สงขลา กรมชลประทานเตือนฝนตกหนัก 23-25 พ.ย.นี้ เฝ้าระวังน้ำล้นตลิ่งในพื้นที่ วันที่ 21 พ.ย. 64 นายประพิศ จันทร์มา อธิบดีกรมชลประทาน เปิดเผยว่า ศูนย์บริหารจัดการน้ำส่วนหน้าในพื้นที่ภาคใต้ กองอำนวยการน้ำแห่งชาติ ได้ประเมินและวิเคราะห์สถานการณ์น้ำจากฝนคาดการณ์ (ONE MAP) ของกรมอุตุนิยมวิทยาและสถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำ (องค์การมหาชน) และข้อมูลฝนที่ตกลงมาในพื้นที่ รวมทั้งพื้นที่เคยเกิดน้ำหลากและน้ำล้นตลิ่งในช่วงที่ผ่านมา พบว่ามีพื้นที่เสี่ยงเฝ้าระวังน้ำหลาก ดินถล่ม ในช่วงวันที่ 23 – 25 พฤศจิกายน นี้ บริเวณจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ชุมพร สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช พัทลุง สงขลา ระนอง ตรัง และสตูล พร้อมกับเฝ้าระวังอ่างเก็บน้ำขนาดกลางที่มีปริมาณน้ำมากกว่าร้อยละ 80 และมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น เสี่ยงน้ำล้นกระทบพื้นที่บริเวณท้ายอ่างเก็บน้ำในภาคใต้ เพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมรับมือ ได้สั่งการให้ สำนักงานชลประทานที่ 14 – 17 คอยติดตามสภาพอากาศและสภาพน้ำอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะพื้นที่ที่มีฝนตกสะสมมากกว่า 90 มิลลิเมตร ในช่วงเวลา 24 ชั่วโมง และพื้นที่จุดเสี่ยงที่เคยเกิดน้ำท่วมอยู่เป็นประจำ ทั้งนี้ หากในพื้นที่เกิดสถานการณ์น้ำหลาก ขอให้แจ้งข้อมูลกลับในกลุ่มไลน์เครือข่ายศูนย์บริหารจัดการน้ำส่วนหน้าในพื้นที่ภาคใต้ เพื่อจะได้ดำเนินการเข้าไปให้ความช่วยเหลือต่อไป และปรับแผนบริหารจัดการน้ำในแหล่งน้ำที่มีปริมาณน้ำมากกว่าร้อยละ 80 หรือเกณฑ์ควบคุมสูงสุด ให้เหมาะสมและสอดคล้องกับสถานการณ์น้ำ พร้อมพิจารณาบริหารจัดการเขื่อนระบายน้ำและประตูระบายน้ำ เพื่อพร่องน้ำและเร่งระบายน้ำในลำน้ำ แม่น้ำ ให้สอดคล้องกับการขึ้น – ลงของระดับน้ำทะเล รวมทั้งใช้พื้นที่ลุ่มต่ำเป็นแก้มลิงหน่วงน้ำและรองรับน้ำหลาก อย่างไรก็ตาม จากฝนที่ตกหนักต่อเนื่องทางภาคใต้ ส่งผลให้เกิดน้ำท่วมในหลายพื้นที่ กรมชลประทานได้เตรียมแผนรับสถานการณ์น้ำหลาก อาทิ เตรียมความพร้อมบุคลากร เครื่องจักรเครื่องมือ รวมถึงความพร้อมของระบบสื่อสารสำรอง เพื่อบูรณาการความพร้อมให้ความช่วยเหลือและบรรเทาผลกระทบต่อประชาชนได้ทันที โดยการขุดเปิดทางระบายน้ำให้สามารถไหลได้ดีขึ้น รวมทั้งติดตั้งเครื่องจักร เครื่องมือต่างๆเพื่อช่วยเหลือพื้นที่น้ำท่วม อ้างอิง : กองอำนวยการน้ำแห่งชาติ , กรมชลประทาน
Newstoday
สงขลา พบผู้ป่วยโควิด 592คน รวมผู้ป่วยโควิดระลอกเดือน เม.ย. สะสม 55,678 คน วันที่ 18 พ.ย. 64 จังหวัดสงขลาพบผู้ป่วยยืนยันติดเชื้อเพิ่ม 592ราย มีรายละเอียดผู้ติดเชื้อ ดังนี้ แผนที่แสดงการพบผู้ติดเชื้อ COVID-19 รายวันจังหวัดสงขลา ประจำวันที่ 18 พฤศจิกายน 2564 ขอให้พี่น้องชาวสงขลาร่วมด้วยช่วยกัน การ์ดไม่ตก สวมหน้ากากอนามัยทุกครั้งเมื่ออกจากบ้าน และหมั่นล้างมือทำความสะอาดบ่อย ๆ หลีกเลี่ยงสถานที่ที่มีคนจำนวนมาก พร้อมปฏิบัติตามมาตรการป้องกันตามที่สาธารณสุขกำหนดอย่างเต็มที่ และปฏิบัติตามมาตรการ D-M-H-T-T อย่างเคร่งครัด เพื่อรับมือโควิด-19 ระลอกใหม่นี้ HATYAITODAYNEWS อ้างอิง : ผู้ว่าราชการจังหวัดสงขลา
