ศบค.เน้นโรงเรียนคุมเข้มมาตรการต้อนรับเปิดเทอม พื้นที่สีแดง 17 จังหวัด วันที่ 22 มิ.ย. 64 ทางกระทรวงศึกษาธิการ เปิดเผยว่ามีกระบวนการสำคัญ คือให้สถานศึกษาทุกแห่ง ประเมิน thai stop covid plus ซึ่งเป็นชุดคำถามจัดโดยกรมอนามัย โดยก่อนที่จะเปิดภาคเรียนโรงเรียนในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) 29,000 แห่ง ทั่วประเทศ รวมทั้งอีกกว่า 5,000 แห่ง ในสังกัดคณะกรรมการการศึกษาเอกชน (สช.) พบว่าร้อยละ 99.1 ผ่านการประเมิน thai stop covid plus เรียบร้อยแล้ว ส่วนอีกร้อยละ 1 ที่ยังไม่ผ่าน ไม่ใช่สอบไม่ผ่านแต่เป็นสถานศึกษาระดับมหาวิทยาลัย ที่ขณะนี้ยังไม่เปิดการเรียนการสอน จึงยังไม่มีการประเมิน ครู-นักเรียนต้องทำ thai save thai ประเมินตนเองก่อนมาเรียน ส่วน กทม. มีโรงเรียนในสังกัด กทม. 437 โรงเรียนที่ต้องทำแบบประเมิน thai stop covid plus เช่นกัน เพื่อยืนยันให้เกิดความมั่นใจ  ทางกรมควบคุมโรคและกระทรวงศึกษาธิการ ยังเน้นย้ำให้ครู และนักเรียน ผู้ปกครอง ทำ thai save thai เพื่อประเมินตนเองด้วย โดยเป็นการประเมินรายวันก่อนเดินทางมาโรงเรียน ทั้งนี้ยังมีการซักซ้อมแผน เพื่อให้ผู้ปกครอง และสถานศึกษาได้ปฏิบัติอย่างถูกต้อง เน้นย้ำการปิดอาจไม่ตอบโจทย์ กรณีการพบผู้ติดเชื้อ 1-2 ราย หรือใน 1-2 ห้องเรียน เพื่อให้การเปิดเรียนผ่านไปด้วยดีส่วนเด็กพิเศษ ที่เป็นนักเรียนประจำ ยังไม่สามารถเปิดได้ อาจต้องมีมาตรการเพิ่มแยกออกไป และต้องมีการตรวจ rapid test เพื่อยืนยันว่าไม่เป็นผู้ติดเชื้อ เข้าไปศึกษาในโรงเรียน อย่างไรก็ตาม ในภาพรวม ของกลุ่มเด็กพิเศษ เด็กพิการ รวมถึง กลุ่มเปราะบาง ที่จะต้องมีการดูแล การสัมผัส เบื้องต้นกำหนด ให้ครูทุกคน และผู้ดูแล จะต้องได้รับวัคซีนให้ครบถ้วนก่อน มาตรการควบคุมการแพร่ระบาดตามความเหมาะสมของแต่ละพื้นที่ ประกอบด้วย  4 จังหวัดสีแดงเข้ม ใช้รูปแบบ ออนไลน์ และออนแอร์เท่านั้น พื้นที่สีแดงเข้ม 4 จังหวัด ได้แก่ กรุงเทพฯ นนทบุรี ปทุมธานี และสมุทรปราการ ยังเปิดเรียนแบบปกติไม่ได้และห้ามใช้อาคารสถานที่เพื่อจัดการเรียนการสอน หรือกิจกรรมที่มีการรวมคนจำนวนมาก จึงใช้รูปแบบ เรียนออนไลน์ หรือ ออนแอร์ เท่านั้น  โรงเรียนในพื้นที่ควบคุมสูงสุด หรือ พื้นที่สีแดง มี 17 จังหวัด ได้แก่ กาญจนบุรี, ชลบุรี, ฉะเชิงเทรา, ตาก, นครปฐม, นครศรีธรรมราช, นราธิวาส, ประจวบคีรีขันธ์, พระนครศรีอยุธยา, เพชรบุรี, ยะลา, ระนอง, ระยอง, ราชบุรี, สมุทรสาคร, สงขลา และสุราษฎร์ธานี สามารถเปิดเรียนได้ และเปิดให้ใช้อาคารสถานที่ฯ โดยผ่านความเห็นชอบจากคณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัด ส่วนโรงเรียนใน 56 จังหวัดที่เหลือ ซึ่งเป็น พื้นที่สีส้ม เปิดเรียนได้ตามปกติมาตรการของ ศบค. รมช.