สภ.สะเดา ตั้งจุดตรวจจุดสกัดสามฝ่ายหน้าค่ายธนพัฒน์ เพื่อป้องกันแรงงานหลบหนีเข้าเมืองโดยผิดกฎหมาย วันที่ 25 ส.ค. 64 พ.ต.อ.บรรเทิง เหล่าเจริญ ผกก.สภ.สะเดา พ.ต.ท.ภาสกร กิจไพบูลย์ทวี รอง ผกก.ป.สภ.สะเดา สั่งการให้ พ.ต.ท.ปกรณ์ แก้วฤทธิ์ สวส.ฯ ปฎิบัติหน้าที่ สวป.ฯ ร.ต.อ.เอกชัย คงน่วม (ด่านนอก 2๐) ร่วมกำลังสามฝ่าย ทหาร ฝ่ายปกครอง ตชด. ปฏิบัติหน้าที่ จุดสกัด (pop up) จุดตรวจร่วมสามฝ่ายหน้าค่ายธนพัฒน์ เพื่อป้องกันและสกัดกั้นแรงงานหลบหนีเข้าเมืองโดยผิดกฎหมาย ตรวจสอบบุคคล ยานพาหนะ ยาเสพติด ป้องกันการรวมกลุ่มของวัยรุ่นเพื่อการแข่งรถในทาง เหตุความมั่นคง และประชาสัมพันธ์เกี่ยวกับการป้องกันการแพร่ระบาดของโรคติดต่อโควิด-19 อ้างอิง : ตำรวจภูธรสะเดา

ผู้ประกันตน มาตรา 39 ใน 13 จังหวัดสีแดงเข้ม กลุ่มที่เงินยังไม่เข้า รีบผูกพร้อมเพย์กับเลขบัตรประชาชน วันที่ 25 ส.ค. 64 นางเธียรรัตน์ นะวะมะวัฒน์ โฆษกกระทรวงแรงงาน (ฝ่ายการเมือง) เปิดเผยภาพรวมการจ่ายเงินเยียวยาผู้ประกันตนมาตรา 39 ใน 13 จังหวัดสีแดงเข้ม ครอบคลุม 9 ประเภทกิจการ วงเงิน 5,000 บาทต่อคน ซึ่งโอนเงินไปแล้ว เมื่อวานนี้ (23 ส.ค.64) ได้แก่ กรุงเทพมหานคร นครปฐม นนทบุรี ปทุมธานี สมุทรปราการ สมุทรสาคร นราธิวาส ปัตตานี ยะลา สงขลา ฉะเชิงเทรา ชลบุรี และพระนครศรีอยุธยา พบว่า มีจำนวนที่โอนให้ผู้มีสิทธิ์ทั้งสิ้น 1,123,746 ราย ในจำนวนนี้โอนสำเร็จ 1,020,852 ราย และโอนไม่สำเร็จ 102,894 ราย สาเหตุที่โอนไม่สำเร็จเนื่องจากผู้มีสิทธิ์ไม่ผูกพร้อมเพย์กับเลขบัตรประชาชนจำนวน 99,940 ราย บัญชีปิด 1,412 ราย ไม่มีบัญชี 972 คน บัญชีติดเงื่อนไข 11 ราย เลขที่บัญชีไม่ถูกต้อง 112 ราย และไม่สามารถทำรายการได้ 447 ราย การโอนเงินเยียวยาแก่ผู้ประกันตนมาตรา 39 ใน 13 จังหวัด 9 กิจการ รายละ 5,000 บาท ขอเน้นย้ำว่า ผู้ประกันตนที่ยังไม่ได้รับเงินเนื่องจากการโอนไม่สำเร็จ สามารถตรวจสอบรายชื่อผู้ประกันตนที่โอนไม่สำเร็จได้ที่เว็บไซต์ สำนักงานประกันสังคม www.sso.go.th หน้าตรวจสอบสิทธิ กรณีไม่สามารถโอนเงินสำเร็จด้วยสาเหตุที่ผู้ประกันตนไม่ผูกพร้อมเพย์ จากนั้นให้ติดต่อธนาคารเจ้าของบัญชีเพื่อดำเนินการแก้ไข ส่วนกรณีผู้ที่ไม่ได้รับสิทธิสามารถยื่นทบทวนสิทธิได้ตั้งแต่วันที่ 1 – 30 กันยายน 2564 นี้  อ้างอิง :  สำนักงานประกันสังคม

หาดใหญ่ ตรวจเข้มร้านอาหารงดรับประทานในร้าน สามารถซื้อกลับบ้านได้เท่านั้น วันที่ 25 ส.ค. 64 เทศบาลนครหาดใหญ่ ร่วมกับ อำเภอหาดใหญ่ สภ.หาดใหญ่ พล.ต.ท.สาคร ทองมุณี นายกเทศมนตรีนครหาดใหญ่ มอบหมาย นางสาวรุจิยา สุขมี ผู้อำนวยการส่วนส่งเสริมสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง ลงพื้นที่ตรวจร้านค้า ตามมาตรการเร่งด่วนในการเฝ้าระวังป้องกันและควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) โดยงดรับประทานอาหารในร้านให้ซื้อกลับบ้าน ณ ร้านค้าบริเวณถนนกิมประดิษฐ์ อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา อ้างอิง : เทศบาลนครหาดใหญ่

