ประกันสังคม ขยายกรอบวงเงินเยียวยาผู้ประกันตน ม.39, ม.40 จากโควิด – 19 วันที่ 5 ก.ย. 64 คณะรัฐมนตรี มีมติอนุมัติขยายกรอบวงเงินเพิ่ม จำนวน 44,314.05 ล้านบาท จากเดิม 33,471.00 ล้านบาท เป็นจำนวน 77,785.06 ล้านบาท เพื่อให้ความช่วยเหลือผู้ประกันตนมาตรา 39 และ มาตรา 40 ที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ในพื้นที่ 29 จังหวัด โดยช่วยเหลือจำนวน 5,000 บาท/คน รวมทั้งสิ้น 9,385,930 คน ได้แก่ – ผู้ประกันตนมาตรา 39 จำนวน 1,436,171 คน – ผู้ประกันตน มาตรา 40 จำนวน 7,949,759 คน มติ ครม.ดังกล่าวสืบเนื่องจากมีการขยายระยะเวลาให้ผู้ประกันตนมาตรา 40 ในพื้นที่ 3 จังหวัด สามารถขึ้นทะเบียนเป็นผู้ประกันตนรายใหม่ได้ และในพื้นที่ 16 จังหวัด ให้ขึ้นทะเบียนเป็นผู้ประกันตนรายใหม่ได้ตั้งแต่วันที่ 4 – 24 สิงหาคม ที่ผ่านมา รวมทั้งขยายการให้ความช่วยเหลือกลุ่มเป้าหมายที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์โควิด-19 ในพื้นที่ 13 จังหวัด เพิ่มเติม 1 เดือน มาตรการเยียวยาผู้ประกันตน มาตรา 39 และมาตรา 40 ในพื้นที่สีแดงเข้ม หรือพื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวด 29 จังหวัด มีดังนี้ – กลุ่ม 10 จังหวัดแรก ประกอบด้วย กรุงเทพฯ นครปฐม นนทบุรี ปทุมธานี สมุทรปราการ สมุทรสาคร ยะลา ปัตตานี นราธิวาส และสงขลา – กลุ่ม 3 จังหวัด ประกอบด้วย ชลบุรี ฉะเชิงเทรา และพระนครศรีอยุธยา – กลุ่ม 16 จังหวัด ประกอบด้วย กาญจนบุรี สมุทรสงคราม สุพรรณบุรี เพชรบุรี ประจวบคีรีขันธ์ ราชบุรี อ่างทอง นครนายก ปราจีนบุรี ลพบุรี ระยอง สิงห์บุรี สระบุรี นครราชสีมา เพชรบูรณ์ ตาก มาตรการดังกล่าว มีเงื่อนไขคือผู้ประกันตน มาตรา 39 และผู้ประกันตนมาตรา 40 ต้องประกอบอาชีพอิสระในพื้นที่ 29 จังหวัดและจ่ายเงินสมทบครบถ้วนตามเงื่อนเวลาที่กำหนด อ้างอิง : กรมประชาสัมพันธ์
ข่าวภาคใต้
โรงพยาบาลสงขลา จัดรางวัลเป็นแรงจูงใจให้ อสม.นำกลุ่มเป้าหมายมาฉีดวัคซีนโควิด-19 วันที่ 5 ก.ย. 64 หน่วยบริการฉีดวัคซีนโควิด-19 ของโรงพยาบาลสงขลา ชาวสงขลา ยังคงเดินทางมาฉีดวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19โดยเป็นกลุ่มเป้าหมายผู้สูงอายุ 60 ปีขึ้นไปกลุ่มผู้ป่วย 7 โรคเรื้อรังและหญิงตั้งครรภ์อายุครรภ์ตั้งแต่ 12 สัปดาห์ขึ้นไป อย่างต่อเนื่อง มีการคัดกรองตามมาตรการของกระทรวงสาธารณสุขอย่างเคร่งครัดขณะเดียวกัน วันนี้เป็นโครงการส่งความห่วงใยนำผู้สูงวัย ผู้ป่วย 7 กลุ่มโรคและหญิงอายุครรภ์ตั้งแต่ 12 สัปดาห์ขึ้นไปมาฉีดวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 โดยสร้างแรงจูงใจให้ อสม.