ศึกษาฯ เสนอ 5 รูปแบบการเรียนการสอนในช่วงโควิด-19 ด้าน ดร.คุณหญิงกัลยา โสภณพนิช รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ กล่าวถึงการเปิดภาคเรียนปีการศึกษา 2564 ในช่วงที่มีการแพร่ระบาดว่า ได้มีการกำหนดแนวทางไว้ 5 รูปแบบให้แต่ละโรงเรียนนำไปใช้ตามความเหมาะสม ดังนี้          1. On-site เรียนที่โรงเรียน โดยมีมาตรการเฝ้าระวังตามประกาศของศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (ศบค.)          2. On-air เรียนผ่านมูลนิธิการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม ในพระบรมราชูปถัมภ์ หรือ DLTV          3. On-demand เรียนผ่านแอปพลิเคชันต่าง ๆ          4. On-line เรียนผ่านอินเทอร์เน็ต          5. On-hand เรียนที่บ้านด้วยเอกสาร เช่น หนังสือ แบบฝึกหัด ใบงาน ในรูปแบบผสมผสาน หรืออาจใช้วิธีอื่น ๆ เช่น วิทยุ เป็นต้น เพื่อให้เกิดความยืดหยุ่นตามความเหมาะสมของแต่ละพื้นที่ อ้างอิง : สำนักงานประชาสัมพันธ์

สงขลา เสริมเตียงสนาม 200 เตียง รองรับสถานการณ์โควิคในพื้นที่ที่ทวีความรุนแรงขึ้นลำดับที่ 4 ของประเทศไทย วันที่ 22 มิ.ย. 64 พลตรีไพศาล หนูสังข์ ผู้บัญชาการกองพลทหารราบที่15 เดินทางไปยัง กองพันเสนารักษ์ กรมสนับสนุน กองพลทหารราบที่ 15 ค่ายลพบุรีราเมศวร์ ตำบลเกาะสะบ้า อำเภอเทพา จังหวัดสงขลา ตามสั่งการของนายกรัฐมนตรีและผู้บัญชาการทหารบก ที่ให้หน่วยทหารในพื้นที่สนับสนุนการจัดตั้งโรงพยาบาลสนาม พร้อมบุคลากรทางการแพทย์ และสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสงขลา ขออนุญาตใช้สถานที่ เพื่อจัดทำเป็นโรงพยาบาลสนาม ระดับ 1 เพื่อรองรับผู้ป่วย จากสาธารณสุขจังหวัดสงขลา โดยใช้สถานที่อาคารโรงนอน ของกองพันเสนารักษ์ เป็นโรงพยาบาลสนาม .สำหรับโรงพยาบาลสนาม กองพันเสนารักษ์ กรมสนับสนุน กองพลทหารราบที่ 15 ค่ายลพบุรีราเมศวร์ มีเตียงเพื่อรองรับผู้ป่วยจำนวน 200 เตียง ซึ่งปัจจุบัน โรงพยาบาลสนาม ค่ายลพบุรีราเมศวร์ มีผู้ป่วยรับส่งต่อ ที่รักษาตัวอยู่ภายในโรงพยาบาลสนาม […]