เทศบาลนครหาดใหญ่ เปิดลงทะเบียนจองวัคซีนซิโนฟาร์ม รอบที่ 2 หลังจากที่ทางพลตำรวจโท สาคร ทองมุณี นายกเทศมนตรีนครหาดใหญ่ เปิดเผยว่า เทศบาลนครหาดใหญ่ มีประชากรกว่า 140,000 คน โดยประชากรผู้สูงอายุ 60 ปีขึ้นไป และผู้ที่อยู่ในกลุ่มโรค 7 กลุ่มเสี่ยง ได้มีการลงทะเบียนผ่าน “หมอพร้อม” แล้ว โดยมีการตั้งเป้าไว้ประมาณ 70,000 คน ในการฉีดวัคซีน โดยทางเทศบาลนครหาดใหญ่ได้ปฎิบัติการเชิงรุกในการประชาสัมพันธ์เชิญชวนพี่น้องประชาชนมาลงทะเบียนรับวัคซีนในทุกช่องทาง และได้มีการเตรียมจองวัคซีนซิโนฟาร์มของราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ อีก 50,000 โดส ซึ่งสามารถรองรับความต้องการในการวัคซีนป้องกันโควิด-19 ให้กับประชาชนอีกประมาณ 25,000 คน ต่อมาวันที่ 25 ส.ค. 64 เทศบาลนครหาดใหญ่เปิดลงทะเบียนจองวัคซีนซิโนฟาร์ม รอบที่ 2 ในวันที่ 30 ส.ค. 64 เวลา 09.00 น. กลุ่มที่ได้รับจัดสรร […]

จังหวัดสงขลา สั่งห้ามเข้าพื้นที่เสี่ยง 4 หาดอำเภอสิงหนคร มีผลตั้งแต่วันที่ 24 ส.ค. 64 วันที่ 24 ส.ค. 64 ประกาศคำสั่งคณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัดสงขลาที่ 91/2564 สั่งห้ามเข้าพื้นที่เสี่ยง 4 หาดในอำเภอ ได้แก่ 1.หาดจันทร์สว่าง หมู่ที่ 1 ตำบลหัวเขาอำเภอสิงหนคร จังหวัดสงขลา 2.หาดแก้วจุลดิศ หมู่ที่ 2 ตำบลชิงโค อำเภอสิงหนคร จังหวัดสงขลา 3.หาดม่วงงาม หมู่ที่ 2 3 7 และ 8 ตำบลม่วงงาม อำเภอสิงหนคร จังหวัดสงขลา 4.หาดกระบองเพชร หมู่ที่ 9 ตำบลม่วงงาม อำเภอสิงหนคร จังหวัดสงขลา โดยห้ามดำเนินการดังนี้ ห้ามจำหน่ายจ่ายแจกสุราหรือเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ตลอดเวลา 24 ชั่วโมง ห้ามมีการดื่มสุราหรือเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ตลอดเวลา […]

สธ.ยืนยัน ยาฟาวิพิราเวียร์ลดความรุนแรงโควิด-19 ได้ 30% วันที่ 24 ส.ค. 64 อธิบดีกรมการแพทย์ ระบุ ยาฟาวิพิราเวียร์ เป็นยาต้านไวรัสที่มีฤทธิ์ยับยั้งจำนวน RNA ทำให้กำจัดไวรัสออกจากร่างกายได้ โดยการระบาดระลอกแรกในต่างประเทศพบว่าใช้ลดการติดเชื้อโควิด-19 ได้ดี ประกอบกับ การศึกษาจากหลายสถาบันของไทยในการระบาดรอบปี 2563 พบว่า ผู้ป่วยที่ได้รับยาฟาวิพิราเวียร์ ภายใน 4 วันตั้งแต่เริ่มมีอาการ ลดความรุนแรงได้ 30% กลุ่มที่มีอาการปอดบวมรุนแรง ดีขึ้นใน 14 วัน ส่วนที่ปอดบวมไม่รุนแรงดีขึ้นใน 9 วัน คณะกรรมการกำกับการดูแลรักษาโรคโควิด-19 จึงกำหนดให้ใช้ยาฟาวิพิราเวียร์ ในแนวทางเวชปฏิบัติ ซึ่งมีการทบทวน ปรับปรุงเป็นระยะ จากการแลกเปลี่ยนความเห็นของคณะกรรมการผู้เชี่ยวชาญ ประสบการณ์การดูแลรักษาผู้ป่วย และรายงานการศึกษาวิจัยทั้งในไทยและต่างประเทศ รวมถึงมีการหารือเพื่อศึกษายาชนิดใหม่ๆ ด้วย นอกจากนี้ยังมีการวิจัยของโครงการประเมินเทคโนโลยีและนโยบายด้านสุขภาพ (HITAP) ซึ่งได้ทบทวนการศึกษาของต่างประเทศพบข้อมูลการศึกษาที่มีผลเหมือนกันคือ ยาฟาวิพิราเวียร์ มีประสิทธิผลในการลดอาการใน 7 วัน […]