สคร.12 สงขลาเน้นย้ำ ปชช.เลี่ยงสัมผัสดินและน้ำเมื่อมีบาดแผล โรคเมลิออยโดสิสเสี่ยงอันตรายต่อชีวิต   โรคเมลิออยโดสิส (Melioidosis) เป็นโรคติดเชื้อที่เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย เบอร์โคเดอเรียสูโดมัลลิอาย (Burkholderia pseudomallei) ซึ่งพบได้ทั่วไปในดินและน้ำ นาข้าว ท้องไร่ แปลงผัก สวนยาง ทั่วทุกภาคในประเทศไทย พบมากในช่วงฤดูฝน (ตุลาคม – ธันวาคม) โดยผู้ป่วยมักรับเชื้อที่อยู่ในดินและน้ำ สามารถติดต่อได้ 3 ทาง คือ 1.ผ่านทางบาดแผลบนผิวหนัง 2.หายใจเอาฝุ่นจากดินหรือน้ำที่มีเชื้อเจือปนอยู่เข้าไป 3.ดื่มหรือกินอาหารที่ปนเปื้อนเชื้อเข้าไป และพบว่าระยะฟักตัวของเชื้อ คือ 1-21 วัน บางรายอาจนานเป็นปี ผู้ป่วยมักมีอาการไข้เป็นเวลานานโดยไม่ทราบสาเหตุ มีเนื้อตาย แผล ฝี หนองที่ปอด ตับ ม้าม แผลอักเสบเรื้อรัง อาจทำให้เกิดการติดเชื้อในกระแสเลือดโดยผู้ป่วยจะมีอาการรุนแรงและเสียชีวิตได้อย่างรวดเร็ว             สำหรับผู้ที่มีความเสี่ยงต่อโรคนี้ส่วนใหญ่ คือ ผู้ที่มีอาชีพที่ต้องสัมผัสดินและน้ำโดยตรง เช่น เกษตรกรและประมง โดยเฉพาะผู้ที่ป่วยด้วยโรคเรื้อรัง โรคเบาหวาน หรือโรคติดสุราเรื้อรัง ผู้ติดเชื้อจะมี อาการหลากหลายจนถึงไม่มีอาการ คล้ายป่วยเป็นไข้ บางรายมีอาการคล้ายวัณโรค อาการสำคัญคือ ติดเชื้อในกระแสเลือดทั้งแบบเฉียบพลัน และเรื้อรัง              นายแพทย์เฉลิมพล โอสถพรมมา ผู้อำนวยการสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 12 จังหวัดสงขลา  กล่าวถึงสถานการณ์โรคเมลิออยโดสิสในเขตสุขภาพที่ 12 ข้อมูลจาก รง.506 กองระบาดวิทยา ระหว่างวันที่ 1 มกราคม 2564 ถึงวันที่ 7 สิงหาคม 2564 พบผู้ป่วยโรคเมลิออยโดสิส จำนวนทั้งสิ้น 12 ราย เสียชีวิต 1 ราย (จังหวัดสงขลา) สูงสุดในจังหวัดพัทลุง จำนวน 7 ราย, จังหวัดสงขลา จำนวน 4 ราย และจังหวัดปัตตานี จำนวน 1 ราย พบผู้ป่วยเพศชายมากกว่าเพศหญิง โดยพบเพศชาย 8 ราย เพศหญิง 4 ราย กลุ่มอายุที่พบสูงสุดคือกลุ่มอายุ 55 – 64 ปี รองลงมาคือ กลุ่มอายุ 65 ปี ขึ้นไป และกลุ่มอายุ 25 – 34 ปี อาชีพที่พบผู้ป่วยสูงสุด คือ อาชีพเกษตรกรรม ร้อยละ 50 รองลงมาคือ อาชีพงานบ้าน และอาชีพรับจ้าง ร้อยละ 16.67             และ จากการสำรวจข้อมูลความรู้และพฤติกรรมของผู้ป่วยคลินิกโรคเบาหวานของโรงพยาบาลในจังหวัดสงขลา (6 โรงพยาบาล)จำนวน 144 คน ช่วงเดือนธันวาคม 2563 พบว่า ผู้ป่วยโรคเบาหวานทุกคนที่ตอบแบบสำรวจ ไม่เคยได้ยินชื่อโรคเมลิออยโดสิส  และไม่รับรู้ถึงโอกาสเสี่ยง ความรุนแรงของโรคเมลิออยโดสิส เช่น ร้อยละ 90.28 ไม่ทราบว่าโรคเมลิออยโดสิส ถ้าป่วยทำให้เสียชีวิตได้, ร้อยละ 77.78 ไม่ทราบว่าผู้ป่วยโรคเบาหวาน อาการของโรคมีความรุนแรงกว่าคนปกติ ส่วนด้านการปฏิบัติตัว พบว่ามีการปฏิบัติตัวถูกต้องค่อนข้างต่ำ เช่น ขณะทำงานหรือกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับดิน ไม่สวมถุงมือ ร้อยละ 43.75, ไม่ใช้ผ้าปิดจมูก ขณะทำงานหรือกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับดิน ร้อยละ 47.22             สคร.12 สงขลา ขอแนะนำวิธีการป้องกันโรคเมลิออยโดสิส ได้แก่ 1.ผู้ที่มีบาดแผลให้หลีกเลี่ยงการเดินลุยน้ำย่ำโคลนหรือสัมผัสดินและน้ำโดยตรง หากจำเป็นขอให้สวมรองเท้าบูท ถุงมือยาง กางเกงขายาวหรือชุดลุยน้ำและรีบทำความสะอาดร่างกายด้วยน้ำสะอาดและสบู่ 2.หากมีบาดแผลที่ผิวหนัง ควรรีบทำความสะอาดด้วยยาฆ่าเชื้อ และหลีกเลี่ยงการสัมผัสดินและน้ำจนกว่าแผลจะแห้งสนิท 3.ทานอาหารปรุงสุก ดื่มน้ำต้มสุก 4.หลีกเลี่ยงการสัมผัสลมฝุ่น และการอยู่ท่ามกลางสายฝน หากมีข้อสงสัย สามารถสอบถามเพิ่มเติมได้ที่สายด่วนกรมควบคุมโรค โทร.1422 อ้างอิง : สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 12 จังหวัดสงขลา

