โฆษกรัฐบาลยืนยัน ไม่ล็อกดาวน์ กรุงเทพฯ-สงขลา แค่กำหนดเป็นพื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวด วันที่ 27 มิ.ย. 64 นายอนุชา บูรพชัยศรี โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า ตามที่พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ได้ประชุมร่วมกับคณะที่ปรึกษาด้านการสาธารณสุขในศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด-19 และที่ ศบค. ได้ประกาศข้อกำหนด ฉบับที่ 25 ที่เผยแพร่ผ่านเว็ปไซต์ราชกิจจานุเบกษานั้น เป็นการใช้มาตรการเร่งด่วนเพื่อควบคุมการระบาดไวรัสโควิด-19 ในพื้นที่เป้าหมายเฉพาะ 10 จังหวัด ได้แก่ กรุงเทพมหานคร นครปฐม นนทบุรี นราธิวาส ปทุมธานี ปัตตานี ยะลา สงขลา สมุทรปราการและสมุทรสาคร ซึ่งเป็นพื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวด เพื่อสกัดกั้นไม่ให้เกิดการแพร่ระบาดในวงกว้าง โดยเฉพาะกลุ่มแรงงาน สถานประกอบการ ที่พบว่ามีการแพร่ระบาดแบบกลุ่มก้อน ซึ่งยืนยันว่า ไม่ได้ล็อกดาวน์ สำหรับมาตรการตามคำสั่งศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) ที่ 6/2564 เรื่อง พื้นที่สถานการณ์ที่กำหนดเป็นพื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวด ตามข้อกำหนดออกตามความในมาตรา 9 แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ.2548 ลงวันที่ 26 มิถุนายน 2564 ให้มีการปฎิบัติเริ่ม 28 มิถุนายน อย่างน้อย 30 วัน คือ ปิดสถานที่พักอาศัยชั่วคราว สําหรับคนงานทั้งภายในและภายนอก สถานที่ก่อสร้าง รวมท้ังให้หยุดงานก่อสร้าง และห้ามการเดินทางและเคลื่อนย้ายแรงงาน เป็นการชั่วคราว อย่างน้อย 30 วัน ให้จำหน่ายอาหารและเครื่องดื่ม เฉพาะนำกลับไปบริโภคที่บ้าน ศูนย์การค้า ห้างสรรพสินค้า คอมมูนิตี้มอลล์ เปิดดําเนินการได้ถึง เวลา 21.00 น. งดการจัดกิจกรรมในพื้นที่ โรงมหรสพ โรงภาพยนตร์ สวนน้ำ งดนั่งรับประทานในศูนย์อาหาร งดกิจกรรมรวมกลุ่มที่เกิน 20 คน เว้นแต่ได้รับอนุญาตจากเจ้าหน้าที่ ตั้งจุดตรวจเพื่อคัดกรองการเดินทางเข้า-ออก ในพื้นที่ 4 จังหวัดชายแดนภาคใต้คือ นราธิวาส ปัตตานี ยะลาและสงขลา รวมถึงกรุงเทพมหานครและ 5 จังหวัดปริมณฑลคือ นครปฐม นนทบุรี ปทุมธานี สมุทรปราการ และสมุทรสาคร ทั้งนี้ข้อกำหนดที่เข้มข้น เป็นการยกระดับมาตรการเป็นการชั่วคราว เพื่อให้สอดคล้องสถานการณ์การแพร่ระบาด โดยมีผลในพื้นที่และกลุ่มเสี่ยงสูง สำหรับพี่น้องประชาชนทั่วไปยังสามารถเดินทางและดำเนินกิจกรรมประจำวันตามปกติ และขอให้หลีกเลี่ยงการเดินทางข้ามจังหวัดในช่วงนี้ อ้างอิง : สำนักนายกรัฐมนตรี
