ศอ.บต.เผย ศูนย์ฝึกอาชีพพระราชทานชายแดนใต้ สร้างอาชีพกว่า1000 คน เตรียมป้อนสู่ตลาดนิคมอุตสาหกรรมจะนะในอนาคต

ศอ.บต.เผย ศูนย์ฝึกอาชีพพระราชทานชายแดนใต้ สร้างอาชีพกว่า1,000 คน เตรียมป้อนสู่ตลาดนิคมอุตสาหกรรมจะนะในอนาคต

ศูนย์ฝึกอาชีพพระราชทานจังหวัดชายแดนภาคใต้ ก่อตั้งเมื่อปี​ พ.ศ. 2557 โดยมูลนิธิราชประชานุเคราะห์ในพระบรมราชินูปถัมภ์ เพื่อเป็นการเทิดพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 9 โดยน้อมนำยุทธศาสตร์พระราชทานเข้าใจเข้าถึงพัฒนามาเป็นแนวทางการพัฒนาคุณภาพชีวิตและความเป็นอยู่ของประชาชนในจังหวัดชายแดนภาคใต้อีกทั้งเป็นการสนับสนุนการแก้ปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้โดยมอบศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ร่วมกับหน่วยงานราชการในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ดำเนินการฝึก อาชีพในสาขาที่สอดคล้องกับความต้องการของประชาชนและตลาดแรงงาน ในพื้นที่​

ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2557 -​2563 “ได้ดำเนินการฝึกอาชีพมาแล้วจำนวน 6 รุ่น​ มีผู้เข้าร่วมการฝึกอาชีพทั้งสิ้นจำนวน 1,206 คน​ มีผู้สำเร็จการฝึกอาชีพจำนวน 1,031 คน คิดเป็นร้อยละ 85.48 และมีงานทำ​ จำนวน 421 คน คิดเป็นร้อยละ 40.8″ ซึ่งมีแนวทางในการพัฒนาเพื่อให้บรรลุเป้าหมายของโครงการคือผู้ที่สำเร็จการศึกษาฝึกอาชีพพระราชทานมีงานทำ​ มีรายได้เพื่อเลี้ยงตนเองและยกระดับคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น

ล่าสุด​ เมื่อวันที่​ 14 สิงหาคม​ 2563 พลเรือตรี​ สมเกียรติ​ ผลประยูร เลขาธิการศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้​ เป็นประธานมอบวุฒิบัตรแก่ผู้ที่สำเร็จอาชีพประจำปีงบประมาณ​ พ.ศ.​2563​ มีผู้เข้าฝึกอาชีพ​ 86 คน​ สำเร็จหลักสูตร​ จำนวน​ 76​ คน​ คิดเป็นร้อยละ​ 90.69 นอกจากนี้ยังได้มอบวัสดุอุปกรณ์​ แก่ผู้ที่มีผลการเรียนดี​ ประพฤติดี​ เพื่อนำไปการประกอบอาชีพ​ จำนวน​ 31 คน

พลเรือตรี​ สมเกียรติ​ ผลประยูร เลขาธิการศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้​ เป็นประธานมอบวุฒิบัตรแก่ผู้ที่สำเร็จอาชีพ
พลเรือตรี​ สมเกียรติ​ ผลประยูร เลขาธิการศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้​ เป็นประธานมอบวุฒิบัตรแก่ผู้ที่สำเร็จอาชีพ