อบจ.สงขลา ยืนยันพบพนักงานแพขนานยนต์ติดเชื้อโควิด 4 คน  เมื่อวันที่ 21 มิ.ย. 64 ที่ผ่านมามีรายงานข่าวจากองค์การบริหารส่วนจังหวัดสงขลา มีการตรวจหาเชื้อโควิด-19 พนักงานแพขนานยนต์ ซึ่งให้บริการแพขนานยนต์ข้ามฟากฝั่ง อ.เมืองสงขลา- อ.สิงหนคร พบผู้ติดเชื้อโควิด 4 คน และมีกลุ่มสัมผัสเสี่ยงอีกจำนวนมาก เพื่อความปลอดภัยทั้งผู้ใช้บริการและพนักงานแพขนานยนต์ องค์การบริหารส่วนจังหวัดสงขลา จึงส่งพนักงานเข้าสู่ระบบการคัดกรองทั้งหมดประมาณ 100 คน ส่งผลให้แพขยายยนต์ต้องหยุดให้บริการชั่วคราวตั้งแต่เวลา 14.00 น.  จนกว่าจะมีคำสั่งเปลี่ยนแปลง             ต่อมาวันที่ 22 มิ.ย. 64 นายไพเจน มากสุวรรณ์ นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดสงขลา เปิดเผยว่า องค์การบริหารส่วนจังหวัดสงขลา มีความจำเป็นต้องหยุดการให้บริการแพขนานยนต์เป็นการชั่วคราว เนื่องจากพบพนักงานแพขนานยนต์ติดเชื้อโควิด 4 ราย แต่มีกลุ่มเสี่ยงนับร้อยคน จึงต้องนำพนักงานแพขนานยนต์เข้าสู่ขบวนการคัดกรองทั้งหมด เพื่อให้เกิดความแน่ใจว่าพนักงานปลอดเชื้อโควิด จึงจะสามารถเปิดให้บริการได้ อีกทั้งจะต้องทำความสะอาดแพขนานยนต์ ฉีดพ่นน้ำยาฆ่าเชื้อแพขนานยนต์ทุกลำ รวมทั้งจะต้องมีบิ๊กคลีนนิ่งบริเวณท่าแพขนานยนต์ทั้งหมด จึงขออภัยในความไม่สะดวกมา ณ โอกาสนี้ด้วย                       ทางด้านการประชุมคณะกรรมการโรคติดต่อ จ.สงขลา นายจารุวัฒน์ เกลี้ยงเกลา ผู้ว่าราชการจังหวัดสงขลา เป็นประธานเพื่อติดตามสถานการณ์และมาตรการที่สำคัญโควิดการขยายเวลาบังคับใช้กฎหมายและการผ่อนคลายมาตรการที่สิ้นสุดวันที่ 22 มิ.ย. – 6 ก.ค.64 การตรวจเชื้อเชิงรุกและติดตั้ง Hospitel รองรับผู้ติดเชื้อกรณีจากโรงงาน การขอตั้ง Local Quarantine เพิ่ม 3 แห่ง ที่ ต.ประกอบ อ.นาทวี และตั้งจุดคัดกรองโควิดและจุดตรวจแนวชายแดนเพิ่ม            อ้างอิง : สวท.สงขลา

สนง.ป้องกันควบคุมโรคที่12 สงขลา นำรถตรวจเชื้อพระราชทาน ตรวจประชาชนกลุ่มเสี่ยงหลังเกิดคลัสเตอร์มัรกัสยะลา วันที่ 21 มิ.ย. 64 นายแพทย์เฉลิมพล โอสถพรมมา ผู้อำนวยการ สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 12 จ.สงขลา พร้อมด้วยเจ้าหน้าที่สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 12 จ.สงขลา ได้นำรถตรวจเชื้อพระราชทาน จำนวน 3 คัน ลงพื้นที่จังหวัดยะลา ที่สนามโรงพิธีช้างเผือก ในเขตเทศบาลนครยะลา เพื่อทำการตรวจหาเชื้อโควิด-19 ด้วยรถเก็บตัวอย่างชีวนิรภัยพระราชทาน เพื่อตรวจหาเชื้อหลังการแพร่ระบาดในพื้นที่ มีแนวโน้มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง กลุ่มเป้าหมาย เป็นประชาชนผู้สัมผัสเสี่ยง และนักคึกษาในพื้นที่จังหวัดยะลาจำนวน 1,000 คน โดยมี พลเรือตรีสมเกียรติ ผลประยูร เลขาธิการ ศอ.