หาดใหญ่-ควนลัง เกิดเหตุรถบรรทุกตู้คอนเทนเนอร์ชนสะพานคนขับเสียชีวิต เมื่อเวลา 23.10 น. วันที่ 22 มิ.ย. 64 ที่ผ่านมา หน่วยกู้ภัยมูลนิธิมิตรภาพสามัคคี(ท่งเซียเซี่ยงตึ๊ง)หาดใหญ่ พร้อมด้วยเทศบาลเมืองควนลัง นำกำลังพร้อมรถดับเพลิงไปตรวจสอบอุบัติเหตุรถบรรทุกเทรลเลอร์ชนขอบสะพานและมีไฟไหม้ตามมา บริเวณถนนอุโมงค์ลอดทางสายเอเซียบ้านหน้าควนลัง ต.ควนลัง อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา บริเวณที่เกิดเหตุพบรถบรรทุกตู้คอนเทนเนอร์ป้ายทะเบียนหัวรถ71-9422สงขลา , ส่วนหางทะเบียน71-9423สงขลา กำลังถูกไฟลุกไหม้อย่างรุนแรงหลังตกลงมาจากบนถนนสายหลัก เจ้าหน้าที่ดับเพลิงและหน่วยกู้ภัยได้เร่งฉีดน้ำสกัดอย่างเร่งด่วนจนสามารถควบคุมเพลิงเอาไว้ได้แต่ยังมีกลุ่มควันจำนวนมาก จากนั้นหน่วยกู้ภัยได้เข้าไปตรวจสอบที่ตำแหน่งคนขับ พบผู้เสียชีวิต1 ราย ทราบชื่อต่อมานายชาคลิฟ หมัดเบ็นหลี อายุ 23 ปี อยู่บ้านเลขที่32 หมู่ที่1 ต.ฉลุง อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา สภาพศพถูกไฟคลอกทั้งตัว จากนั้นร.ต.อ.ปริญญา ปิยญาติ สารวัตรสอบสวนสภ.หาดใหญ่และแพทย์ได้ทำการชันสูตรพลิกศพในที่เกิดเหตุก่อนจะให้หน่วยกู้ภัยนำร่างไปเก็บรักษาไว้ที่โรงพยาบาลหาดใหญ่จากการสอบสวนเบื้องต้นทราบว่ารถคันดังกล่าววิ่งมาจากอ.สะเดา จ.สงขลา โดยได้บรรทุกแผงไข่ไก่มาเต็มตู้คอนเทนเนอร์ และเมื่อมาถึงที่เกิดเหตุก็ได้เสียหลักชนราวสะพานก่อนจะพลักตกลงไปด้านล่างซึ่งเป็นถนนลอดเพื่อใช้สัญจรไปมาระหว่างบ้านผู้ว่าปกครองกับตัวเมืองหาดใหญ่ หลังจากรถตกลงมาทั้งคันก็ได้เกิดไฟลุกไหม้ตามมาจนทำให้คนขับติดอยู่ในรถและโดนไฟคลอกจนเสียชีวิต ส่วนสาเหตุที่แท้จริงทางร้อยเวรจะสอบสวนอย่างละเอียดอีกครั้ง อ้างอิง : มูลนิธิมิตรภาพสามัคคี(ท่งเซียเซี่ยงตึ๊ง)หาดใหญ่
ข่าวภาคใต้
คึกคัก แพขนานยนต์สงขลา เปิดให้บริการวันแรก หลังปิด 2 วัน เนื่องจากพบพนักงานติดเชื้อโควิด-19 วันที่ 23 มิ.ย. 64 แพขนานยนต์ขององค์การบริหารส่วนจังหวัดสงขลาเปิดวิ่งให้บริการแล้ว ตั้งแต่เวลา 05.00 น. เป็นต้นมา มีประชาชนทั้งชาวสงขลา และชาวสิงหนครมาใช้บริการตามปรกติ หลังหยุดวิ่งมา 2 วัน หลังพบพนักงานแพขนานยนต์บางส่วนติดโควิด-19 ต้องกักตัวระยะหนึ่งเพื่อดูอาการ และทางแพขนานยนต์ได้บิ๊กคลีนนิ่งทำความสะอาดแพขนานยนต์ ฉีดพ่นน้ำยาฆ่าเชื้อ ทั้ง 3 ลำ รวมทั้งอาคารสำนักงานบริเวณท่าแพทุกหลังด้วย เพื่อสร้างความมั่นใจให้กับประชาชนที่มาใช้บริการ และบรรเทาความเดือดร้อนให้กับประชาชนที่มีความจำเป็นต้องใช้แพขนานยนต์ ข้ามฟากเป็นประจำทุกวัน เนื่องจากเป็นการประหยัดค่าใช้จ่ายที่ดีที่สุดในขณะนี้ ในขณะเดียวกัน ทางองค์การบริหารส่วนจังหวัดสงขลา ออกประกาศขอเปลี่ยนแปลงเวลาให้บริการแพขนานยนต์เป็น 2 ช่วงเวลา ดังนี้ ช่วงที่ 1 เวลา 05.00 น.