เทศบาลนครหาดใหญ่ เปิดลงทะเบียนวัคซีนไฟเซอร์ สำหรับผู้มีอายุ 18 ปีขึ้นไป วันที่ 26 ต.ค. 64

เทศบาลนครหาดใหญ่ เปิดลงทะเบียนวัคซีนไฟเซอร์ สำหรับผู้มีอายุ 18 ปีขึ้นไป วันที่ 26 ต.ค. 64

วันที่ 25 ต.ค. 64 เทศบาลนครหาดใหญ่ร่วมกับสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสงขลาโรงพยาบาลสงขลานครินทร์ โรงพยาบาลหาดใหญ่เปิดลงทะเบียนวัคซีนไฟเซอร์สำหรับผู้มีอายุ 18ปีขึ้นไปพร้อมกัน! วันอังคารที่ 26 ตุลาคม 2564 เป็นต้นไป

1.ผู้ที่มีชื่ออยู่ในเขตเทศบาลนครหาดใหญ่ (ต.หาดใหญ่)

• ลงทะเบียนผ่านระบบออนไลน์/ QR CODE หรือลิงค์ลงทะเบียน https://vaccine.hatyaicity.go.th/VaccineExtra01/

• เปิดลงทะเบียนเวลา 09.00 น.

• เอกสารแนบ : สำเนาบัตรประชาชน

248405818 1775253052665787 3668752945046447304 N

2.ผู้ที่ทำงานหรืออาศัยอยู่ในเขตเทศบาลนครหาดใหญ่

• ลงทะเบียนแบบ Walk in ณ หอประชุมเทศบาลนครหาดใหญ่วันที่ 26 ตุลาคม 2564 เป็นต้นไป เวลา 09.00 – 16.30 น.

• ผู้ที่อาศัยอยู่ในเขตเทศบาลนครหาดใหญ่ เอกสารแนบ ดังนี้

– สำเนาทะเบียนบ้านเช่า โดยให้เจ้าของบ้านรับรองว่าอาศัยอยู่จริง + สำเนาบัตรประชาชน

• ผู้ที่ทำงานในเขตเทศบาลนครหาดใหญ่ เอกสารแนบ ดังนี้

– หนังสือจดทะเบียนพาณิชย์ หรือ หนังสือจดทะเบียนบริษัท + หนังสือรับรองการทำงาน + สำเนาบัตรประชาชน

248750135 1775253065999119 1193942048274593737 N

ประสิทธิภาพของวัคซีนไฟเซอร์

  • หลังจากฉีดวัคซีนไฟเซอร์เข็มที่ 2 แล้ว จะมีประสิทธิภาพในการป้องกันโรคโควิด 19 สูงถึง 91.3% ในช่วง 7 วันถึง 6 เดือนหลังฉีด
  • ป้องกันความรุนแรงของโรคได้ 100%
  • ป้องกันการติดเชื้อมีอาการที่ 94%
  • ป้องกันการติดโรค 96.5%
  • ป้องกันการเสียชีวิต 98-100%

วัคซีนโควิดไฟเซอร์ฉีดทั้งหมด 2 เข็ม โดยเข็มที่ 2 ห่างจากเข็มแรก 21-28 วัน ใช้วิธีการฉีดเข้ากล้ามเนื้อแขนด้านบน ภูมิคุ้มกันจะเริ่มเกิดหลังจากฉีดวัคซีนไฟเซอร์ไปแล้ว 12 วัน แต่ภูมิคุ้มกันจะทำงานเต็มที่หลังจากฉีดครบ 2 เข็ม

อ้างอิง : เทศบาลนครหาดใหญ่

Next Post

มรภ.สงขลา ร่วมกับวิสาหกิจชุมชน ออกแบบเส้นทางท่องเที่ยว เชื่อมเมืองเก่าสงขลา 3 ยุค

