เทศบาลนครหาดใหญ่ ตรวจเชิงรุกค้นหาผู้ป่วยโควิด-19 พบติดเชื้อเพิ่ม 84 ราย วันที่ 12 ต.ค. 64 พล.ต.ท.สาคร ทองมุณี นายกเทศมนตรีนครหาดใหญ่ มอบหมายให้นายภคนันท์ ประทุมชาติภักดี ประธานสภาเทสบาล นายนิยม พรรณราย รองประธานสภาเทศบาล นายมานพ เพ็งชุม เลขานุการนายกเทศมนตรี สมาชิกสภาเทศบาล เขต 3 เจ้าหน้าที่สำนักสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม อำนวยความสะดวกในการดำเนินการตรวจคัดกรอง ป้องกันการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 แก่ประชาชน ร่วมกับ “กลุ่มเส้นด้าย” โดยนายภูวกร ศรีเนียน ( เจตน์ ) ผู้ร่วมก่อตั้งเส้นด้าย พร้อมจิตอาสาที่เดินทางมาช่วยเหลือในการตรวจคัดกรองเชิงรุกในชุมชน และให้องค์ความรู้แก่ประชาชนเกี่ยวกับการดูแลตนเอง การป้องกัน และการปฏิบัติตัวหลังจากติดเชื้อในสถานที่ต่างๆ หลังจากที่รับทราบข่าวประชาชนในพื้นที่ของเทศบาลนครหาดใหญ่ มีผู้ติดเชื้อโควิด-19 เพิ่มขึ้นเป็นจำนวนมาก นอกจากนี้ทาง “กลุ่มเส้นด้าย”ได้จัดชุดเคลื่อนที่ออกไปตรวจในพื้นที่อีก 2 จุด ได้แก่ ถนนเทียนจ่ออุทิศ และถนนจันทร์ประทีป […]

1 พ.ย. 64 ไทยเปิดประเทศรับนักท่องเที่ยวโดยไม่ต้องกักตัว พร้อมจ่อเปิดสถานบันเทิง วันที่ 12 ต.ค. 64 พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม แถลงการณ์ผ่านโทรทัศน์รวมการเฉพาะกิจแห่งประเทศไทย ถึงเรื่องสำคัญอย่างการเปิดประเทศรับนักท่องเที่ยวโดยไม่ต้องกักตัว โดยสรุปสาระสำคัญได้ดังนี้ 1. ตั้งแต่วันที่ 1 พ.ย. 2564 เป็นต้นไป ประเทศไทยจะเริ่มเปิดรับการเดินทางเข้าประเทศไทยโดยไม่ต้องกักตัว สำหรับผู้ที่ฉีดวัคซีนครบโดสแล้วและเดินทางเข้าประเทศไทยโดยทางอากาศโดยมาจากประเทศที่ไทยกำหนดว่าเป็นประเทศความเสี่ยงต่ำ 2. เมื่อเดินทางเข้าประเทศไทย ทุกคนต้องแสดงตัวว่าปลอดเชื้อโควิด-19 โดยต้องมีหลักฐานผลการตรวจหาเชื้อโควิด-19 ด้วยวิธี RT-PCR โดยตรวจก่อนเดินทางออกจากประเทศต้นทาง และจะมีการตรวจหาเชื้อโควิด-19 อีกครั้งเมื่อเดินทางมาถึงประเทศไทย หลังจากนั้นจึงสามารถเดินทางไปพื้นที่ต่างๆ ได้อย่างอิสระเช่นเดียวกับที่คนไทยปกติทั่วไปสามารถทำได้ 3. กำหนดรายชื่อประเทศความเสี่ยงต่ำที่จะสามารถเดินทางเข้าประเทศไทยได้โดยไม่ต้องกักตัวไว้ที่อย่างน้อย 10 ประเทศ ซึ่งจะรวมประเทศ เช่น อังกฤษ สิงคโปร์ เยอรมนี จีน และสหรัฐอเมริกา 4. ตั้งเป้าเพิ่มจํานวนประเทศให้มากขึ้นอีกภายในวันที่ 1 ธ.ค. 2564 และภายในวันที่ 1 […]