ที่สามารถนำกลุ่มเป้าหมายดังกล่าวมาฉีดวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 ได้จำนวนมากที่สุด โดยมีกติกาอสม. 1 คนนำผู้สูงอายุ 60ปี 9 คน ผู้ป่วย 7 กลุ่มโรค 9 คน และหญิงตั้งครรภ์อายุครรภ์ตั้งแต่ 12 สัปดาห์ขึ้นไป 6 คน มารับบริการฉีดวัคซีน (โดยต้องเป็นผู้ที่มีบัตรประชาชนในเขต เมืองสงขลา) เริ่มฉีดในวันที่ 4 ก.ย.นี้ […]
จนท. เข้มจุดตรวจจุดสกัด เน้นย้ำกำลังพลป้องกันการพาเชื้อไวรัสโควิด-19 จากประเทศเพื่อนบ้านเข้ามา วันที่ 5 ก.ย. 64 พลตรี ศานติ ศกุนตนาค ผู้บังคับหน่วยเฉพาะกิจสงขลา ลงตรวจเยี่ยมจุดตรวจจุดสกัด ป้องกันการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 (Covid-19) บ้านทุ่งเปรียง ตำบลประกอบ อำเภอนาทวี จังหวัดสงขลา พร้อมรับฟังสถานการณ์โควิด-19 ในพื้นที่ มอบสิ่งของอุปโภค บริโภค อาหารแห้ง และน้ำดื่ม แก่เจ้าหน้าที่ที่ปฏิบัติงาน โดยมี ส่วนราชการ ทหาร ตำรวจตระเวนชายแดนที่ 43 เจ้าหน้าที่ อสม. ตลอดจนผู้นำชุมชนร่วมให้การต้อนรับ ภายใต้มาตรการป้องกันการแพร่ระบาดเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 อย่างเคร่งครัด ด้านผู้บังคับหน่วยเฉพาะกิจสงขลา เปิดเผยว่า วันนี้ตั้งใจมาให้กำลังใจเจ้าหน้าที่ที่มาตั้งจุดตรวจในพื้นที่ตามแนวชายแดน เนื่องจากเห็นการทำงานของเจ้าหน้าที่ทุกภาคส่วนอยู่ทุกวันดีใจ และภูมิใจกับประชาชนในพื้นที่ที่มีความเข้มแข็ง เจ้าหน้าที่ปฏิบัติงานกันมาอย่างยาวนาน สับเปลี่ยนกำลังหมุนเวียนกันมาดูแลเพื่อพี่น้องประชาชน และกันไม่ให้ผู้ที่เดินทางลักลอบเข้ามาตามช่องทางธรรมชาติสามารถผ่านเข้ามาได้ ขอชื่นชมและถือโอกาสนี้มาเยี่ยมเยียนเพื่อให้กำลังใจทุกคน ฝากถึงเจ้าหน้าที่ที่ปฏิบัติงานเกิดความสบายใจได้ แต่จะต้องมีความเคลื่อนไหวอยู่ตลอดเวลา ทั้งนี้ทางเจ้าหน้าที่ต้องสร้างความตระหนักรู้ให้กับพี่น้องประชาชนที่อยู่ในพื้นที่ให้ช่วยกันเป็นหูเป็นตา […]
