โครงการสะพานข้ามทะเลสาบสงขลา-เชื่อมพัทลุง ผ่าน EIA แล้วเริ่มก่อสร้างได้ในปีงบประมาณ 2566 – 2568 วันที่ 15 พ.ย. 64 นายอภิรัฐ ไชยวงศ์น้อย อธิบดีกรมทางหลวงชนบท รายงานถึงความคืบหน้าของโครงการก่อสร้างสะพานข้ามทะเลสาบสงขลา ว่า โครงการได้ผ่านการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม หรือ EIA แล้ว และ สามารถดำเนินการก่อสร้างได้ตามแผนงานในปีงบประมาณ 2566 – 2568 สำหรับสะพานข้ามทะเลสาบสงขลาแห่งนี้ มีจุดเริ่มต้นโครงการ จากถนนทางหลวงชนบทสาย พท.4004 กม.ที่ 3+300 บริเวณ หมู่ 1 บ้านแหลมจองถนน ตำบลจองถนน อำเภอเขาชัยสน จังหวัดพัทลุง แนวสะพานข้ามทะเลสาบสงขลา เชื่อมต่อกับจุดสิ้นสุดโครงการ ที่แยกตัดกับถนนองค์การบริหารส่วนจังหวัดสงขลา ถนนรอบเกาะใหญ่ บริเวณ หมู่ 2 บ้านแหลมยาง ตำบลเกาะใหญ่ อำเภอกระแสสินธุ์ จังหวัดสงขลา รวมระยะทางประมาณ 7 กม. ใช้งบประมาณในการก่อสร้างรวม 4,500 ล้านบาท โดยในปี 2566 งบประมาณ 900 ล้านบาท ปี 2567 และ ปี 2568 งบประมาณปีละ 1,800 ล้านบาท โดยรูปแบบของสะพาน กำหนดเป็นสะพานขนาด 2 ช่องจราจร ทิศทางละ 1 ช่องจราจร พร้อมไหล่ทาง และมีจุดจอดรถ ในกรณีฉุกเฉินบนสะพาน โครงสร้าง แบ่งเป็น 2 รูปแบบ คือ โครงสร้างสะพานช่วงกลางทะเลสาบสงขลา จะเป็นรูปแบบสะพานคานขึง มีความยาวระหว่างตอม่อ 140 เมตร ความสูงช่องลอด 18 เมตร เพื่อเตรียมสำหรับให้กรมเจ้าท่าขุดลอกทะเลสาบสงขลา ส่วน สะพานช่วงต่อเชื่อม จะใช้โครงสร้างรูปกล่องหล่อสำเร็จ มีความยาวระหว่างตอม่อ 40 เมตร ซึ่งสะพานแห่งนี้ นอกจากจะเพิ่มความสะดวกในการเดินทางระหว่างสองฝั่งทะเลสาบสงขลาแล้ว ยังสามารถส่งเสริมการท่องเที่ยว ตามนโยบายกระทรวงคมนาคม ด้วยการออกแบบสะพานให้มีอัตลักษณ์ วัฒนธรรมท้องถิ่น โดยเสาสะพาน หรือเสา PyIon ช่วงกลางสะพาน ออกแบบให้สื่อถึงท่ารำของมโนราห์ เป็นมือที่อ่อนช้อย สวยงาม ส่วนบริเวณเชิงลาดสะพาน จะมีประติมากรรมมโนราห์ ซึ่งเป็นศิลปะวัฒนธรรมในพื้นที่ทั้ง 2 ฝั่ง ทำให้สะพานแห่งนี้เป็นแหล่งท่องเที่ยวแห่งใหม่ที่สำคัญในพื้นที่ในอนาคต ในขณะที่ วิธีการก่อสร้างสะพาน โดยสะพานช่วงหลัก จะก่อสร้างสะพานลำเลียงและแท่นทำงานชั่วคราว ความยาวประมาณ 350 เมตร เพื่อลดผลกระทบต่อทะเลสาบสงขลา ส่วนการขนส่งวัสดุ อุปกรณ์ เครื่องจักร และคนงานก่อสร้าง ไปยังบริเวณที่ก่อสร้างสะพานหลัก