วันแรกหลังประกาศใช้มาตรการควบคุมสูงสุด ปชช.ขอเอกสารรับรองความจำเป็นเดินทางออกจาก จ.สงขลา วันที่ 28 มิ.ย. 64 บรรยากาศในวันแรกของการประกาศใช้มาตรการเขตพื้นที่สถานการณ์ควบคุมสูงสุดและเข้มงวดเป็นเวลา 30 วัน ในพื้นที่กรุงเทพฯ ปริมณฑล และ 4 จังหวัดชานแดนภาคใต้ตอนล่าง โดยเฉพาะการควบคุมการเดินทางเข้าออกจังหวัด ซึ่งต้องมีเอกสารรับรองความจำเป็นที่ออกโดยเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง หรือฝ่ายปกครองในพื้นที่นั้น.โดยบรรยากาศ ณ ที่ว่าการอำเภอหาดใหญ่ จ.สงขลา มีประชาชนที่จำเป็นต้องเดินทางออกนอกพื้นที่ จ.สงขลาเข้าขอรับเอกสารรับรองการเดินทางตั้งแต่ช่วงเช้าก่อนที่อำเภอจะเปิด ซึ่งมีทั้งกลุ่มคนทำงานที่ต้องเดินทางข้ามจังหวัด คนที่ไปทำธุระ ผู้ประกอบธุรกิจ และนักเรียนนักศึกษาที่เดินทางกลับบ้าน โดยมีเจ้าหน้าที่ของอำเภอหาดใหญ่คอยอำนวยความสะดวก และชี้แจงขั้นตอน รวมทั้งเอกสารต่างๆ ที่ต้องนำมาประกอบการยื่นของเอกสารรับรองการเดินทาง ซึ่งวันแรกยังติดขัดบ้างในเรื่องเอกสารที่นำมาประกอบการเดินทาง ซึ่งทางเจ้าหน้าที่ได้ชี้แจงทำความเข้าใจอย่างละเอียด และทางอำเภอได้มีการตรวจคัดกรองอุณหภูมิ การบริการแอลกอฮอล์สเปรย์ รวมทั้งการจัดเต็นท์ และเก้าอี้พักคอยให้กับประชาชนที่มาใช้บริการ โดยมีการเว้นระยะห่างตามมาตรการของกระทรวงสาธารณสุขอย่างเคร่งครัด ทั้งนี้ จากการสอบถามผู้ที่มาขอเอกสารการเดินทางในวันนี้บอกว่า จะเดินทางขึ้นไปทำธุระที่กรุงเทพฯ จึงมาขอหนังสือรับรองการเดินทาง และพร้อมที่จะปฏิบัติตามมาตรการของทางจังหวัดเพราะเข้าใจสถานการณ์จากการแพร่ระบาดของโควิด-19 ในช่วงนี้ สำหรับมาตรการตรวจคัดกรองผู้เดินทางออกนอกพื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวด (จ.นราธิวาส จ.ปัตตานี จ.ยะลา และ จ.สงขลา) […]
ข่าวภาคใต้
หากมีความจำเป็นต้องเดินทางออกจาก จ.สงขลา ต้องทำอย่างไร ? วันที่ 28 มิ.ย. 64 ความคืบหน้าสถานการณ์โควิด-19 ที่จังหวัดสงขลายังพบผู้ติดเชื้อโควิด-19 เพิ่มขึ้น อีกทั้งหลังจากที่รัฐบาลออกมาตรการในเขตพื้นที่สถานการณ์ควบคุมสูงสุดและเข้มงวดในพื้นที่กรุงเทพฯ ปริมณฑลและ 4 จังหวัดภาคใต้ตอนล่างเป็นเวลา 1 เดือน ตั้งแต่วันที่ 28 มิ.ย.นี้ ซึ่งมีจังหวัดสงขลารวมอยู่ด้วยนั้น เบื้องต้นจะมีการควบคุมดูแลที่เข้มงวดมากขึ้น โดยเฉพาะในส่วนของการเดินทางออกนอกจังหวัดที่จะต้องมีเอกสารระบุตัวตน และหนังสือรับรองความจำเป็น หรือเหตุเร่งด่วนจากเจ้าหน้าที่ รวมทั้งการเดินทางไปมาในเขตรอยต่อจังหวัดสงขลากับ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ที่ถูกจัดอยู่ในพื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวดเช่นเดียวกัน จะต้องมีความเข้มงวดมากขึ้นด้วย ส่วนมาตรการในการดูแลแรงงาน