พลเรือตรี​ สมเกียรติ​ ผลประยูร เลขาธิการศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้​ กล่าวว่า​ คนที่สำคัญที่ภาครัฐจะต้องดูแลเป็นพิเศษ คือคนที่ขาดโอกาสทางสังคม ซึ่งถือเป็นความรับผิดชอบที่เราจะต้องทำให้กลุ่มคนเหล่ามีคุณภาพชีวิตที่ดี มีงานทำ มีรายได้ สามารถเลี้ยงครอบครัวได้ และประสบความสำเร็จในชีวิต หากเยาวชนกลุ่มนี้จบหลักสูตรจะเกิดความภูมิใจที่ทำให้ตัวเองประสบความสำเร็จ​ และเข้าสู่กระบวนการตลาดแรงงานที่รัฐบาลรองรับให้กับคนในพื้นที่​ คือเมืองต้นแบบที่ 4 จะนะหรือ​อุตสาหกรรมก้าวหน้าแห่งอนาคต​ ซึ่งรองรับ​ตำแหน่งงานหลายอัตรา​ ถ้าอุตสาหกรรมเกิดขึ้นในอนาคต

ด้านนายซุลกิฟลี เฮงบารู​ ผู้สำเร็จการฝึกอาชีพ​ ให้สัมภาษณ์ว่า​ ว่า ตนเองได้ศึกษาอยู่ในหลักสูตรช่างซ่อมจักรยานยนต์ซึ่งในหลักสูตรนี้ได้มีการสอนให้ตนได้เรียนรู้และฝึกทักษะต่างๆ ทั้งระบบที่เราไม่มีพื้นฐานมาก่อน ซึ่งตนจะนำเอาความรู้ที่ได้รับไปเหล่านี้กลับไปต่อยอดเป็นอาชีพโดยการเปิดร้านเป็นของตนเองที่บ้านซึ่งคิดว่ามีความพร้อม100 % ที่จะเข้าสู่ตลาดแรงงาน อย่างไรก็ตาม ต้องขอขอบคุณหน่วยงานภาครัฐ โดยเฉพาะ ศอ.บต. และศูนย์ฝึกอาชีพพระราชทานที่ได้ให้การสนับสนุนจนจบหลักสูตร ทำให้เยาวชนที่ขาดโอกาสมีที่ยืนอยู่ในสังคมอย่างมีคุณภาพ

ด้านผู้ปกครอง​ของนายมูฮัมหมัดวาริด อา​แว​ ให้สัมภาษณ์ว่า​ รู้สึกดีใจที่บุตรได้เรียนจบหลักสูตร​ในวันนี้​ ต้องขอบคุณ​ ศอ.บต. ที่มีโครงการฝึกอาชีพ​ ที่ได้สร้างโอกาสทางการศึกษา​ อย่างต่อเนื่องซึ่งบุตรเป็นเด็กเรียนดี​ และนอกจากนี้วัสดุอุปกรณ์ที่ ศอ.บต.ได้มอบให้ ก็จะนำไปต่อยอดเป็นอาชีพในครอบครัว และหลังจากนี้หากมีตลาดที่จะรองรับก็สนใจจะไปสมัคร​ และจะเปิดร้านซ่อมรถเป็นของตัวเอง​ เพื่อได้เลี้ยงตนเองและครอบครัว​ต่อไป​

ทั้งนี้ศูนย์ฝึกอาชีพพระราชทานจังหวัดชายแดนภาคใต้ มี​ 3 ศูนย์​ ในพื้นที่จังหวัดปัตตานี​ ยะลานราธิวาส ซึ่งตั้งอยู่ในบริเวณโรงเรียนราชประชานุเคราะห์ในจังหวัดนั้นๆ โดยมีสาขาที่เรียนดังนี้สาขาช่างก่อสร้าง​ สาขาช่างไฟฟ้าและสาขาช่างซ่อมรถจักรยานยนต์ เพื่อเปิดให้เยาวชนนอกระบบการศึกษาและขาดโอกาสได้เข้ามาฝึกอาชีพตามความถนัดโดยไม่เสียค่าใช้จ่ายเพื่อให้มีอาชีพที่สามารถเลี้ยงตนเองครอบครัวและการพัฒนาเป็นผู้ประกอบการต่อไป นอกจากนี้ ศอ.บต.ได้สนับสนุนเครื่องมือที่จำเป็นในการประกอบอาชีพ และประสานผู้ประกอบการเพื่อเพิ่มช่องทางในการทำงานอีกด้วย