หาดใหญ่ ปชช.บริเวณรอบๆโรงแรมหรรษาเจบีเห็นชอบ ให้จัดตั้งศูนย์พักคอย Community Isolation (Ci) วันที่ 11 ส.ค. 64 ประชาชนบริเวณรอบๆโรงแรมหรรษาเจบี เข้าร่วมรับฟังและแสดงความคิดเห็น พร้อมกับมีมติเสียงส่วนใหญ่…ผ่าน เห็นชอบ ให้จัดตั้งศูนย์พักคอย Community Isolation (Ci) ได้ ในการประชุมประชาคมเพื่อจัดทำศูนย์พักคอย ณ โรงแรมหรรษาเจบี ครั้งที่ 2 โดยศูนย์พักคอย หรือ Community Isolation จะเป็นเพียงสถานที่ให้ผู้ป่วยโควิดระดับสีเขียวอยู่ระหว่างการรอส่งต่อโรงพยาบาลสนามหรือโรงพยาบาลหลัก ใช้เป็นสถานที่สำหรับดูแลรักษาเบื้องต้นระหว่างรอเตียง ซึ่ง กทม.จะจัดตั้งให้มากที่สุดทุกเขตทั่วพื้นที่ อ้างอิง : เทศบาลนครหาดใหญ่

วัคซีนซิโนฟาร์มจำนวน 16,000 โดส ของเทศบาลนครหาดใหญ่เดินทางมาถึงโรงพยาบาลหาดใหญ่แล้ว วันที่ 10 ส.ค. 64 พล.ต.ท.สาคร ทองมุณี นายกเทศมนตรีนครหาดใหญ่ ร่วมกับ นพ.พีระพงษ์ ภาวสุทธิไพศิฐ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลหาดใหญ่ พร้อมด้วยรองผู้อำนวยการโรงพยาบาลหาดใหญ่ และเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง รับมอบวัคซีนทางเลือกซิโนฟาร์ม ที่ทางเทศบาลนครหาดใหญ่ได้รับจัดสรรจากทางราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ โดยวัคซีนจะถูกเก็บรักษาไว้ ณ โรงพยาบาลหาดใหญ่ และพร้อมฉีดวัคซีนเข็มแรกให้ชาวหาดใหญ่ ในวันที่ 12,14 และ 15 ส.ค. 64 เวลา 09.00 น. – 16.40 น. ณ สนามกีฬากลางจิระนคร และห้างสรรพสินค้าเซ็นทรัลเฟสติวัล หาดใหญ่ อ้างอิง : เทศบาลนครหาดใหญ่

