สธ.สงขลา เฝ้าระวังสอบสวนโรคกลุ่มคลัสเตอร์สัมผัสเสี่ยง ผู้เสียชีวิตโควิด-19 สายพันธุ์โอมิครอน

สธ.สงขลา เฝ้าระวังสอบสวนโรคกลุ่มคลัสเตอร์สัมผัสเสี่ยง ผู้เสียชีวิตโควิด-19 สายพันธุ์โอมิครอน

วันที่ 18 ม.ค. 65 จากกรณีมีผู้ป่วยโรคโควิด-19 สายพันธุ์โอมิครอน อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา เสียชีวิต ซึ่งนับเป็นรายแรกในประเทศนั้น ข้อมูลเบื้องต้นผู้ป่วยเป็นหญิงไทย อายุ 86 ปี อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา มีประวัติรับวัคซีนไฟเซอร์ มา 2 เข็ม เป็นผู้ป่วยติดเตียง โดยผู้ป่วยมีโรคประจำตัว คือโรคอัลไซเมอร์ มีประวัติการสัมผัสเสี่ยงกับหลานซึ่งเป็นผู้ติดเชื้อยืนยัน (เดินทางกลับมาจากจังหวัดภูเก็ต) เข้ารับการรักษาที่ รพ.หาดใหญ่ เมื่อวันที่ 7 ม.ค.65 และเสียชีวิต เมื่อ 12 ม.ค. 65 และส่งตรวจยืนยันสายพันธุ์เชื้อฯ ที่ศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ที่ 12 สงขลา ในวันดังกล่าว ผลการตรวจยืนยันสายพันธุ์โอมิครอน เมื่อวันที่ 13 ม.ค.65

271803497 4843381762389915 2706522734976564303 N 1

สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสงขลา ร่วมกับเครือข่ายบริการสาธารณสุขอำเภอหาดใหญ่ ได้ดำเนินการเฝ้าระวังสอบสวนโรค ควบคุมการแพร่ระบาดของโรคฯ ในกลุ่มคลัสเตอร์ดังกล่าว รวม ทั้งสิ้น 27 คน (รวมผู้ป่วยเสียชีวิตฯและหลาน) และค้นหาผู้สัมผัสเสี่ยงกับผู้ป่วยฯ ดังกล่าว มีผู้สัมผัสเสี่ยงรวมทั้งบุคคลในครอบครัว รับการตรวจหาเชื้อแล้ว จำนวน 25 คน พบผลบวก จำนวน 10 คน โดยผู้สัมผัสเสี่ยงที่พบผลบวก 10 คน พบว่าไม่มีอาการ 1 คน อีก 10 คน มีอาการเพียงเล็กน้อย(คัดจมูก ไอ) โดยทั้ง 11 คน (รวมหลานฯ) ได้เข้ารับการกักรักษาตัวที่โรงพยาบาลฯ และ Hospitel ตามมาตรฐานกระทรวงสาธารณสุขแล้ว พร้อมทั้ง ติดตามตรวจหาเชื้อซ้ำฯ และเฝ้าระวังอาการต่อเนื่อง สำหรับในกลุ่มสัมผัสเสี่ยงที่ไม่พบเชื้อ และให้กักตัวสังเกตอาการที่บ้าน ( HQ : Home Quarantine ) เป็นระยะเวลา 14 วัน โดยมีเจ้าหน้าที่และ อสม.ในพื้นที่ ติดตามสังเกตอาการต่อเนื่อง

271887451 4861504437244314 333334716216866429 N

นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดสงขลา จึงขอย้ำเตือนให้ประชาชนได้มีการเฝ้าระวังและป้องกันโรคโควิด-19 อย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะกลุ่มเปราะบาง ที่เป็นผู้สูงอายุ ผู้ป่วยโรคเรื้อรัง รวมทั้งผู้ป่วยติดเตียง โดยผู้ที่ใกล้ชิดกับผู้ป่วยเปราะบาง อาจจะเป็นผู้ดูแลและลูกหลาน จำเป็นต้องเคร่งครัดมาตรการส่วนบุคคล ทั้งการสวมหน้ากากอนามัย การเว้นระยะห่าง ล้างมือ และหลีกเลี่ยงการกอดสัมผัสกับผู้ป่วยฯ และในระยะนี้ ควรพากลุ่มเปราะบางที่เป็นผู้สูงอายุและป่วยเรื้องรัง ที่รับวัคซีนครบ 2 เข็มแล้ว ไปรับวัคซีนเข็มกระตุ้นเข็ม 3 เพื่อสร้างภูมิคุ้มกันต่อเนื่องด้วย

Doctor Holding Preparing Vaccine While Wearing Protective Equipment 23 2148847188 1 1

อ้างอิง : สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสงขลา

Next Post

18 มกราคมนี้ ดวงจันทร์เต็มดวงไกลโลกที่สุดในรอบปี 2565

Tue Jan 18 , 2022
18 มกราคมนี้ ดวงจันทร์เต็มดวงไกลโลกที่สุดในรอบปี 2565 วันที่ 18 ม.ค. 65 วันที่ 18 มกราคม 2565 เป็นคืนจันทร์เต็มดวงที่ดวงจันทร์จะโคจรอยู่ในระยะไกลโลกมากที่สุดในรอบปี หรือเรียกว่า ไมโครฟูลมูน (Micro Full Moon) ระยะห่างจากโลกประมาณ 401,011 กิโลเมตร คืนดังกล่าวจะมองเห็นดวงจันทร์เต็มดวงมีขนาดปรากฏเล็กสุดในรอบปี เริ่มสังเกตดวงจันทร์ได้ด้วยตาเปล่าทางทิศตะวันออก หลังดวงอาทิตย์ลับขอบฟ้า เวลาประมาณ 18:30 น. เป็นต้นไปจนถึงรุ่งเช้า ดวงจันทร์โคจรรอบโลกเป็นวงรี 1 รอบ ใช้เวลาประมาณ 27.3 วัน ในแต่ละเดือนจะมีทั้งวันที่ดวงจันทร์ใกล้โลกและไกลโลก ตำแหน่งที่ดวงจันทร์ใกล้โลกที่สุด เรียกว่า เปริจี (Perigee) มีระยะห่างเฉลี่ยประมาณ 357,000 กิโลเมตร และตำแหน่งที่ดวงจันทร์ไกลโลกที่สุด เรียกว่า อะโปจี (Apogee) มีระยะห่างเฉลี่ยประมาณ 406,000 กิโลเมตร การที่ผู้คนบนโลกมองเห็นดวงจันทร์เต็มดวงในคืนที่ดวงจันทร์โคจรเข้ามาใกล้หรือไกลโลกมีขนาดที่แตกต่างกัน […]
ปกข่าว 01