โดยเฉพาะในส่วนของแคมป์แรงงานต่างด้าวนั้นของโรงงานอุตสาหกรรมนั้น ทางนายจารุวัฒน์ เกลี้ยงเกลา ผู้ว่าราชการจังหวัดสงขลา ระบุว่า ในพื้นที่ไม่ได้มีแคมป์คนงานขนาดใหญ่อย่างในเขตกรุงเทพฯ แต่ส่วนใหญ่เป็นคนงานของโรงงานอุตสาหกรรมต่างๆ ซึ่งมีการจัดที่อยู่ให้เป็นสัดส่วนอย่างชัดเจน และแยกห่างออกจากชุมชนอยู่แล้ว และมีการจัดเจ้าหน้าที่คอยควบคุมดูแลอย่างใกล้ชิด โดยภาพรวมที่จังหวัดสงขลามีโรงงานอุตสาหกรรมอยู่ราว 1,183 แห่ง และมีแรงงานต่างด้าวอยู่ประมาณ 33,000 คน ซึ่งก่อนหน้านี้ได้มีการเรียกเจ้าของและผู้แทนโรงงานขนาดใหญ่ที่มีแรงงานเกิน 200 คน ซึ่งมีอยู่กว่า 40 โรงงานเข้าร่วมประชุม เพื่อกำชับมาตรการในการดูแลคนงานทั้งไทยและต่างด้าว รวมทั้งมาตรการอื่นๆ ของภาครัฐที่เกี่ยวข้องไปแล้ว จากนี้จะกำชับให้ช่วยเพิ่มเข้มงวดในการดูแลมากขึ้น ทั้งในเรื่องของการห้ามออกนอกเขตโรงงาน ที่พัก ไปสู่ชุมชนโดยรอบ และการห้ามเคลื่อนย้ายแรงงานต่างด้าวไปยังสถานที่อื่นในช่วง 1 เดือนหลังจากนี้ นอกจากนั้นทางหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น ตำรวจได้เริ่มออกตรวจพื้นที่ และประชาสัมพันธ์ ในส่วนของการควบคุมสถานการณ์ในช่วงโควิด-19 โดยเฉพาะในโรงงานและสถานประกอบการต่างๆ เช่นเดียวกัน โดยทาง พ.ต.อ.วิวัฒนชัย์ ธรรมวิทยาภูมิ ผกก.สภ.นาหม่อม จ.สงขลา ได้สั่งการให้ตำรวจ สภ.นาหม่อม เข้าดำเนินการตรวจสอบตามโรงงานและที่พักคนงานต่างๆ ในพื้นที่ เพื่อประชาสัมพันธ์ถึงมาตรการภาครัฐที่จะเข้มงวดมากขึ้นในช่วง 1 เดือนนี้ ทั้งการให้อยู่ในเขตโรงงานและที่พัก และการห้ามเคลื่อนย้ายคนงานในระยะนี้ เพื่อสร้างความเข้าใจที่ตรงกัน และหากพบผู้ฝ่าฝืนก็จะมีการบังคับใช้กฎหมายอย่างจริงจัง อ้างอิง : ผู้ว่าราชการจังหวัดสงขลา
วิกฤตรพ.จะนะเตียงผู้ป่วยโควิด-19 ล้น โรงเรียนรุ่งโรจน์วิทยาเตรียมทำรพ.สนาม วันที่ 27 มิ.ย. 64 จังหวัดสงขลาพบผู้ป่วยโควิด-19 ยืนยันติดเชื้อเพิ่ม 133 ราย ทำให้สถานการณ์ในพื้นที่จังหวัดสงขลาน่าเป็นห่วงเนื่องจากมีการแพร่ระบาดในวงกว้างหลายกลุ่มไม่ว่าจะเป็นกลุ่มโรงงานอุตสาหกรรม ผู้เดินทางกลับจากโรงเรียนสอนศาสนาในพื้นที่ จ.ยะลา และ จ.ปัตตานี ชุมชนป้อม 6, ชุมชนเก้าเส้ง, ครูโรงเรียนรุ่งโรจน์ฯ อ.จะนะ, ท่าแพขนานยนต์ และกลุ่มอื่นๆ ทางด้านรพ.หลักและรพ.สนามที่ทางสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสงขลาและหน่วยงานที่เกี่ยวจัดเตรียมไว้ยอดผู้ป่วยก็มากกว่าจำนวนเตียงทำให้เกิดเหตุผู้ป่วยล้นเตียงในหลายแห่งซึ่งทาง รพ.จะนะก็เกิดเหตุการณ์เตียงผู้ป่วยโควิด-19 ล้น ทางด้านนพ.สุภัทร ฮาสุวรรณกิจ เปิดเผยว่าโรงเรียนรุ่งโรจน์วิทยา ตั้งอยู่หมู่ที่ 7 ตำบลบ้านนา โควิดระบาดหนักมาก จากการตรวจกลุ่มเสี่ยงในชุมชน พบครูติดเชื้อ 5 คน จนนำมาสู่ active management โดยทีมงานของโรงเรียนเองบาบอดิง นัสรูดิน กะจิ ผู้บริหารโรงเรียนได้ประสาน มาที่โรงพยาบาลเพื่อให้มาตรวจ swab ครู100% ทำswabนั้นไม่ยาก รพ.ทำให้ได้ สิ่งที่ยากคือ […]