เตือน ! ผลิตภัณฑ์สุขภาพทำจากใบพืชกระท่อมต้องขออนุญาตอย.ก่อนจำหน่าย วันที่ 2 ก.ย. 64 นายแพทย์วิทิต สฤษฎีชัยกุล รองเลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) เปิดเผยว่า หลังจากรัฐปลดล็อกพืชกระท่อมออกจากบัญชียาเสพติด ประเภทที่ 5 โดยมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 24 ส.ค.ที่ผ่านมา เพื่อให้สอดรับนโยบายดันกระท่อมขึ้นแท่นเป็นพืชเศรษฐกิจใหม่ สร้างรายได้เกษตรกร และเพิ่มมูลค่าเศรษฐกิจประเทศ ส่งผลให้ประชาชนทั่วไปสามารถปลูกพืชกระท่อม ครอบครอง และสามารถซื้อ ขาย หรือนำมาบริโภคได้ กรณีที่มีการนำพืชกระท่อมมาทำเป็นผลิตภัณฑ์สำเร็จรูปที่อยู่ในการกำกับดูแลของ อย. เช่น ยา อาหาร ผลิตภัณฑ์สมุนไพร ขอให้ผู้ประกอบการมาขออนุญาตกับ อย. ก่อนการนำออกจำหน่าย โดย อย. มีหน่วยงานที่สามารถให้คำปรึกษาเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์และรายละเอียดในการขออนุญาตได้อย่างถูกต้อง รวดเร็ว ซึ่งผลิตภัณฑ์ที่ได้รับอนุญาตอย่างถูกต้องตามกฎหมายเป็นการยืนยันในเรื่องประสิทธิภาพและคุณประโยชน์ของผลิตภัณฑ์ที่ชัดเจน รวมทั้งปลอดภัยต่อผู้บริโภค อ้างอิง : คณะกรรมการอาหารและยา
สงขลา พบผู้ป่วยโควิด 254 คน รวมผู้ป่วยโควิดระลอกเดือน เม.ย. สะสม 19,699คน วันที่ 2 ก.ย. 64 จังหวัดสงขลาพบผู้ป่วยยืนยันติดเชื้อเพิ่ม 254 ราย มีรายละเอียดผู้ติดเชื้อ ดังนี้ 1.ผู้ป่วยจากการตรวจคัดกรองกลุ่มเสี่ยง พนักงานโรงงานอุตสาหกรรม 8 แห่ง (ศรีตรังโกลฟส์,โชติวัฒน์อุตฯ,ซีเวลท์,เซฟสกิน,ไทยยูเนี่ยน,แปซิฟิค,แมนเอ,CPF) รวมจำนวน 30 ราย (รายใหม่ 27 ราย/สัมผัส 3 ราย) 2.กลุ่มผู้ป่วยจากการตรวจคัดกรองกลุ่มเสี่ยง ในบริษัท/ร้านค้า ต่าง ๆ รวมจำนวน 15 ราย (รายใหม่ 12 ราย/สัมผัส 3 ราย) 3.กลุ่มผู้ป่วยเดินทางมาจากต่างจังหวัด และผู้สัมผัสผู้ป่วยต่างจังหวัด รวมจำนวน 15 ราย (มาจาก กทม. 1 […]
สสก.5 สงขลา ขับเคลื่อนเครือข่ายทุเรียนภาคใต้ให้มีคุณภาพเพื่อการค้า วันที่ 2 ก.ย. 64 นายสุพิท จิตรภักดี ผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมและพัฒนาการเกษตรที่ 5 จังหวัดสงขลา ให้ข้อมูลว่า ทุเรียนเป็นผลไม้เศรษฐกิจที่สำคัญของประเทศไทย ซึ่งสถานการณ์ตลาดทุเรียนในอาเซียนช่วง 10 ปี ที่ผ่านมา (2554-2563) อินโดนีเซียครองแชมป์การผลิตทุเรียนมากที่สุดของโลกตามด้วยไทย มาเลเชีย เวียดนาม และฟิลิปปินส์ คาดว่าในช่วง 5 ปีข้างหน้า (2564-2568) ปริมาณการส่งออกทุเรียนไทยจะนำหน้าอินโดนีเซีย ตามมาด้วย มาเลเซีย และเวียดนาม แต่พบว่าปัจจัยเสี่ยงที่มีผลต่อทุเรียนไทย ได้แก่ 1) จีนอนุญาตให้นำเข้าทุเรียนจากประเทศอื่น 2) ไทยขาดระบบตรวจสอบย้อนกลับ 3) ปัญหาทุเรียนอ่อน และเครื่องมือในการตรวจ 4) จีนมีความเข้มงวดในการตรวจสินค้ามากขึ้น 5) มีการสวมสิทธิ์ทุเรียนจากประเทศเพื่อนบ้าน 