สถานการณ์โควิด-19 วันที่ 31 พฤษภาคม 2563 พบผู้ป่วยเพิ่มอีก 4 ราย

สถานการณ์โควิด-19 วันที่ 31 พฤษภาคม 2563 พบผู้ป่วยเพิ่มอีก 4 ราย

วันที่ 31 พฤษภาคม 2563 พญ.พรรณประภา ยงค์ตระกูล รองโฆษกศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (ศบค.) แถลงการณ์แทน นพ.ทวีศิลป์ วิษณุโยธิน โฆษกศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (ศบค.) รายงานสถานการณ์ผู้ป่วยโควิด-19 พบว่าวันนี้มีรายงานผู้ป่วยยืนยันเพิ่ม 4 ราย และไม่พบผู้เสียชีวิตเพิ่มเติม โดยผู้ป่วยรายใหม่มีรายละเอียดดังนี้

ผู้ป่วยยืนยันเพิ่มขึ้น 4 ราย ตามข้อมูลดังนี้

1. ผู้ป่วยรายใหม่ จากระบบเฝ้าระวังและระบบบริการฯ 0 ราย

2. การค้นหาผู้ป่วยเชิงรุกและค้นหาผู้ติดเชื้อในชุมชน จำนวน 0 ราย

3.สำหรับรายละเอียดผู้ติดเชื้อเพิ่ม 4 คน เป็นผู้เดินทางกลับมาจากต่างประเทศ และเข้า State Quarantine หรือ สถานที่ควบคุมโรคที่ภาครัฐจัดตั้งขึ้น

  • เดินทางกลับมาจากประเทศสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ 1 ราย เพศหญิงอายุ 37 ปี อาชีพพนักงานนวด เดินทางมาถึงวันที่ 24 พ.ค. เข้าพักโรงแรมในกทม. มีน้ำมูก หายใจลำบาก ปวดศีรษะ ปวดท้อง วันที่ 29 พ.ค. ตรวจพบเชื้อ เข้ารักษาที่โรงพยาบาลเลิดสิน กทม.
  • เดินทางกลับจากประเทศตุรกี 2 ราย เพศชาย อายุ 18 และ 19 ปี อาชีพนักศึกษา เมืองอิสตันบูล เดินทางมาถึงไทยวันที่ 29 พ.ค. เข้าพักโรงแรมจังหวัดชลบุรี วันที่ 29 ตรวจพบเชื้อ ไม่มีอาการ เข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลบางละมุง จ.ชลบุรี
  • เดินทางกลับมาจากประเทศซาอุดิอาระเบีย 1 ราย เพศชายอายุ 22 ปี อาชีพนักศึกษา เดินทางจากกรุงริยาด-กัวลาลัมเปอร์ แล้วเดินทางเข้าประเทศไทยทางด่านปาดังเบซาร์โดยรถบัส ถึงวันที่ 21 พ.ค. เข้าพักในจังหวัดนราธิวาสวันที่ 21 พ.ค. ตรวจไม่พบเชื้อ ตรวจซ้ำวันที่ 29 พบเชื้อ เข้ารับการรักษาโรงพยาบาลนราธิวาสราชนครินทร์ จ. นราธิวาส

โดยสรุปวันนี้ สถานการณ์ โควิด-19 วันที่ 31 พ.ค. 2563 มีผู้ป่วยกลับบ้านสะสม 2,963 ราย ยังรักษาในโรงพยาบาล 61 ราย เสียชีวิตรวม 57 ราย รวมมีผู้ป่วยสะสม 3,081 ราย

โควิด-19

HATYAITODAYNEWS

อ้างอิงข้อมูลจาก : ศูนย์ข้อมูล COVID-19

ทั้งนี้ท่านสามารถติดตามรายงานสถานการณ์โควิด-19 ได้ในแบบเรียลไทม์

Next Post

ผู้ที่สูบบุหรี่ หากติดเชื้อโควิด-19 เสี่ยงอาการรุนแรงอาจถึงขั้นเสียชีวิตได้

Sun May 31 , 2020
ผู้ที่สูบบุหรี่ หากติดเชื้อโควิด-19 เสี่ยงอาการรุนแรงอาจถึงขั้นเสียชีวิตได้  นายแพทย์มานัส โพธาภรณ์ รองอธิบดีกรมการแพทย์ เผยว่า บุหรี่เป็นอันตรายต่อสุขภาพของผู้สูบและบุคคลใกล้เคียง สารเสพติดที่สำคัญคือ นิโคติน มีผลต่อสมองทำให้เกิดการเสพติดที่เรียกว่า โรคสมองติดยา และสารในบุหรี่อีกหลายชนิดก่อให้เกิดโรคมากกว่า 25 โรค เช่น โรคมะเร็ง โรคหัวใจขาดเลือด โรคถุงลมโป่งพอง เป็นต้น ในปี 2563 ประเทศไทยและทั่วโลกประสบปัญหาการแพร่ระบาดของโรคปอดอักเสบจากการติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID -19) ผู้ที่มีประวัติการสูบบุหรี่จะมีอาการรุนแรงกว่าผู้ที่ไม่สูบบุหรี่ถึง 14 เท่าปอดอักเสบอย่างรุนแรงและเสียชีวิตได้ การสูบบุหรี่เป็นการทำลายระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย ทำให้กระบวนการกำจัดสิ่งแปลกปลอมและเชื้อโรคที่หลุดเข้ามาที่ปอดแย่ลง เซลล์ปอดเกิดการอักเสบสะสมเรื้อรัง ทำให้สิ่งแปลกปลอมและเชื้อโรคเข้าสู่ปอดได้ง่ายขึ้น เมื่อมีการติดเชื้อปอดของผู้สูบบุหรี่จะเกิดการอักเสบที่รุนแรงกว่าผู้ที่ไม่สูบบุหรี่ การเลิกสูบบุหรี่จึงเป็นการช่วยลดการอักเสบและยับยั้งการถูกทำลายของเซลล์ปอด ทำให้ระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายดีขึ้น นอกจากนี้การเลิกสูบบุหรี่ยังเป็นการลดค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็น นายแพทย์สรายุทธ์ บุญชัยพานิชวัฒนา ผู้อำนวยการสถาบันบำบัดรักษาและฟื้นฟูผู้ติดยาเสพติดแห่งชาติบรมราชชนนี กล่าวเพิ่มเติม สถาบันบำบัดรักษาและฟื้นฟูผู้ติดยาเสพติดแห่งชาติบรมราชชนนี (สบยช.) มีภารกิจหลักในการบำบัดรักษาและฟื้นฟูผู้ติดยาและสารเสพติดทุกประเภท ซึ่งผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษาส่วนใหญ่เป็นผู้สูบบุหรี่ ซึ่งการเลิกบุหรี่มีหลายวิธีขึ้นอยู่กับระดับการติดนิโคตินและความตั้งใจที่จะเลิก เช่น การหักดิบ หมากฝรั่งนิโคติน ออกกำลังกาย […]
โควิด-19