จะใช้เรือลำเลียงขนส่ง ทำให้ไม่ต้องก่อสร้างสะพานลำเลียงจากฝั่งที่จะมีความยาวมากเกินไป ขณะที่นายกู้เกียรติ วงศ์กระพันธุ์ ผู้ว่าราชการจังหวัดพัทลุง ระบุว่า หากสะพานข้ามทะเลสาบสงขลาแล้วเสร็จ จะสามารถลดระยะเวลาการเดินทาง จากประมาณ 2 ชั่วโมง เหลือเพียงแค่ 15-20 นาที และ ร่นระยะทางการเดินทางจากประมาณ 90 กิโลเมตร เหลือ ประมาณ 7 กิโลเมตรเท่านั้น พร้อมทั้งช่วยบรรเทาปริมาณการจราจรของถนนสายหลัก รวมทั้งจะช่วยส่งเสริมและสนับสนุนการท่องเที่ยวให้กับพื้นที่โดยรอบทะเลสาบสงขลา ที่มีแหล่งท่องเที่ยวเชิงธรรมชาติ วัฒนธรรม ประเพณี และประวัติศาสตร์ โบราณคดี ทำให้เศรษฐกิจของชุมชนเข้มแข็งมีรายได้จากการท่องเที่ยวมากขึ้น อ้างอิง : กรมทางหลวงชนบท , สำนักงานประชาสัมพันธ์จังหวัดพัทลุง
ราชกิจจาฯ ประกาศลดพื้นที่สีแดงเข้มเหลือ 6 จังหวัด-ยืดเคอร์ฟิวถึง 30 พ.ย. 64 ราชกิจจานุเบกษาต่อไปเพื่อให้มีผลบังคับใช้วันที่ 16 พ.ย. 64 เป็นต้นไปแต่ระหว่างที่ยังไม่มีการประกาศลงในกิจจานุเบกษา ยังคงใช้มาตรการตามที่ประกาศลงในราชกิจจานุเบกษาเมื่อวันที่ 30 ต.ค. 64 ข้อกำหนดออกตามความในมาตรา ๙ แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๔๘ (ฉบับที่ ๓๗) ซึ่งระบุมติศบค. อย่างเป็นทางการเพื่อมีผลบังคับใช้อย่างเป็นทางการ โดยมีเนื้อหาเกี่ยวกับพื้นที่สีแดงเข้มและประกาศเคอร์ฟิวดังนี้ พื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวด ห้ามการจัดกิจกรรมซึ่งมีการรวมกลุ่มของบุคคล ที่มีจํานวนรวมกันมากกว่า 50 คน การห้ามออกนอกเคหสถานสําหรับพื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวด ห้ามบุคคลใด ในเขตพื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวดงดออกนอกเคหสถานระหว่างเวลา 23.00 ถึง 03.00น. ของวันรุ่งขึ้น โดยใช้บังคับต่อเนื่องไปสําหรับพื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวดทุกจังหวัด เป็นระยะเวลาอย่างน้อย 15 วัน จนถึงวันที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2564 และให้การกําหนด เงื่อนไขการปฏิบัติหน้าที่ของพนักงานเจ้าหน้าที่และกรณีของบุคคลที่ได้รับยกเว้นที่ได้ประกาศหรือ ได้อนุญาตไว้ก่อนหน้านี้ยังคงใช้บังคับต่อไป เว็บไซต์ราชกิจจานุเบกษา เผยแพร่ข้อกำหนดออกตามความในมาตรา 9 […]