ศูนย์ฉีดวัคซีน ม.อ. คึกคัก เร่งฉีดวัคซีนให้นักเรียนวันเดียว 1,350 คน วันที่ 10 ต.ค. 64 ศูนย์ฉีดวัคซีน มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ คึกคักเป็นพิเศษ เนื่องจากผู้ปกครองนำน้องๆ นักเรียนจากโรงเรียนหาดใหญ่วิทยาลัย 2 จำนวน 1,350 คน มารับการฉีดวัคซีน ซึ่งวัคซีนที่ฉีดให้กับเด็กๆ ในวันนี้ คือ ไฟเซอร์ ที่ได้รับการจัดสรรมา  โดยเด็กๆ ที่เข้ารับวัคซีนวันนี้มีความดีใจและตื่นเต้นที่ได้ฉีดวัคซีน เพราะจะได้กลับไปเรียนตามปกติ และจะได้กลับไปเจอเพื่อนๆ สำหรับผู้ปกครองต่างบอกว่าดีใจและรู้สึกดีที่ลูกๆ ได้รับวัคซีน เพราะเป็นห่วงกลัวว่าเด็กๆ จะติดโควิด เพราะสถานการณ์จำนวนผู้ติดเชื้อในจังหวัดสงขลาตอนนี้มีแนวโน้มจะสูงขึ้นเรื่อยๆ  ดังนั้น การฉีดวัคซีนแม้จะป้องกันการติดไม่ได้ แต่อย่างน้อยก็ลดความรุนแรงในการนอนโรงพยาบาลหรือเสียชีวิต และไม่กังวลเกี่ยวกับผลข้างเคียงมากนัก เนื่องจากมีการเตรียมตัวและปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์อย่างเคร่งครัด  อ้างอิง : สวท.สงขลา

สงขลาเมืองต้นแบบโครงการความปลอดภัยทางถนน ปลูกจิตสำนึกวินัยจราจรแก่ปชช. วันที่ 10 ต.ค. 64 นิพนธ์ บุญญามณี รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย เป็นประธานในพิธีเปิด พร้อมมอบนโยบาย โครงการความปลอดภันทางถนน “สงขลาเมืองต้นแบบ” พัฒนากลไกจัดการความปลอดภัยทางถนน จากจังหวัดสู่อำเภอ และตำบล อุบัติเหตุทางถนนเป็นปัญหาที่สำคัญที่ก่อให้เกิดความสูญเสียทั้งชีวิต และทรัพย์สินของประชาชน ตลอดจนความสูญเสียทางเศรษฐกิจโดยรวมของประเทศ และทรัพย์สินของประชาชนเป็นอย่างมาก ผู้เสียชีวิตจากอุบัติเหตุทางถนนทั่วโลกยังคงมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น   แม้ว่าจะมีการดำเนินการเพื่อแก้ไขปัญหาดังกล่าวมาอย่างต่อเนื่องปัญหาอุบัติเหตุ จากการใช้รถใช้ถนน ของประเทศไทย ก็ยังเป็นสาเหตุของการเสียชีวิตลำดับต้นๆ ของประเทศ จากสถิติที่ผ่านมาอุบัติเหตุที่เกิดขึ้นส่วนใหญ่มาจากพฤติกรรมของผู้ขับขี่ยานพาหนะ ความไม่เข้มงวดในการบังคับใช้กฏหมาย และปัญหาทางกายภาพของโครงสร้างพื้นฐานของถนน ปัญหาการเสียชีวิตที่เกิดจากรถจักรยานยนต์ก็ยังเป็นโจทย์ที่สำคัญยิ่งสำหรับประเทศไทย” สำหรับปี พ.ศ. 2564 รัฐบาล โดย ศูนย์อำนวยการความปลอดภัยทางถนนได้กำหนดประเด็นเร่งด่วน เพื่อขับเคลื่อนการดำเนินงานในระดับพื้นที่ โดยใช้กลไกศูนย์อำนวยการความปลอดภัยทางถนนจังหวัด ศูนย์ปฏิบัติการความปลอดภัยทางถนนอำเภอ และศูนย์ปฏิบัติการความปลอดภัยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เพื่อบูรณาการการขับเคลื่อนการดำเนินงาน และให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเป็นเจ้าภาพหลักในการลดปัจจัยเสี่ยงการเกิดอุบัติเหตุทางถนนในพื้นที่ เพื่อลดความสูญเสียและผลกระทบที่เกิดจากอุบัติเหตุทางถนนได้อย่างแท้จริง โดยเป้าหมายหลักคือ ให้ท้องถิ่นมีส่วนร่วมในเรื่องของการดูแลความปลอดภัยบนท้องถนน โดยใช้ ,Songkhla Model หรือสงขลาต้นแบบ ในการให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นประสานความร่วมมือกัน โดยเริ่มตั้งแต่การสร้างจิตสำนึกที่ดี การสร้างระเบียบวินัยในการขับขี่ให้กับประชาชนในท้องถิ่น เช่นเมาไม่ขับ ไม่ขับรถเร็ว หรือการสวมหมวกกันน็อคก่อนขับรถบนท้องถนน  อ้างอิง : สวท.สงขลา

