สงขลา เทศบาลคอหงส์ เตรียมพร้อมรับมือฤดูฝน ปี 65 ซักซ้อมแผนเผชิญเหตุรับมือสถานการณ์อุทกภัย

สงขลา เทศบาลคอหงส์ เตรียมพร้อมรับมือฤดูฝน ปี 65 ซักซ้อมแผนเผชิญเหตุรับมือสถานการณ์อุทกภัย

วันที่ 20 ต.ค. 65 เทศบาลเมืองคอหงส์เปิดพิธีการฝึกซ้อมแผนเผชิญเหตุรับมือสถานการณ์อุทกภัย มาตรการที่ 10 และมาตรการที่ 11 ตามมาตรการรับมือฤดูฝน ปี 2565 ณ ศูนย์ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดสงขลา หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้าร่วมฝึกซ้อมแผนฯ เพื่อให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องด้านการบริหารจัดการน้ำและเผชิญเหตุ ทั้งในส่วนกลางและหน่วยปฏิบัติในพื้นที่ได้ร่วมซักซ้อมการปฏิบัติตามมาตรการ ให้สามารถติดตามประเมิน และคาดการณ์สถานการณ์น้ำ พร้อมแจ้งเตือน รวมถึงการบริหารจัดการน้ำ และการให้ความช่วยเหลือบรรเทาผลกระทบให้มีความเป็นเอกภาพ ทันต่อสถานการณ์เตรียมพร้อมรับมือฤดูฝน ปี 65 ซักซ้อมแผนเผชิญเหตุรับมือสถานการณ์อุทกภัย ในพื้นที่ 

S 40820775

ซึ่งเป็นการเตรียมความพร้อมรับสถานการณ์อุทกภัยของเทศบาลเมืองคอหงส์ในครั้งนี้ เป็นการเตรียมความพร้อม ทั้งเครื่องจักร กำลังพล การเตรียมการในการระบายน้ำ และการแก้ไขปัญหาน้ำท่วมขังในพื้นที่ที่เป็นจุดอ่อน และจุดเสี่ยงน้ำท่วม เพื่อสร้างความมั่นใจให้กับพี่น้องประชาชน ในประสิทธิภาพของการรับมืออุทกภัยของเทศบาลเมืองคอหงส์และจะมีการเปิดศูนย์อำนวยการป้องกันและบรรเทาอุทกภัยเทศบาลเมืองคอหงส์อีกด้วย

S 40820768
S 40820770
S 40820772
S 40820773

อ้างอิง : เทศบาลเมืองคอหงส์

Next Post

สงขลา-หาดใหญ่ พบฝนตกหนักในบางพื้นที่ เตือนประชาชนระวังน้ำท่วมในพื้นที่ลุ่มต่ำ

Thu Oct 20 , 2022
สงขลา-หาดใหญ่ พบฝนตกหนักในบางพื้นที่ เตือนประชาชนระวังน้ำท่วมในพื้นที่ลุ่มต่ำ วันที่ 20 ต.ค. 65 ประกาศฉบับดังกล่าวระบุว่า พายุโซนร้อน “เนสาท” บริเวณทะเลจีนใต้ตอนบน มีศูนย์กลางอยู่ห่างประมาณ 340 กิโลเมตรทางตะวันออกของเมืองดองฮอย ประเทศเวียดนาม หรือที่ละติจูด 17.1 องศาเหนือ ลองจิจูด 109.8 องศาตะวันออก มีความเร็วลมสูงสุดใกล้ศูนย์กลางประมาณ 80 กิโลเมตรต่อชั่วโมง กำลังเคลื่อนตัวทางทิศตะวันตก ด้วยความเร็วประมาณ15 กิโลเมตรต่อชั่วโมง พายุนี้มีแนวโน้มจะเคลื่อนผ่านตอนใต้ของเกาะไหหลำและเคลื่อนขึ้นฝั่งประเทศเวียดนามตอนบนในช่วงวันที่ 20-21 ต.ค. 65 จากนั้นจะอ่อนกำลังลงอย่างรวดเร็ว โดยประเทศไทยตอนบนมีฝนเล็กน้อยบางแห่งเกิดขึ้นได้ ร่องมรสุมพาดผ่านภาคใต้ตอนกลาง ประกอบกับลมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามันและภาคใต้จะมีกำลังแรงขึ้น ทำให้ภาคใต้มีฝนตกหนักถึงหนักมาก โดยทะเลอันดามันมีคลื่นสูง 2-3 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองมีคลื่นสูงมากกว่า 3 เมตร ส่วนอ่าวไทยทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ขอให้ประชาชนบริเวณภาคใต้ระวังอันตรายจากฝนตกหนักถึงหนักมากและฝนที่ตกสะสม ซึ่งอาจทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลากไว้ด้วย […]
ปกข่าว 01