สถานการณ์โควิด-19 วันที่ 7 พฤศจิกายน 2563 พบผู้ติดเชื้อเพิ่ม 12 ราย เข้าพักสถานที่กักกันที่รัฐจัดให้ (State Quarantine)

สถานการณ์โควิด-19 วันที่ 7 พฤศจิกายน 2563 พบผู้ติดเชื้อเพิ่ม 12 ราย เข้าพักสถานที่กักกันที่รัฐจัดให้ (State Quarantine)

วันที่ 7 พฤศจิกายน  2563 เวลา 11.00 ศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 (โควิด-19) หรือศบค.ได้เสนอข้อมูลสถานการณ์โควิด-19 ในประเทศไทย ซึ่งในวันนี้พบผู้ติดเชื้อเพิ่ม 12 ราย เป็นผู้ที่เดินทางมาจากต่างประเทศเข้าพักสถานที่กักกันที่รัฐจัดให้ (State Quarantine)

สำหรับรายละเอียดของผู้ป่วยรายใหม่ 12 ราย มีดังนี้

สรุปสถานการณ์ COVID-19 วันเสาร์ที่ 7 พฤศจิกายน 2563
? ผู้ป่วยรายใหม่ 12 ราย
ผู้ป่วยสะสม 3,830 ราย
? หายป่วยเพิ่ม 5 ราย
รักษาอยู่ 126 ราย
หายป่วยทั้งหมด 3,644 ราย
? เสียชีวิตเพิ่ม 0 ราย
เสียชีวิตทั้งหมด 60 ราย
• ประวัติเสี่ยง : ผู้ที่เดินทางมาจากต่างประเทศและเข้าสถานที่กักกันที่รัฐจัดให้ จาก ?? ฝรั่งเศส 2 ราย ?? สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ 1 ราย ?? อินเดีย 1 ราย ?? สหรัฐอเมริกา 2 ราย ?? เม็กซิโก 1 ราย ?? สวิตเซอร์แลนด์ 1 ราย ?? เนเธอร์แลนด์ 1 ราย

 

ไม่มีคำอธิบายรูปภาพ

 

HATYAITODAYNEWS

อ้างอิงข้อมูลจาก : ศูนย์ข้อมูล COVID-19

ทั้งนี้ท่านสามารถติดตามรายงานสถานการณ์โควิด-19 ได้ในแบบเรียลไทม์

 

Next Post

ศิลปศาสตร์ ม.อ. จับมือ TFT ติดปีก นศ. อุตสาหกรรมการบิน รุ่นแรก พร้อมตอบโจทย์บัณฑิตคุณภาพสู่ตลาด

Sat Nov 7 , 2020
ศิลปศาสตร์ ม.อ. จับมือ TFT ติดปีก นศ. อุตสาหกรรมการบิน รุ่นแรก พร้อมตอบโจทย์บัณฑิตคุณภาพสู่ตลาด  เมื่อวานนี้ (6 พ.ย. 63) ที่ ห้องประชุมรพีพรรณ สุวรรณณัฐโชติ ชั้น 1 คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา รศ.ดร.นิวัติ แก้วประดับ อธิการบดีมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ เป็นประธานในพิธีติดปีกนักศึกษาหลักสูตรอุตสาหกรรมการบิน คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ รุ่นที่ 1 โดยมี ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.กานดา จันทร์แย้ม คณบดีคณะศิลปศาสตร์ พร้อมด้วย กัปตัน ดร.ธนะพัฒน์ ศิริจารุอนันต์ ผู้จัดการฝ่ายปฏิบัติการ บจก. ไทยไฟลท์เทรนนิ่ง จำกัด คณาจารย์ บุคลากร นักศึกษา ตลอดจนผู้ปกครองเข้าร่วมงานอย่างคับคั่ง ด้าน กัปตัน ดร.ธนะพัฒน์ ศิริจารุอนันต์ ผู้จัดการฝ่ายปฏิบัติการ บจก. ไทยไฟลท์เทรนนิ่ง จำกัด กล่าวว่า โดยปกติแล้วอุตสาหกรรมการบินเป็นอุตสาหกรรมที่ได้รับความนิยมและถือเป็นความจำเป็นพื้นฐานในยุคปัจจุบัน ทั้งยังเป็นอุตสาหกรรมที่มีการจ้างงานในการให้บริการมากกว่า 10 ล้านตำแหน่งทั่วโลก ซึ่งคิดเป็นร้อยละ 3.4 ของ GDP ทั่วโลก จากข้อมูลปีที่แล้ว มีผู้โดยสารเดินทาง 4.5 พันล้านคน จำนวน 100,000 เที่ยวบินต่อวัน ในช่วงการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (covid-19) เริ่มขึ้น ทำให้ความต้องการของผู้บริโภคเริ่มลดลงอย่างไม่เคยปรากฏมาก่อนและจนถึงขณะนี้ ส่งผลกระทบต่อธุรกิจการบิน และความสามารถในการทำกำไรของอุตสาหกรรมการบิน ซึ่งส่งผลทำให้การเดินทางด้วยเครื่องบินเปลี่ยนโฉมหน้าในอนาคตอันใกล้ “มีการคาดการณ์ว่าธุรกิจการบินจะมีการปรับตัวอย่างมาก อย่างไรก็ตามการมีสายการบินยังคงมีความจำเป็นต่อการเดินทางภายในและระหว่างประเทศ แต่ก็จะต้องมีการลดค่าใช้จ่าย โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การปรับค่าใช้จ่ายในการฝึกอบรม ซึ่งจะเป็นการลดรายจ่ายอันดับแรกที่ทุกสายการบินจะต้องนำมาพิจารณา โดยให้มีการฝึกอบรมผ่าน Approve Training Organization ซึ่งถือเป็นการฝึกอบรมที่ได้มาตรฐานและเป็นที่ยอมรับของ ICAO ดังนั้น นักศึกษาที่ได้รับการเรียนการสอนผ่าน Approved Training Organization จึงมีมาตรฐานระดับนานาชาติ และสามารถลดค่าใช้จ่ายในการฝึกอบรมให้กับอุตสาหกรรมการบินได้เป็นอย่างดี” กัปตัน ดร.ธนะพัฒน์ กล่าว ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.กานดา จันทร์แย้ม คณบดีคณะศิลปศาสตร์ กล่าวถึงบทบาทคณะฯ ในการตอบโจทย์ตลาดอุตสาหกรรมการบินและการบริการว่าคณะมีความมุ่งมั่นในการจัดการการศึกษาอย่างมีคุณภาพ และได้ร่วมกับ บริษัท ไทยไฟลท์เทรนนิ่ง จำกัดฯ ในฐานะพันธมิตรทางการศึกษาในการผลิตบัณฑิตเพื่อตอบโจทย์ คนรุ่นใหม่ มุ่งเน้นการเรียนการสอนที่เน้นปฏิบัติจริงที่ศูนย์ปฏิบัติการทางการบิน ณ สถานประกอบการที่ทันสมัย เป็นแห่งเดียวในภาคใต้ ตอบโจทย์ภาคการผลิตสู่อุตสาหกรรมอนาคต อีกทั้งยังมีแผนเปิดหลักสูตรประกาศนียบัตรสำหรับบุคคลทั่วไป เพื่อรองรับการทำงานในอุตสาหกรรมการบินและการบริการอีกด้วยในอนาคต […]
อุตสาหกรรมการบิน รุ่นแรก