สงขลา พบผู้ป่วยโควิด 133 คน รวมผู้ป่วยโควิดระลอกเดือน เม.ย. สะสม 3,852 คน วันที่ 27 มิ.ย. 64 จังหวัดสงขลาพบผู้ป่วยยืนยันติดเชื้อ 133 ราย โดยมีรายละเอียดผู้ติดเชื้อ ดังนี้– พบผู้ป่วยจากการตรวจคัดกรองเชิงรุกในกลุ่มพนักงานและผู้สัมผัสโรงงานสงขลาแคนนิ่งจำนวน 29 ราย (ผู้ป่วยยืนยันทั้งหมดอยู่ภายใต้มาตรการกักกันตัวควบคุมโรค โดยมิได้มีการสัมผัสกับบุคคลภายนอกและชุมชน)– พบผู้ป่วยจากการตรวจคัดกรองเชิงรุกในกลุ่มพนักงานโรงงานอุตสาหกรรม และผู้สัมผัส 6 แห่ง จำนวน 30 ราย (ผู้ป่วยยืนยันทั้งหมดอยู่ภายใต้มาตรการกักกันตัวควบคุมโรค โดยมิได้มีการสัมผัสกับบุคคลภายนอกและชุมชน )– ผู้ป่วยจากการติดตามค้นหาผู้เดินทางกลับจากโรงเรียนสอนศาสนาในพื้นที่ จ.ยะลา และ จ.ปัตตานี จำนวน 15 ราย– ผู้ป่วยจากการติดตามกลุ่มปั๊มน้ำมันเอสโซ่สะกอมจำนวน 12 ราย– ผู้ป่วยจากการติดตามผู้สัมผัสเสี่ยงสูง 47 ราย ชุมชนป้อม 6, ชุมชนเก้าเส้ง, ครูโรงเรียนรุ่งโรจน์ฯ […]
โฆษกรัฐบาลยืนยัน ไม่ล็อกดาวน์ กรุงเทพฯ-สงขลา แค่กำหนดเป็นพื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวด วันที่ 27 มิ.ย. 64 นายอนุชา บูรพชัยศรี โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า ตามที่พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ได้ประชุมร่วมกับคณะที่ปรึกษาด้านการสาธารณสุขในศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด-19 และที่ ศบค. ได้ประกาศข้อกำหนด ฉบับที่ 25 ที่เผยแพร่ผ่านเว็ปไซต์ราชกิจจานุเบกษานั้น เป็นการใช้มาตรการเร่งด่วนเพื่อควบคุมการระบาดไวรัสโควิด-19 ในพื้นที่เป้าหมายเฉพาะ 10 จังหวัด ได้แก่ กรุงเทพมหานคร นครปฐม นนทบุรี นราธิวาส ปทุมธานี ปัตตานี ยะลา สงขลา สมุทรปราการและสมุทรสาคร ซึ่งเป็นพื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวด เพื่อสกัดกั้นไม่ให้เกิดการแพร่ระบาดในวงกว้าง โดยเฉพาะกลุ่มแรงงาน สถานประกอบการ ที่พบว่ามีการแพร่ระบาดแบบกลุ่มก้อน ซึ่งยืนยันว่า ไม่ได้ล็อกดาวน์ สำหรับมาตรการตามคำสั่งศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) ที่ 6/2564 เรื่อง พื้นที่สถานการณ์ที่กำหนดเป็นพื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวด ตามข้อกำหนดออกตามความในมาตรา 9 แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ.2548 ลงวันที่ 26 มิถุนายน 2564 ให้มีการปฎิบัติเริ่ม 28 มิถุนายน อย่างน้อย 30 วัน คือ ปิดสถานที่พักอาศัยชั่วคราว