บุคลากรทางการแพทย์ด่านหน้าโรงพยาบาลสงขลา เข้ารับการฉีดวัคซีนไฟเซอร์ เข็มที่ 3 วันที่ 10 ส.ค. 64 เป็นวันที่ 2 ของการฉีดวัคซีนป้องกันโควิด-19 ชนิดไฟเซอร์ บูสเตอร์โดส เข็มที่ 3 ให้กับแพทย์ พยาบาล บุคลากรด่านหน้า รวมทั้ง กลุ่มผู้ที่ต้องสัมผัสกับผู้ป่วยโควิด-19 ของโรงพยาบาลสงขลา ที่ลงทะเบียนแจ้งความประสงค์ไว้ จำนวน 250 คน หลังจากเมื่อวานนี้ 9 ส.ค. 64ได้เริ่มทดลองระบบและทยอยฉีดให้บุคลากรด่านหน้าไปแล้วจำนวน 60 คน.นายแพทย์ศราวิน สาครินทร์ รองผู้อำนวยการฝ่ายการแพทย์อาวุโส โรงพยาบาลสงขลา เปิดเผยว่า โรงพยาบาลฯได้รับวัคซีนไฟเซอร์ เพื่อนำมาฉีดให้กับบุคลากรทางการแพทย์ และเจ้าหน้าที่ด่านหน้า ที่มีโอกาสสัมผัสผู้ป่วยติดเชื้อโควิด-19 จำนวน 600 คน แบ่งเป็น 4 กลุ่ม ประกอบด้วย กลุ่มแรก คือ กลุ่มบูสเตอร์โดสวัคซีนไฟเซอร์ เข็มที่ […]

สงขลา พบผู้ป่วยโควิด 174 คน รวมผู้ป่วยโควิดระลอกเดือน เม.ย. สะสม 13,486 คน วันที่ 10 ส.ค. 64 จังหวัดสงขลาพบผู้ป่วยยืนยันติดเชื้อเพิ่ม 174 ราย มีรายละเอียดผู้ติดเชื้อ ดังนี้ 1.ผู้ป่วยจากการตรวจคัดกรองเชิงรุกในกลุ่มพนักงานโรงงานอุตสาหกรรม 6 แห่ง (ศรีตรังโกลฟส์,โชติวัฒน์อุตสาหกรรม,ซีเวลท์,เมอร์กาโต้,เซฟสกิน,สงขลาแคนนิ่ง) และผู้สัมผัส รวมจำนวน 17 ราย (พนักงานรายใหม่ 12 ราย / ผู้สัมผัส 5 ราย) 2.ผู้ป่วยจากการตรวจคัดกรองกลุ่มเสี่ยงใน บริษัท/ร้านค้า/ห้างร้าน รวมจำนวน 15 ราย 3.ผู้ป่วยเดินทางมาจากต่างจังหวัด และผู้สัมผัส (มาจาก กทม. 3 ราย / ปัตตานี 1 ราย , ผู้ป่วยจากพัทลุงมารักษาสงขลา […]

ผู้ประกันตน ม.33 ที่ไม่ได้รับเงินเยียวยารอบแรก ไม่ต้องกังวล 13 ส.ค.นี้ โอนเงินอีกรอบ วันที่ 10 ส.ค. 64 นางเธียรรัตน์ นะวะมะวัฒน์ โฆษกกระทรวงแรงงาน (ฝ่ายการเมือง) เปิดเผยถึง โครงการเยียวยานายจ้างและผู้ประกันตนมาตรา 33 ในกิจการที่ได้รับผลกระทบจากมาตรการของรัฐในพื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวด ตามที่ ครม. มีมติอนุมัติมาตรการเยียวยาในกลุ่มแรงงานที่ได้รับผลกระทบจากประกาศ “เคอร์ฟิว” และ “ล็อกดาวน์” เริ่มจ่ายเงินรอบแรกไปแล้วเมื่อวันที่ 4-6 ส.ค. 64 วันละ 1 ล้านคน โดยโอนเงินเข้าบัญชีพร้อมเพย์เลขบัตรประชาชนผู้ประกันตนมาตรา 33 ใน 9 ประเภทกิจการ พื้นที่ 10 จังหวัด กรุงเทพมหานคร นครปฐม นนทบุรี ปทุมธานี สมุทรปราการ สมุทรสาคร ปัตตานี ยะลา นราธิวาส และสงขลา […]