-09.00 น. ช่วงที่ 2 เวลา 16.00 น.- 20.00 น. ทั้งนี้ตั้งแต่วันที่ 23 มิถุนายน 2564 เป็นต้นไป จนกว่าจะมีการเปลี่ยนแปลง จึงเรียนมาเพื่อทราบและขออภัยในความไม่สะดวก สำหรับสาเหตุที่ต้องเปลี่ยนแปลงเวลาจำกัดการให้บริการ สาเหตุเนื่องจากพนักงานแพขนานยนต์บางส่วนติดโควิด-19 ต้องกักตัวระยะหนึ่ง 14 วัน เพื่อดูอาการจนกว่าแน่ใจว่าหายดีแล้ว แพขนานยนต์ถึงจะได้มาให้บริการเต็มรูปแบบตามปกติอีกครั้งหนึ่ง โดยในเช้าวันนี้ ใช้แพขนานยนต์ 2 ลำ คือ หมายเลข 9 และหมายเลข 11 โดยหมายเลข 9 บรรทุกรถยนต์ และรถจักรยานยนต์บางส่วน ส่วนหมายเลข 11 ใช้บรรทุกเฉพาะรถจักรยานยนต์เท่านั้น เนื่องจากมีรถจักรยานยนต์ทั้งฝั่งสิงหนคร และฝั่งอำเภอเมืองสงขลาที่จะเดินทางไปทำงานเป็นจำนวนมาก จึงต้องแยกแพขนานยนต์คนละลำเพื่อความรวดเร็วสำหรับคนทำงานที่ใช้รถจักรยานยนต์ อย่างไรก็ตาม ในวันนี้มีประชาชนเดินทางมาใช้บริการแพขนานยนต์เหมือนปกติไม่ได้ลดน้อยลงเลย เนื่องจากมีความมั่นใจในความปลอดภัย และการปลอดเชื้อ เพราะทางแพขนานยนต์ได้บิ๊กคลีนนิ่งทำความสะอาดแพขนานยนต์ ฉีดพ่นน้ำยาฆ่าเชื้อแพ ทั้ง 3 ลำ รวมทั้งอาคารสำนักงานบริเวณท่าแพทุกหลังด้วย อ้างอิง : สวท.สงขลา
รีบเช็ก ! คนละครึ่งเฟส 3 ยืนยันตัวตนสแกนใบหน้า และยืนยันผ่านตู้ ATM กรุงไทย หลังจากที่ทางรัฐบาลแจกเงิน 3,000 บาท พร้อมเปิดให้ลงทะเบียนโคงการคนละครึ่งเฟส 3 เพิ่มอีก 16 ล้านคน และผู้ลงทะเบียนบางกลุ่มยังพบปัญหาการยืนยันตัวตนไม่ผ่าน สแกนใบหน้าไม่สำเร็จ หรือนำบัตรประชาชนไปเสียบในตู้ ATM แล้วก็ยังไม่ผ่าน สำหรับผู็เข้าร่วมโครงการคนละครึ่ง เฟส 1 เฟส 2 เราชนะ ม.33 เรารักกัน เราเที่ยวด้วยกัน ชิมช้อปใช้ ฯลฯ มาแล้ว แต่ถ้าในตอนนั้นยังไม่เคยนำบัตรประชาชนไปยืนยันตัวตนที่ธนาคารกรุงไทย หรือตู้ ATM ของธนาคารกรุงไทย จะต้องทำการยืนยันตัวตนใหม่ เพื่อใช้สิทธิคนละครึ่งเฟส 3 และต้องตรวจสอบที่แท็บ คนละครึ่ง ในแอปฯ เป๋าตัง หากขึ้นข้อความว่า กรุณายืนยันตัวตนเพิ่มเติมเพื่อใช้สิทธิโครงการ เนื่องจากการยืนยันตัวตนของคุณยังไม่สมบูรณ์ กรุณาทำการยืนยันตัวตน แสดงว่าเราต้องยืนยันตัวตนใหม่ และสามารถยืนยันตัวตนได้ถึง ภายในวันที่ 31 ธันวาคม 64 […]
