเศษด้านความมั่นคงให้อำนาจแก่รัฐในการประกาศเคอร์ฟิวอยู่หลายฉบับ เช่น
พระราชบัญญัติกฎอัยการศึก พ.ศ. 2457 ให้อำนาจเจ้าหน้าที่ฝ่ายทหาร ห้ามบุคคลออกนอกเคหสถานภายในระหว่างระยะเวลาที่กำหนดตามมาตรา11(6)
พระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 ที่ให้นายกรัฐมนตรีมีอำนาจประกาศห้ามมิให้บุคคลใดออกนอกเคหสถานภายในระยะเวลาที่กำหนด เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากพนักงานเจ้าหน้าที่ หรือเป็นบุคคลซึ่งได้รับยกเว้น ตามมาตรา 9(1)
ในอดีตที่ผ่านมาประเทศไทยได้ประกาศภาวะ “เคอร์ฟิว” มาแล้วหลายครั้งไม่ว่าจะเป็น
– การประกาศเมื่อเดือนพฤษภาคม 2535 โดยนายกรัฐมนตรีสุจินดา คราประยูร ในช่วงเหตุการณ์ชุมนุมขับไล่นายกรัฐมนตรี
– การประกาศเมื่อเดือนพฤษภาคม 2553 โดยศูนย์อำนวยการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน (ศอฉ.) ในช่วงการชุมนุมของกลุ่มคนเสื้อแดงที่ยืดเยื้อมาเป็นเวลาประมาณสามเดือน
– การประกาศเมื่อวันที่ 15 มีนาคม 2550 โดยแม่ทัพภาคที่สี่ประกาศห้ามออกนอกเคหสถานระหว่างเวลา 20.00 น. ถึงเวลา 04.00 น. ในเขตท้องที่ อำเภอยะหา และอำเภอบันนังสตา จังหวัดยะลา หลังจากมีเหตุลอบวางระเบิดและลอบยิงประชาชนอย่างต่อเนื่อง
แน่นอนว่ามาตรการนี้ไม่เป็นอันตรายกับประชาชนผู้ไม่เกี่ยวข้อง แต่หากยังมีการเคลื่อนไหวอยู่ก็แสดงว่ามีเจตนาที่จะฝ่าฝืน เจ้าหน้าที่อาจดำเนินการได้ อาจจะบาดเจ็บหรืออาจจะเกิดอะไรขึ้นถือว่าเรียกร้องอะไรไม่ได้ เนื่องจากได้แจ้งให้ทราบแล้ว เฉพาะในพื้นที่ที่มีการประกาศเท่านั้น.
อ้างอิงข้อมูลจาก : bangkokbiznews, thairath
ทั้งนี้ท่านสามารถติดตามรายงานสถานการณ์โควิด-19 ได้ในแบบเรียลไทม์