อ.ระโนด น้ำท่วมขังประชาชนได้รับความเดือดร้อนกว่า 500 ครัวเรือน ผู้ว่าฯ สงขลาลงพื้นที่แล้ว เนื่องจากช่วงศูนย์อุตุนิยมวิทยาภาคใต้ฝั่งตะวันออกได้มีประกาศแจ้งเตือนส่งผลให้บริเวณภาคใต้ฝั่งตะวันออกมีฝนตกหนักหลายพื้นที่ และมีฝนตกหนักมากบางแห่ง ขอให้ประชาชนในพื้นที่เสี่ยงภัยบริเวณจังหวัดสงขลา ระมัดระวังอันตรายจากฝนที่ตกหนักถึงหนักมาก และปริมาณฝนสะสม ซึ่งอาจทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลาก ในช่วงวันที่ 11-13 พ.ย. 64 ต่อมาในวันที่ 15 พ.ย. 64 นายเจษฎา จิตรัตน์ ผู้ว่าราชการจังหวัดสงขลา พร้อมด้วย นายอำพล พงศ์สุวรรณ รองผู้ว่าราชการจังหวัดสงขลา นายไพเจน มากสุวรรณ์ นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดสงขลา นายเชาวลิต นิฒรรัตน์ หัวหน้าสำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดสงขลา ลงพื้นที่ตรวจเยี่ยม และให้กำลังใจผู้ประสบภัยน้ำท่วม เนื่องจากฝนตกหนักในพื้นที่อย่างต่อเนื่องส่งผลให้น้ำเข้าท่วมบ้านเรือนประชาชนในพื้นที่อำเภอระโนด จังหวัดสงขลา โดยมีพื้นที่ประสบภัย จำนวน 3 ตำบล 6 หมู่บ้านได้แก่ ตำบลวัดสน หมู่ 2,3 และ 4, ตำบลท่าบอน ม.3, และตำบลบ่อตรุ ม.4 และ ม.5 ซึ่งประชาชนได้รับความเดือดร้อนกว่า 500 ครัวเรือน โดยนายเจษฎา จิตรัตน์ ผู้ว่าราชการจังหวัดสงขลา ได้มอบถุงยังชีพ ซึ่งภายในถุงประกอบด้วย เครื่องอุปโภคบริโภค ข้าวสาร อาหารแห้ง และน้ำดื่ม เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนแก่ชาวบ้านในเบื้องต้น พร้อมให้ติดตั้งเครื่องสูบน้ำในพื้นที่ลุ่มต่ำ เพื่อเร่งระบายน้ำลงสู่ทะเลสาบสงขลา ทั้งนี้ผู้ว่าราชการจังหวัดสงขลา ได้ร่วมพูดคุยกับชาวบ้านในพื้นที่เพื่อเป็นขวัญและกำลังใจแก่ผู้ที่ประสบภัย พร้อมฝากเตือนพี่น้องประชาชนทุกคนให้ระมัดระวังดูแลบุตรหลานอย่าให้ออกไปเล่นน้ำ และเฝ้าระวังติดตามสถานการณ์น้ำอย่างใกล้ชิด ซึ่งหน่วยงานที่เกี่ยวข้องพร้อมให้ความช่วยเหลืออย่างเต็มที่ อ้างอิง : ผู้ว่าราชการจังหวัดสงขลา
