จ.สงขลา ประชาชนร่วมตัวออกมาทำบุญตักบาตร เนื่องในวันเข้าพรรษา ในรูปแบบNew Normal

จ.สงขลา ประชาชนร่วมใจออกมาทำบุญตักบาตร เนื่องในวันเข้าพรรษา ในรูปแบบNew Normal

วันที่ 6 กรกฎาคม 2563 ซึ่งเป็นวันเข้าพรรษา ที่บริเวณย่านการค้าหรือย่านถนนวชิรา ถนนทะเลหลวง อำเภอเมือง จังหวัดสงขลา ประชาชนชาวสงขลาทุกเพศทุกวัย ต่างนำอาหารคาวหวาน ดอกไม้ธูปเทียนออกมาทำบุญตักบาตรพระสงฆ์ตั้งแต่หัวรุ่งทั้ง 2 ฟากถนน เนื่องในเทศกาลวันเข้าพรรษา เพื่อความเป็นสิริมงคลแก่ตนเองและครอบครัว

โดยมีประชาชนออกมาทำบุญตักบาตรกันเป็นจำนวนมาก แม้พระสงฆ์ในเขตเทศบาลนครสงขลาออกมารับบิณฑบาตรไม่มากนัก แต่มีพระสงฆ์อีกส่วนหนึ่งจากวัดรอบนอกเขตเทศบาลนครสงขลาหลายวัด นั่งรถยนต์ของทางวัดเดินทางมารับบิณฑบาตรในเขตเทศบาลนครสงขลาทุกวัน ทำให้ประชาชนที่มีความตั้งใจมายืนรอเพื่อตักบาตรพระสงฆ์ สามารถตักบาตรได้อย่างทั่วถึง ภายใต้ชีวิตวิถีใหม่ New Normal  ซึ่งมีการสวมหน้ากากอนามัยทั้งพระสงฆ์ และประชาชนที่มาร่วมตักบาตร

ตักบาตร

อย่างไรก็ตามทุกคนที่ออกมาทำบุญตักบาตรในวันเข้าพรรษา มีความตั้งใจที่จะทำบุญตักบาตรตลอดพรรษา เข้าวัดปฏิบัติธรรม ฟังพระธรรมเทศนา เพื่อขัดเกลาจิตใจให้เป็นคนดีมีศีลธรรม และน้อมนำหลักธรรมคำสอนทางพระพุทธศาสนาไปประพฤติปฏิบัติในวิถีชีวิต

ตักบาตร

ตักบาตร

HATYAITODAYNEWS

อ้างอิง : กรมประชาสัมพันธ์

Next Post

ศาลปกครองวินิจฉัย กำแพงกันคลื่นหาดม่วงงามเป็นเพียงสิ่งแปลกปลอม

Mon Jul 6 , 2020
ศาลปกครองวินิจฉัย คำแพงกันคลื่นหาดม่วงงามเป็นเพียงสิ่งแปลกปลอม จำแนกคำวินิจฉัยศาลปกครองสงขลาหลังมีคำสั่งระงับการดำเนินโครงการก่อสร้างกำแพงกันคลื่นชายหาดม่วงงาม ระยะที่ 1 และ 2 ออกได้ 15 ประการ 1) ศาลฯ ระบุว่า แม้ผู้ถูกฟ้องที่ 1 (กรมโยธาธิการและผังเมือง) จะอ้างว่าโครงการก่อสร้างเขื่อนป้องกันตลิ่งริมทะเล ประเภทติดชายฝั่งรูปอแบบคอนกรีตขั้นบันได จำนวน 4 โครงการ ในพื้นที่อื่นๆ ที่ได้ดำเนินการแล้วเสร็จ สามารถป้องกันการกัดเซาะชายฝั่งได้เป็นผลดีและบริเวณด้านหน้าเขื่อนป้องกันตลิ่งริมทะเลยังมีหาดทรายให้สามารถใช้ประโยชน์ได้ก็ตาม แต่กรมโยธาธิการฯ ไม่ได้แสดงพยานหลักฐานหรือรายงานทางวิชาการที่รับรองหรือยืนยันว่า การก่อสร้างเขื่อนป้องกันตลิ่งริมทะเลฯ จะสามารถป้องกันการกัดเซาะชายหาดได้อย่างแท้จริงและได้ผลดีจริง โดยไม่สร้างความเสียหายและส่งผลกระทบต่อพื้นที่หาดทรายบริเวณหน้าเขื่อนป้องกันตลิ่งริมทะเล รวมทั้งพื้นที่ชายหาดบริเวณใกล้เคียงหรือต่อเนื่องที่ไม่ได้สร้างเขื่อนป้องกันตลิ่งริมทะเลในอนาคต 2) ในชั้นนี้ศาลฯ จึงเห็นว่า การก่อสร้างเขื่อนป้องกันตลิ่งริมทะเลรูปแบบคอนกรีตขั้นบันได นอกจากจะไม่สามารถป้องกันการกัดเซาะชายฝั่งได้อย่างถาวรและยั่งยืนแล้ว ยังก่อให้เกิดผลกระทบหรือความเสียหายต่อพื้นที่ชายหาดที่ไม่มีการสร้างเขื่อนป้องกันตลิ่งริมทะเลอีกด้วย 3) ดังนั้น การก่อสร้างเขื่อนป้องกันตลิ่งริมทะเลฯ จึงไม่ก่อให้เกิดประโยชน์อย่างแท้จริง อีกทั้งยังเป็นการสูญเสียงบประมาณแผ่นดินโดยโดยไม่สมเหตุสมผล 4) เมื่อการดำเนินการก่อสร้างโครงการของกรมโยธาธิการฯ มีลักษณะเป็นการก่อสร้างประเภทกำแพงติดแนวชายฝั่ง ความยาวตั้งแต่ 200 เมตรขึ้นไป ลักษณะของโครงสร้างเป็นเขื่อนคอนกรีตขั้นบันได ซึ่งหากกรมโยธาธิการฯ ดำเนินการก่อสร้างโครงการต่อไปจนแล้วเสร็จอาจก่อให้เกิดความเสียหายต่อทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม […]
ปกข่าวสำหรับเฟส [recovered] 01 01