สงขลา พบผู้ป่วยโควิด 563 คน รวมผู้ป่วยโควิดระลอกเดือน เม.ย. สะสม 34,885 คน วันที่ 10 ต.ค. 64 จังหวัดสงขลาพบผู้ป่วยยืนยันติดเชื้อเพิ่ม 563 ราย มีรายละเอียดผู้ติดเชื้อ ดังนี้ ขอให้พี่น้องชาวสงขลาร่วมด้วยช่วยกัน การ์ดไม่ตก สวมหน้ากากอนามัยทุกครั้งเมื่ออกจากบ้าน และหมั่นล้างมือทำความสะอาดบ่อย ๆ หลีกเลี่ยงสถานที่ที่มีคนจำนวนมาก พร้อมปฏิบัติตามมาตรการป้องกันตามที่สาธารณสุขกำหนดอย่างเต็มที่ และปฏิบัติตามมาตรการ D-M-H-T-T อย่างเคร่งครัด เพื่อรับมือโควิด-19 ระลอกใหม่นี้ HATYAITODAYNEWS อ้างอิง : ผู้ว่าราชการจังหวัดสงขลา

สธ.สงขลา เตรียมเพิ่มเตียงรับผู้ป่วยโควิด-19 หลังผู้ติดเชื้อมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น วันที่ 10 ต.ค. 64 นพ.สงกรานต์ ไหมชุม นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดสงขลา ได้กล่าวว่า จากสถานการณ์โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ของจังหวัดสงขลา ขณะนี้ มีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้น จังหวัดสงขลาได้บริหารจัดการเตียงรองรับผู้ป่วย ให้เพียงพอต่อจำนวนผู้ป่วยที่มีแนวโน้มสูงขึ้น เพื่อลดอัตราการป่วยที่รุนแรงและป้องกันการเสียชีวิต ให้ผู้ป่วยรับการดูแลตามมาตรฐานกระทรวงสาธารณสุข   โดยมีโรงพยาบาลรัฐบาลที่รับรักษาผู้ป่วยโควิด-19 จำนวน 18 แห่ง โรงพยาบาลเอกชน 3 แห่ง, Hospitel (หอผู้ป่วยโควิด-19 เฉพาะกิจ ซึ่งใช้โรงแรมที่เข้าหลักเกณฑ์ที่กำหนดเป็นที่รับการรักษาผู้ป่วย)  6 แห่ง , โรงพยาบาลสนาม 26 แห่ง และ CI (Community Isolation) หรือ ศูนย์กักรักษาในชุมชน 9 แห่ง โดยรวมมีจำนวนเตียงทั้งสิ้น 6,713 เตียง ขณะนี้ (นับถึงวันที่ 7 ต.ค. 2564 ) ใช้ไปแล้ว 6,221 เตียง เหลือเตียงรองรับผู้ป่วยอีก จำนวน 492 เตียง ทั้งนี้ การจะนำผู้ติดเชื้อไปรักษาที่ไหน จะพิจารณาจากอาการของผู้ป่วย ซึ่งจำแนกเป็นผู้ป่วยออกเป็น 3 ระดับหรือ 3 กลุ่มคือ  1) กลุ่มสีเขียว เป็นกลุ่มผู้ป่วยไม่มีอาการหรือมีอาการเล็กน้อย  2) กลุ่มสีเหลือง คือผู้ป่วยอาการปานกลาง 3) กลุ่มสีแดง คือ ผู้ป่วยอาการรุนแรง  ทางสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสงขลา มีนโยบายให้ รพ.หาดใหญ่ รพ.สงขลา และ รพ.สงขลานครินทร์ รับรักษาผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรง , โรงพยาบาลสนาม และโรงพยาบาลเอกชน รับรักษาผู้ป่วยที่มีอาการปานกลาง และสำหรับ Hospitel และ CI จะรับรักษาผู้ป่วยไม่มีอาการหรืออาการเล็กน้อย ทั้งนี้ จังหวัดสงขลา มีผู้ป่วยอาการหนัก ร้อยละ 1.2 , มีอาการปานกลาง ร้อยละ 15 และ ร้อยละ 83.7 ของผู้ติดเชื้อโควิด-19 จะเป็นผู้ป่วยที่ไม่มีอาการหรืออาการเล็กน้อย จึงได้วางแผนที่จะเปิด CI เพื่อขยายเตียงไปยังชุมชนเพิ่มขึ้น ซึ่งจะช่วยให้โรงพยาบาลมีเตียงที่เพียงพอในรักษาผู้ป่วยที่มีอาการหนักต่อไป  อ้างอิง : สาธารณสุขจังหวัดสงขลา