สงขลา แจงดราม่า!! พระอยู่บ้านเดียวกับสีกา ที่แท้เป็นพี่น้องกัน เจ้าคณะจังหวัดเรียกสอบพร้อมตักเตือน วันที่ 11 พ.ย. 64 ตามที่ปรากฏข่าวในโลกโซเชียลที่ได้โพสต์ภาพพระสงฆ์อยู่ที่บ้านกับผู้หญิงเพียงลำพัง ชาวเน็ตต่างเข้ามาแสดงความคิดเห็นจนกลายเป็นกระแสดัง ต่อมาทางสถานีตำรวจภูธรทุ่งตำเสาได้ลงพื้นที่ตรวจสอบ พบว่า พระภิกษุดังกล่าว มีนามว่า พระมหาสุภักดิ์ ธมฺมรกฺขิโต บรรพชาเมื่อ 9 มิถุนายน 2517 อายุ 68 ปี เลขที่ใบสุทธิ 21/2517 สังกัดวัดเอี่ยมวรนุช กรุงเทพฯ หลังจากนั้นได้ไปจำวัดอยู่ที่วัดไทยเชตวัน กัวลาลัมเปอร์ ประเทศมาเลเซีย จนกระทั่งเกิดเหตุการณ์แพร่ระบาดโรคโควิด-19 ในมาเลเซีย เมื่อ 21 ม.ค. 62 จึงเดินทางกลับประเทศไทย มาจำวัดในฐานะพระอาคันตุกะ วัดคลองเรียน อ.หาดใหญ่ จว.สงขลา จนกระทั่งปรากฏภาพดังที่ปรากฏนั้น พระภิกษุท่านดังกล่าว ได้มาช่วยน้องสาวดูแลการก่อสร้างบ้านที่เกิดเหตุเพื่อรองรับพระอาคันตุกะที่จะเดินทางมาจากมาเลเซียก่อนที่จะเดินทางไปกรุงเทพฯ ซึ่งก่อให้เกิดความเข้าใจผิดเป็นที่ติเตียนของผู้ที่ไม่ทราบข้อเท็จจริง มองไปทางชู้สาว อีกทั้งยังเข้าใจไปว่าเป็นเจ้าคณะอำเภอแห่งหนึ่ง ทั้งที่พระภิกษุรูปดังกล่าวเป็นเพียงพระลูกวัดหาใช่เจ้าคณะอำเภอแต่อย่างใด หากปล่อยให้เหตุการณ์ลักษณะนี้เกิดขึ้นอีก […]
จังหวัดสงขลา บวงสรวงสักการะสิ่งศักดิ์สิทธิ์ และวางศิลาฤกษ์ศาลสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชวัดสุวรรณคีรี อ.สิงหนคร วันที่ 11 พ.ย. 64 นายเจษฎา จิตรัตน์ ผู้ว่าราชการจังหวัดสงขลา เป็นประธานในพิธีบวงสรวงสักการะสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ณ วัดสุวรรณคีรี อำเภอสิงหนคร จังหวัดสงขลา เพื่อความเป็นสิริมงคล โดยมีนางสุรียพรรณ์ ณ สงขลา รองผู้ว่าราชการจังหวัดสงขลา พลเรือตรี กฤษฎา รัตนสุภา ผู้บัญชาการฐานทัพเรือสงขลา พลเรือตรี ธวัชชัย พิมพ์เมือง เสนาธิการทัพเรือภาคที่ 2 พลตำรวจตรี วัลลพ จำนงค์อาษา รองผู้บัญชาการตำรวจภูธรภาค 9 พันเอกปกรณ์ จันทรโชตะ รองผู้บัญชาการมณฑลทหารบกที่ 42 นางเลขา สุวรรณชาตรี วัฒนธรรมจังหวัดสงขลา นางอุบลวรรณ เม่งช่วยประธานคณะดำเนินการ นายปัญญา จินดาวงศ์ นายอำเภอสิงหนคร หน่วยงานภาครัฐ เอกชน และประชาชนในพื้นที่เข้าร่วมอย่างพร้อมเพรียง ภายใต้มาตรการป้องกันการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 นายบัญญัติ จันทร์เสนะ อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย เป็นประธานฝ่ายฆราวาส ในพิธีวางศิลาฤกษ์ศาลสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช และมีพระครูวิจิตรศีลาจาร รองเจ้าคณะจังหวัดสงขลา-สตูล (ธรรมยุต) เป็นประธานฝ่ายสงฆ์ พร้อมพระสงฆ์ 10 รูป ร่วมประกอบพิธีสำคัญในครั้งนี้ มีพิธีพราหมณ์ จัดเครื่องสังเวยบวงสรวง พิธีปิดทอง และเจิมแผ่นศิลา ตอกเข็มมงคล วางแผ่นอิฐทอง นาค เงิน และโปรยข้าวตอกดอกไม้ เหรียญทอง-เงิน จากนั้นพระสงฆ์เจริญพระพุทธมนต์ เพื่อความเป็นสิริมงคล สำหรับศาลสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช จัดสร้างเพื่อเป็นอนุสรณ์ และเทิดพระเกียรติเมื่อครั้งที่พระองค์ท่านเคยเสด็จฯมาประทับเมื่อ 252 ปีก่อน และเป็นแห่งแรกของเมืองสงขลาที่ได้มีอนุสาวรีย์รำลึกถึงพระองค์ท่าน โดยขนาดของศาลเป็นอาคารสองชั้น มีความสูง 13.8 เมตร ตัวศาลกว้าง 7.8 เมตร ยาว 10 เมตร มีระเบียงกว้าง 3 เมตรโดยรอบ ยกเว้นด้านหน้าที่มีบันไดขึ้นมีระเบียงกว้าง 5 เมตร ส่วนแบบพระบรมรูปปั้น ทรงชี้พระหัตถ์ขวาลงบนแผ่นดินก่อนยกทัพเรือออกจากเมืองจันทบุรี ไปกรุงศรีอยุธยาเพื่อแผ่นดิน ซึ่งหลวงพ่อเขียน อดีตเจ้าอาวาสวัดกระทิง เขาคิชฌกูฏ จังหวัดจันทบุรี เล่าว่าพระองค์ให้พระแม่ธรณีเป็นสักขีพยาน พระบรมรูปมีความสูง 1.98 เมตร ซึ่งจะอัญเชิญประดิษฐานบนพระแท่นในศาล ได้รับแรง บันดาลใจจากพระบรมสาทิสลักษณ์ด้านหลังธนบัตร ฉบับละ 100 บาท ซึ่งธนาคารแห่งประเทศไทย ได้นำออกมาใช้เมื่อวันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2558 เพื่อเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช โดยได้อัญเชิญพระบรมราชานุสาวรีย์ ซึ่งประดิษฐาน ณ กองบัญชาการกองทัพเรือ พระราชวังเดิม เป็นองค์ต้นแบบ อ้างอิง : สำนักงานประชาสัมพันธ์จังหวัดสงขลา
สงขลา พบผู้ป่วยโควิด 476 คน รวมผู้ป่วยโควิดระลอกเดือน เม.ย. สะสม 52,338 คน วันที่ 11 พ.ย. 64 จังหวัดสงขลาพบผู้ป่วยยืนยันติดเชื้อเพิ่ม 496 ราย มีรายละเอียดผู้ติดเชื้อ ดังนี้ แผนที่แสดงการพบผู้ติดเชื้อ COVID-19 รายวันจังหวัดสงขลา ประจำวันที่ 11 พฤศจิกายน 2564 ขอให้พี่น้องชาวสงขลาร่วมด้วยช่วยกัน การ์ดไม่ตก สวมหน้ากากอนามัยทุกครั้งเมื่ออกจากบ้าน และหมั่นล้างมือทำความสะอาดบ่อย ๆ หลีกเลี่ยงสถานที่ที่มีคนจำนวนมาก พร้อมปฏิบัติตามมาตรการป้องกันตามที่สาธารณสุขกำหนดอย่างเต็มที่ และปฏิบัติตามมาตรการ D-M-H-T-T อย่างเคร่งครัด เพื่อรับมือโควิด-19 ระลอกใหม่นี้ HATYAITODAYNEWS อ้างอิง : ผู้ว่าราชการจังหวัดสงขลา