สงขลา พบผู้ป่วยโควิด 292 คน รวมผู้ป่วยโควิดระลอกเดือน เม.ย. สะสม 3,758 คน วันที่ 22 มิ.ย. 64 จังหวัดสงขลาพบผู้ป่วยยืนยันติดเชื้อ 293 ราย โดยมีรายละเอียดผู้ติดเชื้อ ดังนี้1. เป็นผู้ติดเชื้อจากการตรวจเชิงรุกในกลุ่มพนักงานบริษัทสงขลาแคนนิ่งจำนวน 263 รายโดยผู้ติดเชื้อทุกรายอยู่ภายใต้การกักกันควบคุมโรค โดยมิได้มีการสัมผัสจากภายนอกทั้งนี้ สำหรับผู้ป่วยที่พบเชื้อ จังหวัดสงขลาได้ทยอยส่งตัวเข้ารับการรักษา ณ โรงพยาบาลสนาม ตั้งแต่วันจันทร์ที่ 21 มิ.ย. 64 แล้ว2. ผู้ป่วยกลุ่มอื่นๆ อีก 30 ราย (ผู้ต้องขังในเรือนจำ 1 ราย) ขอให้พี่น้องชาวสงขลาร่วมด้วยช่วยกัน การ์ดไม่ตก สวมหน้ากากอนามัยทุกครั้งเมื่ออกจากบ้าน และหมั่นล้างมือทำความสะอาดบ่อย ๆ หลีกเลี่ยงสถานที่ที่มีคนจำนวนมาก พร้อมปฏิบัติตามมาตรการป้องกันตามที่สาธารณสุขกำหนดอย่างเต็มที่ และปฏิบัติตามมาตรการ D-M-H-T-T อย่างเคร่งครัด เพื่อรับมือโควิด-19 ระลอกใหม่นี้ […]
ศบค.เน้นโรงเรียนคุมเข้มมาตรการต้อนรับเปิดเทอม พื้นที่สีแดง 17 จังหวัด วันที่ 22 มิ.ย. 64 ทางกระทรวงศึกษาธิการ เปิดเผยว่ามีกระบวนการสำคัญ คือให้สถานศึกษาทุกแห่ง ประเมิน thai stop covid plus ซึ่งเป็นชุดคำถามจัดโดยกรมอนามัย โดยก่อนที่จะเปิดภาคเรียนโรงเรียนในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) 29,000 แห่ง ทั่วประเทศ รวมทั้งอีกกว่า 5,000 แห่ง ในสังกัดคณะกรรมการการศึกษาเอกชน (สช.) พบว่าร้อยละ 99.1 ผ่านการประเมิน thai stop covid plus เรียบร้อยแล้ว ส่วนอีกร้อยละ 1 ที่ยังไม่ผ่าน ไม่ใช่สอบไม่ผ่านแต่เป็นสถานศึกษาระดับมหาวิทยาลัย ที่ขณะนี้ยังไม่เปิดการเรียนการสอน จึงยังไม่มีการประเมิน ครู-นักเรียนต้องทำ thai save thai ประเมินตนเองก่อนมาเรียน ส่วน กทม. มีโรงเรียนในสังกัด กทม. 437 โรงเรียนที่ต้องทำแบบประเมิน thai stop covid plus เช่นกัน เพื่อยืนยันให้เกิดความมั่นใจ ทางกรมควบคุมโรคและกระทรวงศึกษาธิการ ยังเน้นย้ำให้ครู และนักเรียน ผู้ปกครอง ทำ thai save thai เพื่อประเมินตนเองด้วย โดยเป็นการประเมินรายวันก่อนเดินทางมาโรงเรียน ทั้งนี้ยังมีการซักซ้อมแผน เพื่อให้ผู้ปกครอง และสถานศึกษาได้ปฏิบัติอย่างถูกต้อง เน้นย้ำการปิดอาจไม่ตอบโจทย์ กรณีการพบผู้ติดเชื้อ 1-2 ราย หรือใน 1-2 ห้องเรียน เพื่อให้การเปิดเรียนผ่านไปด้วยดีส่วนเด็กพิเศษ ที่เป็นนักเรียนประจำ ยังไม่สามารถเปิดได้ อาจต้องมีมาตรการเพิ่มแยกออกไป และต้องมีการตรวจ rapid test เพื่อยืนยันว่าไม่เป็นผู้ติดเชื้อ เข้าไปศึกษาในโรงเรียน อย่างไรก็ตาม ในภาพรวม ของกลุ่มเด็กพิเศษ เด็กพิการ รวมถึง กลุ่มเปราะบาง ที่จะต้องมีการดูแล การสัมผัส เบื้องต้นกำหนด ให้ครูทุกคน และผู้ดูแล จะต้องได้รับวัคซีนให้ครบถ้วนก่อน มาตรการควบคุมการแพร่ระบาดตามความเหมาะสมของแต่ละพื้นที่ ประกอบด้วย 4 จังหวัดสีแดงเข้ม ใช้รูปแบบ ออนไลน์ และออนแอร์เท่านั้น พื้นที่สีแดงเข้ม 4 จังหวัด ได้แก่ กรุงเทพฯ นนทบุรี ปทุมธานี และสมุทรปราการ ยังเปิดเรียนแบบปกติไม่ได้และห้ามใช้อาคารสถานที่เพื่อจัดการเรียนการสอน