ศูนย์ฝึกอาชีพพระราชทานจังหวัดชายแดนภาคใต้ มี​ 3 ศูนย์​ ในพื้นที่จังหวัดปัตตานี​ ยะลานราธิวาส
ศูนย์ฝึกอาชีพพระราชทานจังหวัดชายแดนภาคใต้ มี​ 3 ศูนย์​ ในพื้นที่จังหวัดปัตตานี​ ยะลานราธิวาส

HATYAITODAYNEWS

อ้างอิงข้อมูลจาก : ศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้

Next Post

หาดสมิหลา-หาดชลาทัศน์ จ.สงขลา เติมทรายอีกครั้งเพื่อป้องกันการกัดเซาะชายฝั่ง

Mon Aug 17 , 2020
หาดสมิหลา-หาดชลาทัศน์ จ.สงขลา เติมทรายอีกครั้งป้องกันการกัดเซาะชายฝั่ง ตามที่ได้มีการเสนอข่าวกรณีเกี่ยวกับข้อกังวลของเครือข่ายภาคประชาชนในจังหวัดสงขลาที่มีต่อโครงการป้องกันการกัดเซาะชายฝั่งหาดสมิหลา-หาดชลาทัศน์ อำเภอเมืองสงขลา จังหวัดสงขลา ซึ่งมีความคืบหน้าในตอนนี้ของโครงการป้องกันการกัดเซาะชายฝั่งหาดสมิหลา-หาดชลาทัศน์ อำเภอเมือง จังหวัดสงขลา ด้วยวิธีการเติมทรายชายหาด ซึ่งดำเนินการโดยกรมเจ้าท่า มูลค่า 269 ล้านบาท ที่ได้หยุดชะงักลงมาหลายเดือน หลังประสบปัญหาเครื่องจักรบางชนิดเสียและต่อด้วยสถานการณ์โควิด-19 ทำให้ชาวสงขลาที่สัญจรผ่านถนนชลาทัศน์ต่างกังวลว่า โครงการนี้ถูกผู้รับเหมาทิ้งงานไปแล้ว แต่ล่าสุดกลับพบว่าได้เริ่มมีการเตรียมการที่จะทำการดูดทรายจากแหลมสนอ่อน ผ่านท่อเหล็กขนาดใหญ่มาเติมทรายชายหาดบริเวณนี้อีกครั้ง อย่างไรก็ตามการติดตามสถานการณ์กัดเซาะชายฝั่งโดยสำนักงาน ทช.ที่๕ (สงขลา)ในพื้นที่ระบบหาดแหลมตะลุมพุก-แหลมสมิหลา ระบบหาดหาดชลาทัศน์ และระบบหาดสะกอม โดยแนวชายฝั่งเป็นหาดทราย พื้นที่ชายฝั่งทะเล บริเวณหาดชลาทัศน์ (หลังมทร.ศรีวิชัย) ต.บ่อยาง ประสบปัญหากัดเซาะชายฝั่ง ระยะทางประมาณ 450 เมตร และพื้นที่ ม.7 ต.เขารูปช้าง ประสบปัญหากัดเซาะชายฝั่ง ระยะทางประมาณ 200 ม. และพบว่าแนวชายฝั่งทะเล อ.เมือง จ.สงขลา มีโครงสร้างป้องการกัดเซาะชายฝั่ง ทั้งกล่องกระชุหิน กำแพงกันคลื่นแบบตั้งตรง เขื่อนหินทิ้งริมชายฝั่ง เขื่อนหินทิ้งนอกชายฝั่ง รอดักทรายรูปตัวไอและบางจุดมีถุงใยสังเคราะห์บรรจุทราย […]
ปกข่าวแบบขนาด เฟสนายก 01