เปิดประวัติ “อิ่ม จิตต์ภักดี” ศิลปินแห่งชาติการแสดงหนังตะลุง “หนังอิ่มเท่ง”

เปิดประวัติ “อิ่ม จิตต์ภักดี” ศิลปินแห่งชาติการแสดงหนังตะลุง “หนังอิ่มเท่ง”
 นายชาย นครชัย อธิบดีกรมส่งเสริมวัฒนธรรม เปิดเผยว่า นายอิ่ม จิตต์ภักดี ศิลปินแห่งชาติ สาขาศิลปะการแสดง (หนังตะลุง) พุทธศักราช 2540 เสียชีวิตเมื่อวันที่ 24 พ.ค.ที่ผ่านมา เวลาประมาณ 11.14 น. ณ บ้านพัก ต.รัตภูมิ อ.ควนเนียง จ.สงขลา เนื่องจากโรคชรา ด้วยอายุ 99 ปีทางญาติแจ้งว่า ได้ดำเนินการขอพระราชน้ำหลวงอาบศพ ในวันที่ 24 พ.ค. เวลา 17.00 น. และกำหนดสวดพระอภิธรรมศพวันที่ 24 – 26 พ.ค. เวลา 19.00 น. ณ วัดไทรใหญ่ ต.ควนรู อ.ควนเนียง จ.สงขลา และเก็บศพไว้บำเพ็ญกุศล โดยกรมส่งเสริมวัฒนธรรม จะดำเนินการขอพระราชทานเพลิงศพให้เพื่อยกย่องเชิดชูเกียรติศิลปินแห่งชาติต่อไป

อธิบดีกรมส่งเสริมวัฒนธรรม ระบุว่า กรมส่งเสริมวัฒนธรรมจะให้การช่วยเหลือด้านต่างๆ ด้วยการมอบเงินช่วยเหลือเมื่อเสียชีวิตเพื่อร่วมการบำเพ็ญกุศลศพ จำนวน 20,000 บาท และเงินช่วยเหลือค่าจัดทำหนังสือเพื่อเผยแพร่ผลงานเมื่อเสียชีวิตเท่าที่จ่ายจริงไม่เกิน 150,000 บาท ตามระเบียบสวัสดิการของศิลปินแห่งชาติ

ประวัติของนายอิ่ม จิตต์ภักดี

เป็นที่รู้จักกันดีชื่อ “หนังอิ่มเท่ง” ศิลปินแห่งชาติ สาขาศิลปะการแสดง (หนังตะลุง) พุทธศักราช 2540 เกิดเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 2464 เป็นผู้มีความสนใจ การแสดงหนังตะลุงตั้งแต่เด็ก เริ่มแสดงหนังตะลุงแบบครูพักลักจำ ไม่มีใครสอนให้โดยตรง และความศรัทธาในการแสดงหนังตะลุงจึงได้สมัครเป็นศิษย์หนังหม้ง แห่งบ้านชะรัด จังหวัดพัทลุง ซึ่งหนังหม้งได้ถ่ายทอด วิชาความรู้เกี่ยวกับการเล่นหนังตะลุง และพาขึ้นโรงและครอบครู ทำให้นายอิ่ม มานะฝึกฝนการแสดงมากยิ่งขึ้น

ความมีปฏิภาณไหวพริบด้านการแสดงที่จับใจผู้ชมในการด้นกลอนสดที่พลิกแพลงสอดคล้องกับเหตุการณ์ทำให้คณะหนังตะลุง ที่มีชื่อเสียงอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะบทตลกที่มี “เท่ง” เป็นตัวเอกนั้น แสดงได้ถูกใจประชาชน จนได้รับฉายาต่อท้ายชื่อ “หนังอิ่มเท่ง” มาจนปัจจุบัน

นายอิ่ม จิตต์ภักดี มีชื่อเสียงมาตั้งแต่ พ.ศ.2496 รับงานแสดงทั่ว 14 จังหวัดภาคใต้ เป็นคณะหนังตะลุงที่ยังคงรักษาแบบฉบับหนังตะลุงรุ่นเก่าไว้เป็นอย่างดี การแสดงทุกเรื่องจะสอดแทรกคติธรรม เพื่อสร้างจิตสำนึกผิดชอบชั่วดีแก่ประชาชน และยังได้เข้าแข่งขันประชันหนังตะลุงประมาณ 1,000 กว่าครั้ง จนได้รับรางวัลกลองทองคำ เสื้อสามารถ ถ้วยเกียรติยศ และขันน้ำพานรอง ฯลฯ จึงได้รับการยกย่องเชิดชูเกียรติเป็นศิลปินแห่งชาติ สาขาศิลปะการแสดง (หนังตะลุง) พุทธศักราช 2540

โควิด-19

โควิด-19

โควิด-19

HATYAITODAYNEWS

อ้างอิง : กรมส่งเสริมวัฒนธรรม

 

Next Post

เชิญชวนทุกคนร่วมใช้กรอบรูปโปรไฟล์ Facebook เพื่อสืบสาน ปณิธาน “ป๋าเปรม ติณสูลานนท์”

Tue May 26 , 2020
เชิญชวนทุกคนร่วมใช้กรอบรูปโปรไฟล์ Facebook เพื่อสืบสาน ปณิธาน “ป๋าเปรม ติณสูลานนท์” วันที่ 26 พ.ค. 63  ทาง Facebook ผู้ว่าราชการจังหวัดสงขลา ขอเชิญชวน พี่น้องชาวสงขลา และชาวไทยทุกคน ร่วมใช้กรอบรูปโปรไฟล์ Facebook เพื่อร่วมสืบสาน ปณิธาน ป๋า พลเอก เปรม ติณสูลานนท์ ซึ่งวันที่ 26 พฤษภา ครบรอบ 1 ปี การถึงแก่อสัญกรรม พลเอก เปรม ติณสูลานนท์ ปณิธานของป๋าเปรมคือ “เกิดมาต้องตอบแทนบุญคุณแผ่นดิน” ประวัติพลเอก เปรม ติณสูลานนท์ พลเอก เปรม ติณสูลานนท์ เกิดที่ตำบลบ่อยาง อำเภอเมืองสงขลา จังหวัดสงขลา ชื่อ “เปรม” นั้น พระรัตนธัชมุนี (แบน คณฺฐาภรโณ) เป็นผู้ตั้งให้ ส่วนนามสกุล “ติณสูลานนท์” พระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้พระราชทานให้ เมื่อวันที่ […]
ปกข่าวแบบเว็บไซต์ 01