สงขลา เทศบาลสิงหนคร แจกทองและเครื่องใช้ไฟฟ้า หวังแรงจูงใจให้ปชช.ฉีดวัคซีนโควิดเข็มแรก วันที่ 7 พ.ย. 64 เทศบาลเมืองสิงหนครมี 3 ตำบลคือหัวเขา สทิงหม้อ ชิงโค 18 หมู่บ้าน ประชาชกรประมาณ 40,000 คน ก่อนนี้เคยเจอคลัสเตอร์โควิด ทั้งคลัสเตอร์โรงงานหรือชุมชน เคยเป็นพื้นที่ๆมีคนติดเชื้อโควิด-19 จำนวนมาก ประชาชนในเขตเทศบาลฉีดวัคซีนประมาณ 40 กว่าเปอร์เซ็นต์ . นายกกอง จันทร์สว่าง นายกเทศมนตรีเมืองสิงหนครให้เหตุผลว่า ประชาชนในเขตเทศบาลฉีดวัคซีนไม่ถึงครึ่งหนึ่ง เพราะวัคซีนยังมีจำกัด ประชาชนบางคนกลัวผลข้างเคียงและกลุ่มผู้สูงอายุหรือผู้ป่วยติดเตียงไม่สะดวกที่จะเดินทางไปฉีดวัคซีน ซึ่งโดยรวมมีประมาณ 10,000 คน เทศบาลเลยปรับแผนเชิงรุกมากขึ้นไม่ว่าการย้ายศูนย์กลางฉีดวัคซีนมาอยู่ที่ ร.ร.สงขลาวิทยาคม ซึ่งติดถนนสายหลัก และเทศบาลมีแผนร่วมกับสาธารณสุขจะจัดทีมฉีดวัคซีนในทุกตำบล ทุกหมู่บ้าน หรืออนาคตอาจจะมีมาตรการทางสังคมเพื่อให้ประชาชนฉีดวัคซีนให้มากที่สุด กิจกรรมที่เทศบาลสิงหนครหวังผลสร้างแรงจูงใจให้ประชาชนในเขตเทศบาลฉีดวัคซีน อีกทั้งสร้างสีสันให้กิจกรรมระดมฉีดวัคซีนของเทศบาล คือการจับสลากแจกรางวัลให้ประชาชนที่ฉีดวัคซีนเข็มแรกช่วงวันที่ 8-15 พ.ย. ซึ่งนายกกองบอกว่าเตรียมรางวัลไว้ทั้งสิ้น 41 รางวัล มีสร้อยคอทองคำหนึ่งสลึง […]

รองนายกรัฐมนตรี (ประวิตร) ลงพื้นที่จังหวัดสงขลา เร่งแก้ปัญหาน้ำท่วมและการกัดเซาะชายฝั่งบริเวณปากแม่น้ำเทพ วันที่ 7 พ.ย. 64 พลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี ในฐานะผู้อำนวยการกองอำนวยการน้ำแห่งชาติ (กอนช.) ลงพื้นที่จังหวัดสงขลา เพื่อติดตามแนวทางการบริหารจัดการน้ำ และแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของประชาชน จากปัญหาน้ำท่วม น้ำหลาก และปัญหาการกัดเซาะชายฝั่ง บริเวณปากแม่น้ำเทพา ต.ปากบาง อ.เทพา จ.สงขลา ซึ่งส่งผลกระทบต่อประชาชนในพื้นที่มาหลายสิบปี โอกาสนี้ นายภูริพัฒน์ ธีระกุลพิศุทธิ์ รองอธิบดีกรมเจ้าท่า ได้เสนอพิจารณาการดำเนินงานก่อสร้างกำแพงป้องกันการกัดเซาะริมตลิ่งแม่น้ำเทพา เพิ่มประสิทธิภาพการระบายน้ำ ลดปัญหาอุทกภัย ซึ่งหากได้รับการพิจารณาเห็นชอบ จะดำเนินงานระยะแรกในปีงบประมาณ 2565 โดยก่อสร้างกำแพงป้องกันการกัดเซาะพังทลายของตลิ่ง บริเวณบ้านคลองประดู่ หมู่ที่ 4 ความยาว 500 เมตร วงเงินไม่เกิน 90 ล้านบาท และจัดทำคำของบประมาณรายจ่าย ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 – 2568 วงเงินไม่เกิน 270 ล้านบาท เพื่อดำเนินงานได้อย่างต่อเนื่องและสามารถแก้ไขปัญหาได้ครอบคลุมพื้นที่เป้าหมาย รองนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ได้กำชับให้ สทนช. เป็นเจ้าภาพหลักบูรณาการหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการแก้ไขปัญหาอุทกภัยบริเวณลุ่มน้ำเทพาอย่างเป็นระบบ รวมถึงประชาสัมพันธ์ผลการดำเนินงานให้ประชาชนได้รับรู้อย่างต่อเนื่อง เพื่อให้เกิดการยอมรับและมีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาเรื่องน้ำได้ตรงกับความต้องการของพื้นที่ โดยที่ผ่านมาในพื้นที่ จ.สงขลา มักประสบปัญหาน้ำท่วมในบริเวณพื้นที่ราบลุ่มริมน้ำ และเกิดการรุกตัวของน้ำเค็มเข้ามาในทะเลสาบสงขลา จึงมอบหมายให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องบูรณาการความร่วมมือในการแก้ไขปัญหา บรรเทาความเดือดร้อนของประชาชน ทั้งในระยะสั้นและระยะยาว อ้างอิง : สวท.สงขลา

พื้นที่ 7 จังหวัดภาคใต้เฝ้าระวังพื้นที่เสี่ยงน้ำหลาก ดินถล่ม และน้ำล้นอ่างเก็บน้ำ ช่วงวันที่ 7 – 13 พ.ย.นี้ วันที่ 7 พ.ย. 64  กองอำนวยการน้ำแห่งชาติ (กอนช.) ได้ออกประกาศเฝ้าระวังพื้นที่เสี่ยงน้ำหลาก ดินถล่ม และน้ำล้นอ่างเก็บน้ำ ฉบับที่ 27 หลังกรมอุตุนิยมวิทยาได้คาดการณ์ช่วงวันที่ 7 – 13 พฤศจิกายนบริเวณความกดอากาศสูงกำลังแรงจากประเทศจีนจะแผ่ลงมาปกคลุมประเทศไทยตอนบน ทำให้บริเวณประเทศไทยตอนบนมีฝนฟ้าคะนองเกิดขึ้นในระยะแรก จากนั้นจะมีอากาศเย็นถึงหนาวกับมีลมแรง สำหรับมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือที่พัดปกคลุมอ่าวไทยและภาคใต้จะมีกำลังแรงขึ้น ทำให้ภาคใต้มีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่ง จึงขอให้ประชาชนบริเวณภาคใต้ระวังอันตรายจากฝนที่ตกหนัก อาจทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลากได้ เบื้องต้น  กอนช.ได้ประเมินและวิเคราะห์สถานการณ์น้ำจากฝนคาดการณ์ (ONE MAP) ของกรมอุตุนิยมวิทยาและสถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำ (องค์การมหาชน) พบมีพื้นที่เฝ้าระวังช่วงวันที่ 7 – 13 พฤศจิกายน คือ เฝ้าระวังน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลากบริเวณที่ลาดเชิงเขาในจังหวัด นครศรีธรรมราช สตูล พัทลุง สงขลา ปัตตานี ยะลา และนราธิวาส // เฝ้าระวังระดับน้ำในอ่างเก็บน้ำขนาดกลางที่มีปริมาณน้ำมากกว่าร้อยละ 80 แล้วมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นเสี่ยงน้ำล้นกระทบพื้นที่ลุ่มต่ำบริเวณท้ายอ่างเก็บน้ำบริเวณจังหวัดสุราษฎร์ธานี กระบี่ ระนอง และภูเก็ต  พร้อมเฝ้าระวังระดับน้ำเพิ่มขึ้นในพื้นที่ลุ่มต่ำบริเวณแม่น้ำตาปี อำเภอพระแสง อำเภอพุนพิน และอำเภอเมืองสุราษฎร์ธานี จังหวัดสุราษฎร์ธานี , บริเวณคลองท่าดี อำเภอลานสกา อำเภอพระพรหม และอำเภอเมืองนครศรีธรรมราช และคลองชะอวด ตำบลการะเกด อำเภอเชียรใหญ่ จังหวัดนครศรีธรรมราช , ทะเลสาบสงขลา อำเภอสิงหนคร จังหวัดสงขลา , แม่น้ำปัตตานี อำเภอเมืองยะลา จังหวัดยะลา และอำเภอเมืองปัตตานี จังหวัดปัตตานี และแม่น้ำโก-ลก อำเภอสุไหงโก-ลก จังหวัดนราธิวาส อ้างอิง : กองอำนวยการน้ำแห่งชาติ  

สงขลา พบผู้ป่วยโควิด 497 คน รวมผู้ป่วยโควิดระลอกเดือน เม.ย. สะสม 49,031 คน วันที่ 4 พ.ย. 64 จังหวัดสงขลาพบผู้ป่วยยืนยันติดเชื้อเพิ่ม 497 ราย มีรายละเอียดผู้ติดเชื้อ ดังนี้ ขอให้พี่น้องชาวสงขลาร่วมด้วยช่วยกัน การ์ดไม่ตก สวมหน้ากากอนามัยทุกครั้งเมื่ออกจากบ้าน และหมั่นล้างมือทำความสะอาดบ่อย ๆ หลีกเลี่ยงสถานที่ที่มีคนจำนวนมาก พร้อมปฏิบัติตามมาตรการป้องกันตามที่สาธารณสุขกำหนดอย่างเต็มที่ และปฏิบัติตามมาตรการ D-M-H-T-T อย่างเคร่งครัด เพื่อรับมือโควิด-19 ระลอกใหม่นี้ HATYAITODAYNEWS อ้างอิง : ผู้ว่าราชการจังหวัดสงขลา

สงขลา ฉีดวัคซีนใกล้ครบตามเป้าร้อยละ 70 รพ.ส่วนใหญ่เปิด Wall In ฉีดวัคซีนไฟเซอร์เข็มที่ 1 และเข็มที่ 3 วันที่ 4 พ.ย. 64 จังหวัดสงขลา ยังมีการฉีดวัคซีนโควิด -19 ให้กับประชาชนอย่างต่อเนื่อง ทั้งโครงการ มหกรรม หาดใหญ่ ปลอดภัย 9 วันแสนโดส ของสาธารณสุขอำเภอหาดใหญ่ และการเปิดลงทะเบียนรับวัคซีนของผู้ที่อาศัยอยู่ในเขตเทศบาลนครหาดใหญ่ ของเทศบาลนครหาดใหญ่ ระหว่างวันที่ 28 ตุลาคม – 5 พฤศจิกายน 2564             นอกจากนี้ โรงพยาบาลสงขลา ยังได้ออกประกาศให้ผู้ที่ไม่เคยรับวัคซีนโควิด -19 เข็มที่ 1 และผู้ที่ฉีดวัคซีนซิโนแวค 2 เข็ม ก่อนวันที่ 1 สิงหาคม 2564 ให้มาลงทะเบียนและฉีดวัคซีนไฟเซอร์เข็มที่ 1 หรือเข็มที่ 3 ที่ศูนย์บริบาลผู้สูงอายุ องค์การบริหารส่วนจังหวัดสงขลา ทุกวัน ยกเว้นวันเสาร์ เวลา 08.00 น. -15.00 น. โดยเตรียมสำเนาบัตรประจำตัวประชาชนมาในวันลงทะเบียนและฉีดวัคซีน             ขณะที่โรงพยาบาลหาดใหญ่ ได้ประกาศให้ประชาชนสามารถเดินทางมารับคิวฉีดหน้างาน (วอล์กอิน) สำหรับวัคซีนไฟเซอร์ เข็มที่ 1 จำนวน 500 คนต่อวัน ในวันที่ 2-5 พ.ย. เวลา 10.30-14.00 น. ที่สนามกีฬาจิระนคร (สนามกลาง) เขตเทศบาลนครหาดใหญ่ โดยต้องเป็นผู้ที่มีภูมิลำเนาหรือทำงานในจังหวัดสงขลาเท่านั้น และยังได้ออกประกาศให้ผู้ที่ได้รับวัคซีนซิโนแวค 2 เข็ม จากโรงพยาบาลหาดใหญ่ ก่อนวันที่ 31 กรกฎาคม 2564 สามารถรับวัคซีนเข็มที่ 3 เป็นไฟเซอร์ ในวันที่ 3-5 พฤศจิกายน 2564 เวลา 10.00-14.00 น. ที่สนามกีฬาจิระนครและศูนย์การค้าเซ็นทรัลเฟสติวัลหาดใหญ่ จำนวน 600 คิวต่อวัน โดยให้นำบัตรประจำตัวประชาชนและหลักฐานการได้รับวัคซีนซิโนแวคมาแสดงด้วย  ส่วนโรงพยาบาลสงขลานครินทร์ ประชาชนสามามารถเดินทางมารับบัตรนัดเพื่อฉีดวัคซีนเข็มที่ 1 ไฟเซอร์ ได้ที่ศูนย์กีฬาและสุขภาพ ภายในมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ตั้งแต่วันที่วันที่ 1-5 พ.