6) ตลาดทุเรียนในประเทศถูกควบคุมโดยกลุ่มล้ง ซึ่งปัจจัยดังกล่าวจะส่งผลกระทบต่อเกษตรกรและสถาบันเกษตรกรผู้ผลิตและแปรรูปทุเรียนในอนาคต และกรมส่งเสริมการเกษตรได้ตระหนักถึงปัญหาดังกล่าว จึงได้มีนโยบายการส่งเสริมการเกษตรในรูปแบบระบบส่งเสริมเกษตรแบบใหญ่ เป็นการดำเนินงานที่เน้นการรวมกลุ่มของเกษตรกรรายย่อยในพื้นที่ วางแผนการผลิตให้สอดคล้องกับความต้องการของตลาด ตามนโยบายการตลาดนำการผลิต สร้างเสถียรภาพของราคาสินค้าเกษตร ได้อย่างมั่นคงในอนาคตตามแผนปฏิรูปการเกษตร ดังนั้น จึงจัดทำโครงการเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการทุเรียนให้มีคุณภาพเพื่อการค้า (Quick Win ปี 2564) เพื่อพัฒนาความเข้มแข็งให้กับเกษตรกรและสถาบันเกษตรกรผู้ผลิตและแปรรูปทุเรียน เพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการควบคุมคุณภาพทุเรียนเพื่อการค้า สร้างมูลค่าเพิ่ม ของทุเรียนผลสดและผลิตภัณฑ์แปรรูปจากทุเรียนให้ตรงกับความต้องการของตลาดและส่งเสริมการบริโภคทุเรียนคุณภาพ และผลิตภัณฑ์แปรรูปจากทุเรียน สำนักงานส่งเสริมและพัฒนาการเกษตรที่ 5 จังหวัดสงขลา ในฐานะเป็นหน่วยงานที่มีภารกิจหลักในการส่งเสริมและพัฒนาการผลิตสินค้าเกษตรให้มีคุณภาพและได้มาตรฐาน ทำให้เกษตรกรมีความเข้มแข็งและมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น ส่วนทุเรียนนอกฤดูจะเริ่มเก็บเกี่ยวได้ช่วงกลางเดือนธันวาคมเป็นต้นไป และร่วมหารือประเด็นปุ๋ยเคมีราคาสูงขึ้นมาก ซึ่งเป็นไปตามกลไกราคาตลาด จึงแก้ไขปัญหาโดยเสนอให้เกษตรกรแปลงใหญ่ได้เข้าร่วมโครงการปุ๋ยของกระทรวงพาณิชย์และใช้ปุ๋ยตามค่าวิเคราะห์ดินเพื่อลดต้นทุนการใช้ปุ๋ยได้ และหาแนวทางการจำหน่ายแบบออนไลน์ให้ประสบผลสำเร็จ นายสุพิท จิตรภักดี ให้ข้อมูลเพิ่มเติมว่า ใน 14 จังหวัดภาคใต้ มีแปลงใหญ่ทุเรียนจำนวน 111 แปลง จังหวัดยะลามีจำนวนมากที่สุด 29 แปลง รองลงมา ได้แก่ จังหวัดชุมพร 24 แปลง และจังหวัดนครศรีธรรราช และจังหวัดสุราษฎร์ธานี จังหวัดละจำนวน 10 แปลง ทั้งนี้ สำนักงานส่งเสริมและพัฒนาการเกษตรที่ 5 จังหวัดสงขลา ได้ผลักดันให้จัดตั้งคณะทำงานเครือข่ายแปลงใหญ่ทุเรียนภาคใต้ เพื่อขับเคลื่อนให้แปลงใหญ่ทุเรียนผลิตทุเรียนภาคใต้มีประสิทธิภาพการบริหารจัดการควบคุมคุณภาพทุเรียนเพื่อการค้า สร้างมูลค่าเพิ่ม ของทุเรียนผลสดและผลิตภัณฑ์แปรรูปจากทุเรียนให้ตรงกับความต้องการของตลาด อ้างอิง : สทท.สงขลา