4 จังหวัดชายแดนใต้ควบคุมการเดินทางเข้า-ออกจังหวัดเริ่ม 28 มิ.ย. 64 เป็นต้นไป วันที่ 27 มิ.ย. 64 ข้อกำหนดเงื่อนไขการใช้เส้นทางคมนาคมและตรวจคัดกรองการเดินทางในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ให้พนักงานเจ้าหน้าที่โดยการสนับสนุนจากศูนย์ปฏิบัติการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉินด้านความมั่นคง กระทรวงมหาดไทย องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง ตั้งจุดตรวจ ด่านตรวจ จุดสกัดเพื่อคัดกรองการเดินทางของประชาชนเป็นระยะเวลาอย่างน้อย 30 ดังนี้เส้นทางคมนาคม เข้า-ออกจังหวัดชายแดนภาคใต้(จังหวัดนราธิวาส/ปัตตานี/ยะลา/และสงขลา) ตั้งจุดตรวจ ด่านตรวจ จุดสกัดเพื่อตรวจคัดกรองการเดินทาง ให้ดำเนินการอย่างเข้มงวด เพื่อสกัดกั้นและยับยั้งการระบาดของโรคอย่างรวดเร็วและเด็ดขาด โดยบุคคลที่ประสงค์จะเดินทางออกนอกพื้นที่จังหวัด 4 จังหวัดชายแดนภาคใต้ตามที่ระบุนี้ ต้องแสดงบัตรประจำตัวประชาชนหรือบัตรแสดงตนอื่นๆ ควบคู่กับเอกสารรับรองความจำเป็น ที่ออกโดยพนักงานเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง หรือเจ้าหน้าที่ฝ่ายปกครองในพื้นที่ เว้นแต่เป็นบุคคลที่ได้รับการยกเว้น ทั้งนี้ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่ศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด 19 กระทรวงมหาดไทยกำหนด 1.การขนส่งสินค้าอุปโภคบริโภคยังดำเนินการตามปกติไม่จำเป็นต้องกักตุนสินค้า2.การคมนาคมยังมีให้บริการตามปกติ แต่ผู้ที่จะเดินทางเข้า-ออก3. จชต.ต้องมีใบรับรองความจำเป็น อาจเป็นอำเภอเป็นผู้ออกให้ อ้างอิง : สำนักประชาสัมพันธ์เขต 6
ชาวบ้านหาดใหญ่ เกิดความวิตกกังวลหลังโรงแรมในเมืองหาดใหญ่หลายแห่งถูกใช้เป็นพื้นที่กักตัว ผู้ป่วยโควิด ตามที่โรงแรมในเมืองหาดใหญ่หลายแห่งถูกใช้เป็นพื้นที่กักตัว ของผู้ป่วยโควิด-19 จนทำให้เกิดความกังวลของชาวบ้านรวมถึงการออกมาต่อต้านในบางพื้นที่นั้น เพื่อให้เกิดความเข้าใจที่ตรงกัน และ เพื่อให้ลดความวิตกกังวล จึงขอชี้แจงให้รับทราบเข้าใจตรงกัน ดังนี้ 1.มีการใช้พื้นที่โรงแรมหลายแห่งในอำเภอหาดใหญ่ เป็นพื้นที่สำหรับกักตัวกลุ่มเสี่ยง ไม่ใช่โรงพยาบาลสนามสำหรับรักษาผู้ป่วย ซึ่งความหมายของกลุ่มเสี่ยงคือกลุ่มที่ผ่านการตรวจครั้งแรกแล้วและผลออกมาเป็นลบคือไม่ติดเชื้อ แต่ยังคงต้องมีการกักตัวให้ครบ 14 วัน ตามมาตรฐานที่ทางสาธารณสุขกำหนด 2.กลุ่มผู้กักตัวส่วนใหญ่เป็นคนที่มีภูมิลำเนาอยู่ในพื้นที่หาดใหญ่ และ ใกล้เคียง การกักตัวอยู่ในพื้นที่สำหรับกักตัวกลุ่มเสี่ยง จะเป็นการทำให้ควบคุม และ ลดโอกาสของการกระจายเชื้อเพิ่มเติม ในช่วงที่ผู้กักตัวมีเชื้อแต่ยังไม่แสดงอาการ 3.การกักตัวภายในพื้นที่กักกันมีการดูแลตามมาตรฐานขั้นสูงสุด ไม่มีการปล่อยให้ออกนอกพื้นที่โรงแรม ไม่อนุญาตให้ญาติหรือบุคคลที่ไม่เกี่ยวข้องเข้าในพื้นที่โดยเด็ดขาด และมีการฉีดพ่นยาฆ่าเชื้ออย่างต่อเนื่องขอให้ชาวชุมชนใกล้เคียงมั่นใจได้ว่าจะไม่ได้รับผลกระทบแน่นอน 4.