Mon Oct 25 , 2021
มรภ.สงขลา ร่วมกับวิสาหกิจชุมชน ออกแบบเส้นทางท่องเที่ยว เชื่อมเมืองเก่าสงขลา 3 ยุค วันที่ 25 ต.ค. 64 อาจารย์ชัยวัฒนภัทร เลาสัตย์ รองคณบดีฝ่ายพัฒนานักศึกษา บริการวิชาการและวิเทศสัมพันธ์ และอาจารย์ประจำหลักสูตรการออกแบบ คณะศิลปกรรมศาสตร์  มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา (มรภ.สงขลา) เปิดเผยว่า หลักสูตรการออกแบบ ร่วมกับวิสาหกิจชุมชน Eco Tourism Songkhla Thailand นำโดย นางสาวปาริชาด สอนสุภาพ ร่วมพัฒนาเส้นทางท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมเชื่องโยงเมืองเก่าสงขลา 3 ยุค  “Singora Gateway” เพื่อเตรียมรับนักท่องเที่ยวหลังโควิด ภายใต้การการสนับสนุนของสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์ (CEA) ในโครงการ Change X2 by CEA ซึ่งเมืองเก่าสงขลาถือเป็นเมืองท่าค้าขายทางทะเลที่ความสำคัญและเจริญรุ่งเรืองยาวนานมาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา โดยปรากฏชื่อในเอกสารและแผนที่เดินเรือโบราณในนามเมือง “Singora”                 อาจารย์ชัยวัฒนภัทร เผยว่า เมืองเก่าสงขลา ประกอบด้วย 2 พื้นที่สำคัญ คือ เมืองเก่าสงขลาฝั่งหัวเขาและเมืองเก่าสงขลาฝั่งบ่อยาง ซึ่งเชื่อมโยงกันด้วยทะเลสาบสงขลา Lagoon หนึ่งเดียวในประเทศไทย ด้วยการเป็นเมืองท่าค้าขายสำคัญนี้เอง ที่ทำให้เมืองเก่าสงขลามีมนต์เสน่ห์แห่งเรื่องราวประวัติศาสตร์และเป็นพื้นที่หลอมรวมวัฒนธรรมจากหลากหลายเชื้อชาติ ผสมผสานจนเป็นพหุวัฒนธรรมและวิถีชีวิตของผู้คน ประกอบกับภูมิทัศน์ที่งดงามของทะเลสาบสงขลา ซึ่งเป็นต้นกำเนิดแห่งความอุดมสมบูรณ์ที่หล่อเลี้ยงชีวิตชาวสงขลา ก่อให้เกิดเป็นวิถีชีวิตชาวประมงเลสาบที่มีความผูกพันกับสายน้ำมาช้านาน                  ทั้งนี้เส้นทางท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม Singora Gateway ประกอบด้วย เส้นทางท่องเที่ยวแบบ One Day Trip ที่เป็นเหมือนประตูพานักท่องเที่ยวย้อนอดีตไปค้นหาเรื่องราวประวัติศาสตร์ วัฒนธรรม และวิถีชีวิตที่งดงามของผู้คนในเมืองเก่าสงขลา ที่เต็มไปด้วยขุมทรัพย์ทางวัฒนธรรมที่ซุกซ่อนอยู่ในทุกพื้นที่ของเมือง ให้นักท่องเที่ยวได้มาสัมผัสและเรียนรู้ ผ่านเส้นทางท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม 3 เส้นทาง ทั้งเส้นทาง “The Heart of  Singora” ที่จะพาไปรู้จักภูมิทัศน์เชิงวัฒนธรรมที่งดงาม ที่ได้รับการขนานนามว่าเป็นหัวใจของเมืองเก่าสงขลา เส้นทาง “The City of Lagoon” ที่จะพาไปสัมผัสวิถีชีวิตและความผูกพันกับสายน้ำของผู้คนในทะเลสาบสงขลา Lagoon หนึ่งเดียวในประเทศไทย และเส้นทาง “The Singora in Harmony” ที่จะพาไปสัมผัสเรื่องราวความงดงามของการหลอมรวมวัฒนธรรมอันหลากหลายที่ผสมผสานกันอย่างกลมกลืนของเมืองท่าเก่าแก่แห่งนี้  อ้างอิง : สวท.สงขลา Facebook iconFacebookTwitter iconTwitterLINE iconLine
ปกข่าว 01