สงขลา นิพนธ์สั่งปภ.ติดตั้งเครื่องสูบน้ำ เร่งระบายน้ำท่วมขังบ้านเรือนปชช.พื้นที่ลงระโนด วันที่ 18 พ.ย. 64 นายนิพนธ์ บุญญามณี รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย ลงพื้นที่ติดตามสถานการณ์น้ำและการติดตั้งเครื่องสูบน้ำของกรมชลประทาน และกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.)เพื่อเร่งระบายน้ำในพื้นที่อำเภอระโนด จังหวัดสงขลา นายนิพนธ์ เผยว่า จากสถานการณ์ฝนตกหนักอย่างต่อเนื่อง ทำให้น้ำท่วมบ้านเรือนประชาชนในพื้นที่อำเภอระโนดได้รับผลกระทบจากการไหลผ่านของปริมาณน้ำที่มาจากจังหวัดพัทลุง นครศรีธรรมราช ลงสู่ทะเลสาบสงขลา ส่งผลให้การระบายน้ำไม่ทัน ทำให้น้ำล้นเข้าท่วมคาบสมุทรสทิงพระที่ครอบคลุมทั้ง 4 อำเภอของสงขลา จึงได้สั่งการถึงสำนักงาน ปภ.สงขลา ศูนย์กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย เขต 12 พร้อมประสานกรมชลประทาน ระดมติดตั้งเครื่องสูบน้ำในพื้นที่ เพื่อเร่งระบายน้ำออกจากพื้นที่ลุ่มต่ำลงสู่ทะเลสาบสงขลา รวมติดตั้งเครื่องสูบน้ำขนาด 14 นิ้ว จำนวน 2 เครื่อง และโครงการชลประทาน สนับสนุนติดตั้งเครื่องสูบน้ำ ขนาด 8 นิ้วอีก 3 เครื่อง เพื่อเร่งระบายน้ำออกจากพื้นที่การเกษตรและชุมชน ลงสู่คลองอาทิตย์ คาดการณ์ว่า หากไม่มีฝนตกเพิ่มในพื้นที่สถานการณ์จะคลี่คลายเข้าสู่ภาวะปกติได้ภายใน 1-3 […]
เทศบาลหาดใหญ่ เข้าซ่อมแซมถนนทรุดตัวบริเวณถนนเพชรเกษมแล้ว วันที่ 18 พ.ย. 64 พล.ต.ท.สาคร ทองมุณี นายกเทศมนตรีนครหาดใหญ่ มอบหมาย นายเจษฎาพงศ์ ชูแก้ว รองนายกเทศมนตรีนครหาดใหญ่ สมาชิกสภาเทศบาล นายยุทธชัย เพชรรักษ์ ผู้อำนวยการสำนักช่าง นายสง่า กลิ่นหอม ผู้อำนวยการส่วนการโยธา พร้อมด้วยเจ้าหน้าที่งานบำรุงรักษาทางและสะพานฝ่ายสาธารณูปโภคส่วนการโยธาสำนักช่าง เข้าดำเนินการซ่อมแซม เพื่อให้ประชาชนในพื้นที่สามารถสัญจรไปมาได้อย่างสะดวกยิ่งขึ้น อ้างอิง : เทศบาลนครหาดใหญ่
ม.อ.หาดใหญ่ รวมกับคาเฟ่อเมซอน ศึกษาผลิตภัณฑ์ต้นแบบจากยางธรรมชาติ สร้างรายได้สู่ชุมชน วันที่ 18 พ.ย. 64 มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ส่งมอบเฟอร์นิเจอร์หวายเทียมจากงานวิจัย แก่คาเฟ่อเมซอน โออาร์ ซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์ต้นแบบจากการศึกษาแนวทางการ upcycling พลาสติกเหลือทิ้งผสมร่วมกับยางพารา โดยใช้องค์ความรู้งานวิจัยของ ดร. ณัฐพนธ์ อุทัยพันธุ์ และ ดร.กานดา เซ่งลอยเลื่อน ภายใต้แนวคิด นวัตกรรมเพื่อสิ่งแวดล้อม “ยางธรรมชาติเทอร์โมพลาสติก” เพื่อผลิตเป็นวัสดุจักรสานสำหรับเฟอร์นิเจอร์จากยางธรรมชาติเทอร์มพลาสติก ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.เถกิง วงศ์ศิริโชติ รองอธิการบดีฝ่ายวิเทศสัมพันธ์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ กล่าวว่า สำหรับผลิตภัณฑ์ต้นแบบนี้ นักวิจัย ม.