ย. เวลา 10.00 – 14.00 น. ส่วนผู้ที่ได้รับวัคซีนซิโนแวคครบ 2 เข็ม ก่อนวันที่ 30 กันยายน 2564 สามารถมารับวัคซีนเข็มที่ 3 เป็นแอสตร้าเซนเนก้า ในช่วงวันที่ 2-5 พฤศจิกายน 2564 เวลา 08.00-15.00 น. ที่ศูนย์กีฬาและสุขภาพ ภายในมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ซึ่งทุกคนสามารถเข้ารับวัคซีนได้ไม่จำเป็นว่าต้องเคยได้รับวัคซีนที่โรงพยาบาลสงขลานครินทร์ สำหรับวัคซีนเข็มที่ 3 ที่เป็นไฟเซอร์ ให้รอติดตามประกาศต่อไป            สำหรับผลการฉีดวัคซีนโควิด – 19 ของจังหวัดสงขลา ข้อมูล ณ วันที่ 3 พฤศจิกายน 2564 ฉีดวัคซีนเข็มที่ 1 ไปแล้ว 1,010,389 คน คิดเป็นร้อยละ 67.93 จากกลุ่มเป้าหมายในจังหวัดทั้งหมด 1,487,320 คน ส่วนวัคซีนเข็มที่ 2 ฉีดไปแล้ว 629,665 คน คิดเป็นร้อยละ 42.34 และวัคซีนเข็มที่ 3 ฉัดไปแล้ว 38,021 คน คิดเป็นร้อยละ 2.56 อ้างอิง : สวท.สงขลา

อบจ.สงขลา เร่งแก้ไขปัญหาน้ำท่วมขังชุมชนหลักว้า ต.ควนลัง อ.หาดใหญ่ วันที่ 4 พ.ย. 64 นายนิพัฒน์ อุดมอักษร เลขานุการนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดสงขลา รับมอบหมายจากนายไพเจน มากสุวรรณ์ นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดสงขลา ลงพื้นที่ชุมชนหลักว้า ซอยท่าเคียน 2 หมู่ 1 ตำบลควนลัง อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา พร้อมด้วย นายอาซีด หลำเบ็นสะ สจ.เขต 9 โดยมี สท.เขต จากเทศบาลเมืองควนลัง และ เจ้าหน้าที่กองช่าง เจ้าหน้าที่ฝ่ายโยธา ร่วมลงสำรวจพื้นที่ในครั้งนี้ได้ด้วย                 ชุมชนหลักว้า เป็นพื้นที่สภาพดั้งเดิมที่ถูกน้ำท่วมขัง ทำให้ประชาชนในพื้นที่ได้รับความเดือดร้อนเนื่องจากไม่สามารถระบายน้ำออกไปได้ จึงได้แจ้งขอรับการสนับสนุนเครื่องสูบน้ำจากทาง องค์การบริหารส่วนจังหวัดสงขลา เพื่อทำการสูบน้ำออกไปจากชุมชนก่อน เป็นเบื้องต้น     อย่างไรก็ตาม องค์การบริหารส่วนจังหวัดสงขลาจะมีการประสานกับทางเทศบาลเมืองควนลังอีกครั้ง เพื่อนำเครื่องสูบน้ำลงพื้นช่วยเหลือชุมชนต่อไป พร้อมกันนี้ยังได้หาแนวทางร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ร่วมกันช่วยเหลือชุมชนหลักว้า ตำบลควนลัง อำเภอหาดใหญ่ ในการป้องกันไม่ให้เกิดน้ำท่วมขังอีกต่อไป อ้างอิง : องค์การบริหารส่วนจังหวัดสงขลา