โรงพยาบาลสนามมีการขยายเพื่อรองรับผู้ป่วยอย่างเพียงพอ โดยใช้พื้นที่ของส่วนราชการเป็นหลัก อาทิ ภายในค่ายทหาร พื้นที่อีกเฟสของศูนย์ประชุมฯม.อ. พื้นที่ศูนย์กีฬาอบจ.สงขลา รวมถึงในอำเภอต่างๆ ได้จัดเตรียมพื้นที่ที่เหมาะสมไว้สำหรับรองรับผู้ติดเชื้อที่อาจจะเพิ่มขึ้นด้วย 5.การให้กลุ่มเสี่ยงมากักตัวในโรงแรม ก็สามารถช่วยให้ผู้ประกอบการมีรายได้หลังจากต้องแบกภาระมานาน ไม่ว่าจะเป็นทั้งค่าน้ำ ค่าไฟ ค่าดูแลพนักงานบางส่วน ซึ่งถือว่าได้ช่วยพยุงธุรกิจไปอีกระยะหนึ่งในการนี้ อย่างไรก็ตามการเปิดให้บริการในรูปแบบของ OQ ( Organization Quarantine) […]
เว็บไซต์ราชกิจจานุเบกษา ประกาศจังหวัดสงขลาถูกกำหนดในเป็นพื้นที่ควบคุมสูงสุดเเละเข้มงวด วันที่ 27 มิ.ย. 64 เว็บไซต์ราชกิจจานุเบกษา ประกาศ ข้อกำหนดออกตามความในมาตรา 9 แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ.2548 (ฉบับที่ 25) ข้อกำหนดออกตามความในมาตรา 9 แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ.2548 (ฉบับที่ 25) ซึ่งข้อกำหนดดังกล่าวนี้ ประกาศใช้สำหรับพื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวด 10 จังหวัด คือ1.กรุงเทพมหานคร2.จังหวัดนครปฐม3.จังหวัดนนทบุรี4.จังหวัดนราธิวาส5.จังหวัดปทุมธานี6.จังหวัดปัตตานี7.จังหวัดยะลา8.จังหวัดสงขลา9.จังหวัดสมุทรปราการ10.จังหวัดสมุทรสาคร สำหรับมาตรการสำคัญ มีทั้งหมด 10 ข้อ สรุปสาระสำคัญคือ 1.มาตรการเร่งด่วนเพื่อสกัดกั้นการระบาดในพื้นที่เป้าหมายเฉพาะ สำหรับเขตพื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวด 10 จังหวัด ให้ดำเนินการต่อเนื่องเป็นระยะเวลาอย่างน้อย 30 วัน เพื่อควบคุมและชะลอการระบาด ซึ่งพบการระบาดเป็นกลุ่มก้อนกระจายในหลายพื้นที่ รวมทั้งสกัดกั้นการเคลื่อนย้ายเดินทางของกลุ่มเสี่ยงเพื่อไม่ให้เชื้อโรคแพร่ออกเป็นวงกว้างสู่พื้นที่อื่นๆ โดยให้ประเมินสถานการณ์และความเหมาะสมของมาตรการทุก 15 วัน ให้นำมาตรการควบคุมบูรณาการสำหรับพื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวด ข้อห้าม และข้อปฏิบัติตามข้อกำหนด (ฉบับที่ 24) ลงวันที่ 19 มิ.ย.2564 ใช้บังคับกับพื้นที่ดังกล่าว ที่ไม่ขัดหรือแย้งกับข้อกำหนดนี้ด้วย […]
จ.สงขลา เลื่อนเปิดการเรียนการสอนรูปแบบ On-Site เป็นวันที่ 12 ก.ค. 64 ของโรงเรียนในแต่ละอำเภอ วันที่ 24 มิ.ย. 64 จ.สงขลา แต่งตั้งคณะกรรมการประเมินความพร้อมสถานศึกษาก่อนเปิดการเรียนการสอนแบบ On-Site ในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) เพื่อประเมินความพร้อมภายใต้มาตรการเฝ้าระวังป้องกันการแพร่ระบาดของโรค ขณะที่ คณะะกรรมการโรคติดต่อจังหวัดสงขลา มีมติ ประกาศ “เลื่อนการเปิดการเรียนการสอนรูปแบบ On-Site” เป็นวันที่ 12 กรกฎาคม 2564 ทางด้านดร.