หรือกิจกรรมที่มีการรวมคนจำนวนมาก จึงใช้รูปแบบ เรียนออนไลน์ หรือ ออนแอร์ เท่านั้น โรงเรียนในพื้นที่ควบคุมสูงสุด หรือ พื้นที่สีแดง มี 17 จังหวัด ได้แก่ กาญจนบุรี, ชลบุรี, ฉะเชิงเทรา, ตาก, นครปฐม, นครศรีธรรมราช, นราธิวาส, ประจวบคีรีขันธ์, พระนครศรีอยุธยา, เพชรบุรี, ยะลา, ระนอง, ระยอง, ราชบุรี, สมุทรสาคร, สงขลา และสุราษฎร์ธานี สามารถเปิดเรียนได้ และเปิดให้ใช้อาคารสถานที่ฯ โดยผ่านความเห็นชอบจากคณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัด ส่วนโรงเรียนใน 56 จังหวัดที่เหลือ ซึ่งเป็น พื้นที่สีส้ม เปิดเรียนได้ตามปกติมาตรการของ ศบค. รมช.ศึกษาฯ เสนอ 5 รูปแบบการเรียนการสอนในช่วงโควิด-19 ด้าน ดร.คุณหญิงกัลยา โสภณพนิช รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ กล่าวถึงการเปิดภาคเรียนปีการศึกษา 2564 ในช่วงที่มีการแพร่ระบาดว่า ได้มีการกำหนดแนวทางไว้ 5 รูปแบบให้แต่ละโรงเรียนนำไปใช้ตามความเหมาะสม ดังนี้ 1. On-site เรียนที่โรงเรียน โดยมีมาตรการเฝ้าระวังตามประกาศของศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (ศบค.) 2. On-air เรียนผ่านมูลนิธิการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม ในพระบรมราชูปถัมภ์ หรือ DLTV 3. On-demand เรียนผ่านแอปพลิเคชันต่าง ๆ 4. On-line เรียนผ่านอินเทอร์เน็ต 5. On-hand เรียนที่บ้านด้วยเอกสาร เช่น หนังสือ แบบฝึกหัด ใบงาน ในรูปแบบผสมผสาน หรืออาจใช้วิธีอื่น ๆ เช่น วิทยุ เป็นต้น เพื่อให้เกิดความยืดหยุ่นตามความเหมาะสมของแต่ละพื้นที่ อ้างอิง : สำนักงานประชาสัมพันธ์
สงขลา เสริมเตียงสนาม 200 เตียง รองรับสถานการณ์โควิคในพื้นที่ที่ทวีความรุนแรงขึ้นลำดับที่ 4 ของประเทศไทย วันที่ 22 มิ.ย. 64 พลตรีไพศาล หนูสังข์ ผู้บัญชาการกองพลทหารราบที่15 เดินทางไปยัง กองพันเสนารักษ์ กรมสนับสนุน กองพลทหารราบที่ 15 ค่ายลพบุรีราเมศวร์ ตำบลเกาะสะบ้า อำเภอเทพา จังหวัดสงขลา ตามสั่งการของนายกรัฐมนตรีและผู้บัญชาการทหารบก ที่ให้หน่วยทหารในพื้นที่สนับสนุนการจัดตั้งโรงพยาบาลสนาม พร้อมบุคลากรทางการแพทย์ และสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสงขลา ขออนุญาตใช้สถานที่ เพื่อจัดทำเป็นโรงพยาบาลสนาม ระดับ 1 เพื่อรองรับผู้ป่วย จากสาธารณสุขจังหวัดสงขลา โดยใช้สถานที่อาคารโรงนอน ของกองพันเสนารักษ์ เป็นโรงพยาบาลสนาม .สำหรับโรงพยาบาลสนาม กองพันเสนารักษ์ กรมสนับสนุน กองพลทหารราบที่ 15 ค่ายลพบุรีราเมศวร์ มีเตียงเพื่อรองรับผู้ป่วยจำนวน 200 เตียง ซึ่งปัจจุบัน โรงพยาบาลสนาม ค่ายลพบุรีราเมศวร์ มีผู้ป่วยรับส่งต่อ ที่รักษาตัวอยู่ภายในโรงพยาบาลสนาม […]