สําหรับคนงานทั้งภายในและภายนอก สถานที่ก่อสร้าง รวมท้ังให้หยุดงานก่อสร้าง และห้ามการเดินทางและเคลื่อนย้ายแรงงาน เป็นการชั่วคราว อย่างน้อย 30 วัน ให้จำหน่ายอาหารและเครื่องดื่ม เฉพาะนำกลับไปบริโภคที่บ้าน ศูนย์การค้า ห้างสรรพสินค้า คอมมูนิตี้มอลล์ เปิดดําเนินการได้ถึง เวลา 21.00 น. งดการจัดกิจกรรมในพื้นที่ โรงมหรสพ โรงภาพยนตร์ สวนน้ำ งดนั่งรับประทานในศูนย์อาหาร งดกิจกรรมรวมกลุ่มที่เกิน 20 คน เว้นแต่ได้รับอนุญาตจากเจ้าหน้าที่ ตั้งจุดตรวจเพื่อคัดกรองการเดินทางเข้า-ออก ในพื้นที่ 4 จังหวัดชายแดนภาคใต้คือ นราธิวาส ปัตตานี ยะลาและสงขลา รวมถึงกรุงเทพมหานครและ 5 จังหวัดปริมณฑลคือ นครปฐม นนทบุรี ปทุมธานี สมุทรปราการ และสมุทรสาคร ทั้งนี้ข้อกำหนดที่เข้มข้น เป็นการยกระดับมาตรการเป็นการชั่วคราว เพื่อให้สอดคล้องสถานการณ์การแพร่ระบาด โดยมีผลในพื้นที่และกลุ่มเสี่ยงสูง สำหรับพี่น้องประชาชนทั่วไปยังสามารถเดินทางและดำเนินกิจกรรมประจำวันตามปกติ และขอให้หลีกเลี่ยงการเดินทางข้ามจังหวัดในช่วงนี้ อ้างอิง : สำนักนายกรัฐมนตรี
4 จังหวัดชายแดนใต้ควบคุมการเดินทางเข้า-ออกจังหวัดเริ่ม 28 มิ.ย. 64 เป็นต้นไป วันที่ 27 มิ.ย. 64 ข้อกำหนดเงื่อนไขการใช้เส้นทางคมนาคมและตรวจคัดกรองการเดินทางในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ให้พนักงานเจ้าหน้าที่โดยการสนับสนุนจากศูนย์ปฏิบัติการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉินด้านความมั่นคง กระทรวงมหาดไทย องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง ตั้งจุดตรวจ ด่านตรวจ จุดสกัดเพื่อคัดกรองการเดินทางของประชาชนเป็นระยะเวลาอย่างน้อย 30 ดังนี้เส้นทางคมนาคม เข้า-ออกจังหวัดชายแดนภาคใต้(จังหวัดนราธิวาส/ปัตตานี/ยะลา/และสงขลา) ตั้งจุดตรวจ ด่านตรวจ จุดสกัดเพื่อตรวจคัดกรองการเดินทาง ให้ดำเนินการอย่างเข้มงวด เพื่อสกัดกั้นและยับยั้งการระบาดของโรคอย่างรวดเร็วและเด็ดขาด โดยบุคคลที่ประสงค์จะเดินทางออกนอกพื้นที่จังหวัด 4 จังหวัดชายแดนภาคใต้ตามที่ระบุนี้ ต้องแสดงบัตรประจำตัวประชาชนหรือบัตรแสดงตนอื่นๆ ควบคู่กับเอกสารรับรองความจำเป็น ที่ออกโดยพนักงานเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง หรือเจ้าหน้าที่ฝ่ายปกครองในพื้นที่ เว้นแต่เป็นบุคคลที่ได้รับการยกเว้น ทั้งนี้ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่ศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด 19 กระทรวงมหาดไทยกำหนด 1.การขนส่งสินค้าอุปโภคบริโภคยังดำเนินการตามปกติไม่จำเป็นต้องกักตุนสินค้า2.การคมนาคมยังมีให้บริการตามปกติ แต่ผู้ที่จะเดินทางเข้า-ออก3. จชต.ต้องมีใบรับรองความจำเป็น อาจเป็นอำเภอเป็นผู้ออกให้ อ้างอิง : สำนักประชาสัมพันธ์เขต 6