พรศักดิ์ จินา ศึกษาธิการจังหวัดสงขลา กล่าวว่าจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ที่ยังเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ขณะนี้ทางจังหวัดสงขลา ได้มีการแต่งตั้งคณะกรรมการประเมินความพร้อมสถานศึกษาก่อนเปิดการเรียนการสอนแบบ On-Site ของสถานศึกษาในจังหวัดสงขลา ในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ในการร่วมกันพิจารณาเปิดการเรียนการสอนแบบ On-Site ของโรงเรียนในแต่ละอำเภอเพื่อประเมินความพร้อมภายใต้มาตรการเฝ้าระวังป้องกันการแพร่ระบาดของโรค ขณะที่ คณะะกรรมการโรคติดต่อจังหวัดสงขลา มีมติให้ทางสำนักงานศึกษาธิการจังหวัดสงขลา ประกาศ “เลื่อนการเปิดการเรียนการสอนรูปแบบ On-Site” จากวันที่ 28 มิถุนายน 2564 เป็นวันที่ 12 กรกฎาคม 2564 โดยให้สถานศึกษาทำการเรียนการสอนตามความเหมาะสม และความพร้อมของโรงเรียน นักเรียน และผู้ปกครอง ซึ่งระหว่างนี้ให้คณะกรรมการฯ ลงพื้นที่ไปยังสถานศึกษาในการประเมินสถานการณ์ รวมทั้งติดตามการเตรียมความพร้อมของระบบ และขั้นตอนในการสร้างความปลอดภัยแก่คณะครู นักเรียน ตลอดจนบุคลากรทางการศึกษา ตามมาตรการของกระทรวงศึกษาธิการ และกรมควบคุมโรค โดยเน้นมาตรการเพื่อเฝ้าระวัง ป้องกัน และลดการแพร่เชื้อโรคดังกล่าวอย่างเข้มข้น อาทิ การจัดให้มีการตรวจคัดกรองอุณหภูมิ วัดไข้ และอาการป่วย , การสวมใส่หน้ากากผ้า หรือหน้ากากอนามัยตลอดเวลา , การจัดให้มีการเว้นระยะห่างระหว่างบุคคล เพื่อลดความแออัด , การจัดให้มีจุดในการล้างมือด้วยสบู่ หรือเจลแอลกอฮอล์อย่างเพียงพอ , การทำความสะอาดพื้นผิวสัมผัสที่มีการใช้ร่วมกันบ่อย เช่น ลูกบิดประตู ราวบันได ห้องคอมพิวเตอร์ ห้องดนตรี ปุ่มกดลิฟต์ อุปกรณ์กีฬา ของเล่นเด็ก เป็นต้น อ้างอิง : สวท.สงขลา , สำนักงานศึกษาธิการจังหวัดสงขลา
สงขลา พบผู้ป่วยโควิด 216 คน รวมผู้ป่วยโควิดระลอกเดือน เม.ย. สะสม 3,372 คน วันที่ 24 มิ.ย. 64 จังหวัดสงขลาพบผู้ป่วยยืนยันติดเชื้อ 216 ราย พบในกลุ่มโรงงานอุตสาหกรรม 6 แห่ง จำนวน 112 คน ซึ่งเป็นผลจากการตรวจคัดกรองเชิงรุกอย่างเร่งด่วน โดยผู้ติดเชื้อทุกคนได้รับการรักษาตัวในโรงพยาบาลหลัก และโรงพยาบาลสนาม พ้อมทั้งเข้าสู่มาตรการกักกันตัวควบคุมโรค โดยมิได้มีการสัมผัสกับบุคคลภายนอกและชุมชน นอกจากนี้ทาง จ.สงขลา ยังได้นำหลัก Buble and Seal มาใช้ในการควบคุมการแพร่ระบาดทุกโรงงาน พร้อมทั้งได้มีการจัดเจ้าหน้าที่ สาธารณสุขลงตรวจคัดกรองเชิงรุกผู้สัมผัสเสี่ยงสูงในกลุ่มคลัสเตอร์โรงงานอุตสาหกรรมทุกพื้นที่ นอกจากนี้ยังพบในกลุ่มอื่นๆ อาทิ กลุ่มผู้ป่วยจากการติดตามผู้สัมผัสเสี่ยงสูง 67 ราย (ผู้ป่วย อ.เทพา , ปั๊มน้ำมันเอสโซ่สะกอม, ผู้ป่วย อ.จะนะ, ชุมชนเก้าเส้ง, ร่วมงานแต่งทุ่งยางแดง จ.ปัตตานี, […]