อ. ได้ร่วมหาแนวทางการลดขยะโดยการขึ้นเป็นผลิตภัณฑ์ต้นแบบและร่วมทดลองใช้กับ คาเฟ่ อเมซอน โออาร์ โดยงานวิจัยนี้เป็นเทคโนโลยีการผลิตและแปรรูปใทอร์โมพลาสติกเหลือทิ้งผสมกับยางธรรมชาติให้เป็นเนื้อเดียวกันด้วยกระบวนการที่ไม่ซับช้อน วัสดุที่เตรียมได้สามารถแปรรูปได้เหมือนเทอร์โมพลาสติก คือใช้เวลาในการแปรรูปสั้นเพียงขั้นตอนเดียว มีความนิ่มคล้ายยาง ไม่สะสมความร้อน ใช้งานได้ทนทาน ออกแบบสีสันได้ตามต้องการ และไม่มีกลิ่นที่ไม่พึ่งประสงค์ สามารถใช้งานได้ทั้งในอาคารและพื้นที่กึ่งร่มกึ่งแจ้ง โดยส่วนหนึ่งของงบประมาณการสนับสนุนงานวิจัยนี้ได้รับการอุดหนุนจากการยางแห่งประเทศไทย ดร. ณัฐพนธ์ อุทัยพันธุ์ วิทยาลัยนานาชาติยางพาราไทย-จีน มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ กล่าวว่า วัสดุที่นำมาใช้สามารถตอบโจทย์ BCG นั่นคือ B – Bio based material วัสดุหลักที่ใช้ในการพัฒนาวัสดุชนิดนี้คือยางธรรมชาติ ซึ่งมีส่วนผสมอยู่ในต้นแบบผลิตภัณฑ์มากถึงร้อยละ 50 C – สามารถนำพลาสติกเหลือทิ้ง หมุนเวียนกลับมาใช้ใหม่ได้ และ – เป็น Zero waste วัสดุที่เตรียมสามารถนำกลับมา recycle ได้ 100% ทั้งนี้ ผลิตภัณฑ์ต้นแบบถือเป็นอีกหนึ่งโมเดลในการสร้างรายได้ให้กับชุมชนละงู จังหวัดสตูล และชุมชนควนลัง จังหวัดสงขลา ซึ่งผลิตภัณฑ์ที่ได้มาจากพลาสติกเหลือทิ้งและยางธรรมชาติ ผ่านการแปรรูป และส่งต่อไปยังชุมชน เพื่อผลิตเป็นต้นแบบการจักรสานก่อนส่งต่อไปประกอบเป็นเฟอร์นิเจอร์ต่อไป อ้างอิง : สวท.สงขลา , มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
สงขลา ศาลปกครองสูงสุดสั่งคุ้มครองชายหาดม่วงงาม เห็นพ้องให้ระงับโครงการก่อสร้างเขื่อนป้องกันตลิ่งริมทะเล วันที่ 18 พ.ย. 64 ศาลปกครองสงขลามีกำหนดนัดอ่านคำสั่งของศาลปกครองสูงสุด เกี่ยวกับคำสั่งวิธีการชั่วคราวก่อนการพิพากษา ก่อนหน้าที่ศาลปกครองชั้นต้นได้มีคำสั่งคุ้มครองชั่วคราว ทำให้โครงการก่อสร้างเขื่อนป้องกันตลิ่งริมทะเลหาดม่วงงาม โดยกรมโยธาธิการและผังเมืองถูกชะลอออกไป กรมโยธาธิการ จึงได้ร้องอุทธรณ์ต่อศาล เพื่อขอการดำเนินการโครงการต่อ แต่ศาลปกครองสงขลานัดอ่านคำสั่งศาลปกครองสูงสุด เห็นพ้องด้วยกับคำสั่งศาลปกครองสงขลาที่ให้ระงับการดำเนินโครงการก่อสร้างเขื่อนป้องกันตลิ่งริมทะเล หาดม่วงงามเป็นการชั่วคราวจนกว่าศาลจะพิพากษา โดยศาลเห็นว่า โครงการก่อสร้างเขื่อนป้องกันตลิ่งริมทะเลหาดม่วงงามนั้น มีการก่อสร้างลงไปในทะเล ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อสภาพแวดล้อมของชายหาดม่วงงาม อีกทั้งข้อเท็จจริงของผู้ฟ้องคดี และเทศบาลเมืองม่วงงามที่ยืนยันสภาพชายหาดม่วงงามนั้นมีการเปลี่ยนแปลงตามธรรมชาติ ไม่มีการกัดเซาะชายฝั่งรุนแรง เทศบาลเมืองม่วงงามมีมาตรการในการป้องกันชายหากัดเซาะชั่วคราวด้วยการปักไม้และวางกระสอบทราย และจากข้อเท็จในการก่อสร้างเขื่อนป้องกันตลิ่งริมทะเลหาดม่วงงามนั้น ก่อสร้างในเขตที่น้ำทะเลท่วมถึง ทำให้ส่งผลกระทบต่อชายหาด ศาลจึงเห็นว่าคำร้องของกรมโยธาธิการนั้น ไม่สมเหตุผลเพียงพอ ในการให้ดำเนินการต่อ ศาลปกครองสูงสุดจึงเห็นพ้องคำสั่งศาลปกครองสงขลาให้ระงับการดำเนินโครงการต่อไปจนกว่าศาลจะมีคำสั่งเป็นอื่นหรือมีคำพิพากษาถึงที่สุด อ้างอิง : Beach for life