บต. นายชัยสิทธิ์ พานิชพงศ์ ผู้ว่าราชการจังหวัดยะลา และเจ้าหน้าที่สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดยะลา ร่วมให้การต้อนรับ  นายแพทย์เฉลิมพล โอสถพรมมา ผู้อำนวยการสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 12 จ.สงขลา เปิดเผยว่า กรมควบคุมโรคได้รับการประสานจากศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ จังหวัดยะลา และสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดยะลา กรณีเกิดคลัสเตอร์มัรกัสที่ยะลา มีผู้สัมผัสเสี่ยงจำนวนมาก เด็กนักเรียนโรงเรียนเอกชนสอนศาสนา ภายในมัรกัสยะลามีการพบเชื้อนักเรียนทยอยเดินทางกลับบ้าน ทำให้ชุมชนมีความเสี่ยง ผนวกกับสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อโคโรนา 2019 COVID-19 ในพื้นที่ภาคใต้ตอนล่าง  โดยเฉพาะในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ มีการระบาดเพิ่มสูงขึ้น ทางสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 12 จ.สงขลา ซึ่งได้นำรถตรวจเชื้อชีวนิรภัยพระราชทานลงพื้นที่ ตรวจคัดกรอง หาเชื้อ ประชาชน นับเป็นพระมหากรุณาธิคุณ ที่พระราชทานให้ดูแลประชาชนในพื้นที่ภาคใต้ เพื่อทำให้การควบคุมโรคเป็นไปได้อย่างเร็ว สำหรับรถที่นำมาเป็นรถเก็บตัวอย่างชีวนิรภัยพระราชทาน ขนาดเล็ก จำนวน 3 คัน ทำหน้าที่เก็บตรวจ SWAB หาเชื้อ สามารถเคลื่อนที่ไปตามจุดต่างๆได้ร็วดเร็ว โดยจะส่งผลตรวจไปยังรถตรวจเชื้อขนาดใหญ่ที่มีห้องแล็ป ขณะนี้จอดอยู่ที่จังหวัดปัตตานี จากนั้นรอผลการตรวจภายใน 2 วัน ทางเจ้าหน้าที่ จะทำการแจ้งผลการตรวจให้กับทางสำนักงานสาธารณสุขในพื้นที่ เพื่อแจ้งต่อไปยังผู้เข้ารับการตรวจต่อไป อ้างอิง : สำนักงานประชาสัมพันธ์จังหวัดยะลา

สงขลา พบผู้ป่วยโควิด 61 คน รวมผู้ป่วยโควิดระลอกเดือน เม.ย. สะสม 3,465 คน วันที่ 21 มิ.ย. 64 จังหวัดสงขลาพบผู้ป่วยยืนยันติดเชื้อ 61 ราย ส่วนใหญ่เป็นกลุ่มคลัสเตอร์โรงงาน จ.สงขลาเร่งเข้าควบคุมพื้นที่และตรวจเชิงรุกในทุกกลุ่มเสี่ยง พร้อมขอความร่วมมือให้ประชาชนกลุ่มเสี่ยง เข้ารับการตรวจคัดกรอง และเข้าสู่ระบบการกักตัวตามมาตรการของกระทรวงสาธารณสุขสำหรับในเรือนจำ พบผู้ติดเชื้อโควิดในกลุ่มมผู้ต้องขังจำนวน 143 โดยทาง ศบค. ไม่นับรวมกับกลุ่มผู้ติดเชื้อในจังหวัด ขอให้พี่น้องชาวสงขลาร่วมด้วยช่วยกัน การ์ดไม่ตก สวมหน้ากากอนามัยทุกครั้งเมื่ออกจากบ้าน และหมั่นล้างมือทำความสะอาดบ่อย ๆ หลีกเลี่ยงสถานที่ที่มีคนจำนวนมาก พร้อมปฏิบัติตามมาตรการป้องกันตามที่สาธารณสุขกำหนดอย่างเต็มที่ และปฏิบัติตามมาตรการ D-M-H-T-T อย่างเคร่งครัด เพื่อรับมือโควิด-19 ระลอกใหม่นี้ HATYAITODAYNEWS อ้างอิง : ผู้ว่าราชการจังหวัดสงขลา

น่าห่วง ! คลัสเตอร์ชุมชนมาลากัส จังหวัดยะลา กระจายไปใน 11 จังหวัดใกล้เคียง วันที่ 21 มิ.ย. 64 พญ.อภิสมัย กล่าวว่า กรณีคลัสเตอร์ ที่จังหวัดยะลา นพ.สงกรานต์ ไหมชุม สาธารณสุขจังหวัด ได้รายงานที่ประชุมศูนย์ปฏิบัติการฉุกเฉินทางการแพทย์โควิด-19 กระทรวงสาธารณสุข eoc เช้าวันนี้ กรณีชุมชนมาลากัส บ้านเกาะยานิ จังหวัดยะลา ซึ่งในชุมชนมีทั้งโรงเรียน สถานประกอบศาสนกิจ รายงานพบผู้ติดเชื้อยืนยัน 402 ราย และแพร่กระจายไปยัง 11 จังหวัด ได้แก่ นราธิวาส ปัตตานี สตูล สงขลา กระบี่ พัทลุง นครศรีธรรมราช ภูเก็ต สุราษฎร์ธานี พังงา และตรัง  ซึ่งกรมควบคุมโรค รายงานว่า พบผู้ติดเชื้อรายแรก วันที่ 9 มิ.ย. 64 แต่จากการสอบสวนโรค พบว่า ผู้ติดเชื้อรายแรกน่าจะเกิดขึ้นตั้งแต่ 29 พฤษภาคม 2564 แต่ขณะนั้นยังไม่ได้มีรายงานเป็นคลัสเตอร์ โดยในชุมชนมีประชากรประมาณ 3,000-4,000 คน เป็นนักเรียนประมาณ 500 คน มาจากในพื้นที่ 17 จังหวัด ซึ่งไทม์ไลน์ พบว่า นักเรียนที่ติดเชื้อมีพฤติกรรมการรวมกลุ่มทานอาหารร่วมกัน ร่วมกันทำกิจกรรมทางศาสนา โดยไม่สวมหน้ากากผ้า หน้ากากอนามัย มีการใช้แก้วน้ำร่วมกัน ทางนี้ชุมชนได้ปิดโรงเรียนและพื้นที่เสี่ยง มีการค้นหาเสียงทุกในชุมชนเพื่อหาผู้สัมผัสเสียงสูงและเสียงต่ำ พร้อมออกประกาศในพื้นที่แนะนำให้ผู้ที่สงสัยเกี่ยวข้องกับนักเรียนหรือบุคคลในชุมชน รายงานตัวกับเจ้าหน้าที่สาธารณสุขจังหวัด ฝ่ายปกครองในชุมชน เพื่อตรวจหาเชื้อ และรับคำแนะนำการเฝ้าระวังมาตรการ รวมถึงเอกสารแจ้งเตือนทุกจังหวัดใกล้เคียง โดยที่ประชุม ศบค. อยากได้หารือถึงกรณีของโรงเรียนที่ปิดตัวลงในหลายจังหวัด ทางโรงเรียนควรจะมีการหารือกับคณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัดก่อนที่จะปิดและจะต้องมีมาตรการดูแล ทำความเข้าใจเด็กและผู้ปกครอง รวมทั้งพื้นที่จังหวัดปลายทางที่นักเรียนจะต้องเดินทางกลับบ้าน โดยกรมควบคุมโรค เสนอว่า จะต้องมีคำแนะนำ ให้ผู้ที่มีสัมผัสเสี่ยงสูง เสี่ยงต่ำกักตัวอยู่ที่บ้าน ไม่อนุญาตให้ไปพบปะรวมกลุ่มกับญาติ ครอบครัว ตลาด ชุมชน ซึ่งกระทรวงสาธารณสุข และกระทรวงมหาดไทย ได้แจ้งไปยังจังหวัด ต้นทางและปลายทาง นอกจากนี้ ยังเป็นห่วงช่วงเทศกาลวันหยุด อีดิลอัฎฮา ซึ่งเป็นวันเฉลิมฉลองของชาวไทยมุสลิม อาจมีการจัดเลี้ยง การรวมกลุ่ม การเดินทางข้ามจังหวัด จึงขอให้ติดตามประกาศทางจังหวัดอย่างใกล้ชิด อ้างอิง : ศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19)